โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ท่องเที่ยว

ททท. จับมือ “Alipay+” ยกระดับนวัตกรรมดิจิทัล เปิดตัวโปรแกรม “Alipay+ d-Hub” เสิร์ฟข้อมูลและโปรโมชันท่องเที่ยวทั่วไทย ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์นักท่องเที่ยวยุคใหม่

WeR NEWS

เผยแพร่ 16 พ.ค. เวลา 09.56 น.

วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ อาลีเพย์พลัส (Alipay+) ภายใต้ แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ TAT x Alipay+ , Ant International & TAT, The Only One Amazing Thailand to the World 2024 ประกาศขยายความร่วมมือผ่านการเปิดตัวโปรแกรมสนับสนุน “Alipay+ d-Hub” ตอบรับกระแสความสนใจการท่องเที่ยวเมืองไทยของนักเดินทางทั่วโลก ผ่านการยกระดับนวัตกรรมดิจิทัลและการส่งเสริมการตลาดเชิงรุก พร้อมสร้างความเชื่อมั่นการท่องเที่ยวไทยในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน โดยนำเสนอข้อมูลสินค้าและบริการใหม่ ๆ รวมถึงโปรโมชันบริการด้านการท่องเที่ยวไทยแก่เครือข่ายผู้ใช้บริการ Alipay+ โอกาสนี้ นายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ ททท. และนายเอ็ดเวิร์ด หยู ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ บริษัท แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ให้เกียรติร่วมแถลงข่าวฯ ณ ห้องประชุมสุพรรณหงส์ อาคาร ททท.

นายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยารองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ ททท. กล่าวว่า ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายอันดับต้น ๆ ที่นักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมเดินทางมาท่องเที่ยว จากสถิติของ ททท. รายงานว่า 4 เดือนแรกของปี 2567 มีนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางมาเยือนประเทศไทยแล้ว 2,351,909 คน สอดคล้องกับข้อมูลจาก Alipay+ ที่รายงานสถิติการใช้จ่ายผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัลหรือ e-wallet ในเครือข่ายของ Alipay+ จากช่วงเทศกาลวันแรงงานที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 161 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ดังนั้นความร่วมมือกับ Alipay+ จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการฟื้นฟูตลาดนักท่องเที่ยวจีน และการเติบโตอย่างรวดเร็วของการให้บริการชำระเงินผ่าน Alipay+ ที่มีแนวโน้มขยายตัวไปยังร้านค้าในเมืองรองของประเทศไทย ยิ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคส่วนธุรกิจรายย่อย SMEs ของประเทศไทย รวมถึงสะท้อนให้เห็นการกระจายตัวของกลุ่มนักท่องเที่ยวในเมืองหลักสู่เมืองรอง ดังนั้น ททท. จึงมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพในยุคดิจิทัล ด้วยการยกระดับนวัตกรรม ภายใต้โครงการ TAT x Alipay+ , Ant International & TAT, The Only One Amazing Thailand to the World 2024 และเปิดตัว Alipay+ d-hub และบัตรดิจิทัล Amazing Thailand e-Card บนแอปพลิเคชัน Alipay ที่ใช้งานในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน และยังวางแผนที่จะขยายการให้บริการในกลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่น ๆ ที่ใช้จ่ายผ่านเครือข่ายของ Alipay+ ต่อไปในอนาคต

ภายใต้ความร่วมมือนี้ ททท. ถือเป็นหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับประเทศรายแรกที่ได้เปิดตัว Alipay+ d-Hub แพลตฟอร์มดิจิทัลในแอปพลิเคชัน Alipay ที่จะเข้ามาช่วยออกแบบการท่องเที่ยวตามความสนใจของผู้ใช้งาน ซึ่งจะมาพร้อมกับข้อมูลและฟังก์ชันการใช้งานที่จำเป็นต่อการเดินทางท่องเที่ยว ทั้งข้อมูลเส้นทางท่องเที่ยว ข้อมูลเชิงวัฒนธรรม ร้านค้าท้องถิ่น การเดินทาง และโปรโมชันสุดพิเศษ เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวจีนที่สนใจเข้าไปศึกษาข้อมูลเพื่อการวางแผนการท่องเที่ยว

ในประเทศไทย ในขณะเดียวกัน Amazing Thailand e-Card จะช่วยเชื่อมโยงธุรกิจท้องถิ่นกับนักท่องเที่ยว เพิ่มโอกาสใน

การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ สร้างการรับรู้และค้นพบข้อเสนอและโปรโมชันสุดพิเศษจากร้านค้ารายย่อยในกลุ่มนักท่องเที่ยวด้วย

นายเอ็ดเวิร์ด หยู ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ บริษัท แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า ททท. เป็นหน่วยงานชั้นนำที่มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อสนับสนุน

การท่องเที่ยวในยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง และสำหรับ Alipay+ เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับผลลัพธ์ที่ได้จากการสนับสนุนการท่องเที่ยวผ่านแพลตฟอร์มทั้งในการชำระเงินบนมือถือ กิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาด การสร้างการเข้าถึงผ่านการใช้งานเทคโนโลยี และเพื่อต่อยอดความร่วมมือกับ ททท. เราพร้อมนำเสนอนวัตกรรมทางดิจิทัล เพื่อเติมเต็มประสบการณ์การท่องเที่ยวในประเทศไทยอย่างมีเอกลักษณ์ให้แก่นักท่องเที่ยวในยุคดิจิทัลได้ดื่มด่ำไปกับประสบการณ์ใหม่ ๆ ทั้งการชอปปิง เลือกซื้อสินค้าบริการด้านการท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกผ่านสมาร์ตโฟน ซึ่งจะช่วยจะผลักดันเป้าหมายของ ททท. ในปี 2567 ให้บรรลุตามที่ตั้งใจไว้ และเสริมความแข็งแกร่งให้กับประเทศไทยในฐานะประเทศ Tourism Hub ระดับโลก

“Alipay+ d-Hub” เป็นมินิโปรแกรม ภายในแอปพลิเคชัน Alipay โดยมีไฮไลต์ประกอบด้วย ข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว และข้อมูลกิจกรรมของ ททท. ซึ่งจะนำเสนอในรูปแบบบทความและวิดีโอ โปรแกรมท่องเที่ยวหรือคูปองส่วนลดสำหรับใช้บริการสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย ไฮไลต์เทรนด์ท่องเที่ยวในประเทศไทย แผนที่และเส้นทางท่องเที่ยว พร้อมวิธีการเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะหรือรถยนต์ส่วนตัว แนะนำสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวใหม่ในท้องถิ่น ทั้งในเมืองหลักและเมืองรอง รวมไปถึงการแนะนำร้านค้า และช่องทางชำระเงินที่สะดวกสบายแก่ผู้ใช้งาน ตลอด Customer Journey และ Multi Interaction Tools นำเสนอเครื่องมือเพื่อช่วยออกแบบการเดินทางท่องเที่ยว ทั้งช่วยแนะนำความชื่นชอบ การเช็กอินออนไลน์ การเลือกซื้อของที่ระลึกผ่านระบบดิจิทัล รวมทั้งบูรณาการเชื่อมต่อ D-Store เข้ากับแอปพลิเคชันอื่น ๆ ที่จำเป็นด้วย และส่วนสุดท้ายคือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของผู้ใช้งาน เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชั่นให้สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้งานได้มากที่สุด

ปัจจุบันมีร้านค้าที่รองรับการใช้จ่ายผ่าน Alipay+ ครอบคลุมกว่า 400,000 แห่งทั่วประเทศไทย ทั้งร้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานประกอบการเชิงสุขภาพ ห้างสรรพสินค้า แหล่งท่องเที่ยว และขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยวหลัก ได้แก่ กรุงเทพฯ พัทยา(ชลบุรี) เชียงใหม่ ภูเก็ต รวมไปถึงจังหวัดเมืองรอง เช่น นครพนม จันทบุรี ลำปาง เป็นต้น นอกจากนี้ Alipay+ ยังคงขยายความครอบคลุมร้านค้าในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้งานแอปพลิเคชันชำระเงินระหว่างประเทศทั้ง 14 แอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นพันธมิตรของ Alipay+ จะสามารถชำระเงินได้อย่างราบรื่นทั่วประเทศไทย ซึ่งช่วยสร้างความสุขและเติมเต็มประสบการณ์แก่นักท่องเที่ยวตลอด Customer Journey ในประเทศไทยอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ ททท. และ Alipay+ ยังได้ร่วมกันดำเนินแคมเปญ “A Thailand+ Experience” นำเสนอสถานที่ แหล่งท่องเที่ยว และร้านค้าที่น่าสนใจในจังหวัดเมืองรองผ่านมุมมองของ KOL เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่นักท่องเที่ยวที่สนใจท่องเที่ยวเมืองรองได้เรียนรู้ผ่าน Alipay+ d-hub และเว็บไซต์ของ ททท. นอกเหนือจากความสะดวกที่นักท่องเที่ยวจะได้รับผ่าน

การชำระเงินผ่านเครือข่าย Alipay+ แล้ว นักท่องเที่ยวยังจะได้รับคูปองส่วนลดและโปรโมชันต่าง ๆ สำหรับใช้เดินทางค้นหาประสบการณ์และสัมผัสเสน่ห์ของเมืองไทยในมุมมองใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากที่เคยด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น