โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ค้าน “ชัชชาติ” ขึ้นค่าตั๋วสายสีเขียว จี้คงเพดาน 44 บ.

INN News

เผยแพร่ 28 มิ.ย. 2565 เวลา 11.17 น. • INN News
ค้าน “ชัชชาติ” ขึ้นค่าตั๋วสายสีเขียว จี้คงเพดาน 44 บ.
สภาองค์กรผู้บริโภค แถลงคัดค้าน ผู้ว่าฯชัชชาติ ขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 59 บาทตลอดสาย ชี้ ควรคงเพดานไว้ 44 บาท

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค แถลงคัดค้านกำหนดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 59 บาทตลอดสาย ตามนโยบายของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.)

โดยระบุว่า เหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดเพดานราคา 59 บาท เนื่องจากการที่มีผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ คาดหวัง อย่างน้อยผู้ว่าฯ กทม.คนปัจจุบันเป็นหนึ่งในบุคคลที่มาร่วมงานกับสภาองค์กรผู้บริโภค จุดยืนตรงกันคือการไม่ต่อสัญญาสัมปทาน

แต่สิ่งเห็นต่างกันคือกำหนดเพดานราคาที่ 59 บาท เพราะในปัจจุบันมันทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายถึง 118 บาท/วัน หมายความว่าถ้าใครมีค่าแรงขั้นต่ำ 331 บาทใน กทม. จะต้องใช้เงินขึ้นรถไฟฟ้าอย่างเดียวเกือบ 36% มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ทำให้ทุกคนขึ้นรถไฟฟ้าได้

ทั้งนี้ ประเด็นแรก ที่อยากเห็นคือ ราคาที่ถูกลง ไม่ได้หมายความว่า จะไปรอนสิทธิของสัญญาสัมปทาน ขณะนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวยังอยู่ในสัญญาสัมปทาน สิ่งที่เป็นข้อเสนอของเสนอไปยัง ครม.ในช่วงยังไม่ต่อสัมปทาน ผู้บริโภคควรจ่ายราคาสูงสุด 44 บาท

ให้ใกล้เคียงกับสายสีอื่น ๆดังนั้น กทม.ควรใช้เพดานราคากำหนดสูงสุดที่ใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าสีอื่น ๆ สายสีเขียวไม่ควรมีอภิสิทธิ์มีราคาสูงสุดที่ 59 บาท

และประเด็นที่ 2 ตัวเลขของกระทรวงคมนาคม ถ้าต่อสัมปทานตัวเลขแรกที่กระทรวงคมนาคมเสนออยู่ที่ 49.83 บาท ผู้บริโภคอย่างนั้นถ้า อย่างน้อยไม่ต่อสัมปทานขณะนี้ ราคาควรถูกลงกว่า 49 บาท คือ 44 บาทที่ใกล้เคียงกับสายอื่น ไม่ใช่ราคา 59 บาท

จึงเรียกร้องไม่ให้ต่อสัมปทาน แต่กลับเสียหายมากกว่า อย่างนี้ไม่ถูกต้อง

ประเด็นที่3 วิกฤติน้ำมัน วิกฤติพลังงาน คนใช้รถส่วนตัว มีแนวโน้มที่อาจลดลง การที่ กทม.จะมีนโยบายให้คนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น ทำการเชื่อมต่ออย่างที่ผู้ว่าฯ กทม.มีนโยบาย ทำให้คนเอารถส่วนตัวไว้ที่บ้าน ใช้การเชื่อมต่อที่กำลังดำเนินการ

และใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น เมื่อคุ้มครองสิทธิสัญญาสัมปทานที่ยังไม่หมด สถานีแรก 15 บาท แต่โดยเพดานไม่ควรเกิน 44 บาท และขอให้เก็บทั้ง 2 ด้าน ขณะนี้เก็บด้านเดียว เรียกว่าแบริ่งไปสมุทรปราการ ส่วนหมอชิต คูคต หรือลาดพร้าว คูคต ยังไม่ได้เก็บเงิน เราก็ขอให้เก็บเงิน

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของนักวิชาการ ค่าจ้างเดินรถสายสีเขียว ต้นทุนอยู่ไม่เกิน 19 บาท เมื่อไม่เกินนี้ ทำให้มั่นใจว่า หลังสัญญาสัมปทานหมด ราคา 25 บาทเป็นราคาที่ทำได้จริง ผู้ว่าฯ กทม.อาจต้องหาคนมาประมูล มาร่วมลงทุนโดยแยกระหว่างการร่วมลงทุนในการให้บริการเดินรถ และหาประโยชน์จากเชิงพาณิชย์ของรถไฟฟ้า

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0