โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ไดโนเสาร์ : 6 ความเชื่อผิด ๆ ที่ผู้คนยังมีต่อสัตว์โลกล้านปี

Khaosod

อัพเดต 25 พ.ย. 2564 เวลา 04.12 น. • เผยแพร่ 25 พ.ย. 2564 เวลา 04.12 น.
_121592782_dinos9.jpg

มนุษย์เรามีความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์มานานนับร้อยปีแล้ว นับตั้งแต่มีการบรรยายถึงสัตว์โลกดึกดำบรรพ์เหล่านี้ในตำราวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 19

ทว่าจนถึงปัจจุบัน เหล่านักบรรพชีวินวิทยายังคงพยายามขจัดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสัตว์ที่เคยครองโลกของเราเมื่อหลายล้านปีก่อน และภารกิจของพวกเขาต้องยากลำบากขึ้น จากการที่สัตว์เหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ ในวัฒนธรรมสมัยนิยม ซึ่งรวมถึงภาพยนตร์ภาคต่อที่โด่งดังเรื่องจูราสสิค พาร์ค (Jurassic Park)

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ความพยายามขจัดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเกี่ยวไดโนเสาร์ทำได้ยากขึ้นจากการที่สัตว์เหล่านี้ถูกนำเสนออย่างไม่ถูกต้อง ผ่านสื่อต่าง ๆ ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ความพยายามขจัดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเกี่ยวไดโนเสาร์ทำได้ยากขึ้นจากการที่สัตว์เหล่านี้ถูกนำเสนออย่างไม่ถูกต้อง ผ่านสื่อต่าง ๆ ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

นี่คือความเข้าใจผิดเรื่องไดโนเสาร์ที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน

ไดโนเสาร์ล้มตายไปจนหมดจากอุกกาบาตชนโลก?

เหตุการณ์ที่อุกกาบาตยักษ์พุ่งชนโลกเมื่อ 66 ล้านปีก่อน ได้ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมดโลกจริงหรือไม่
เหตุการณ์ที่อุกกาบาตยักษ์พุ่งชนโลกเมื่อ 66 ล้านปีก่อน ได้ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมดโลกจริงหรือไม่

เมื่อราว 66 ล้านปีก่อน เหล่าไดโนเสาร์ต้องเผชิญกับหายนะครั้งใหญ่ เมื่ออุกกาบาตยักษ์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่ามีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 กม. ได้พุ่งชนโลก แรงปะทะทำให้เกิดหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันจมอยู่ใต้คาบสมุทรยูกา ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเม็กซิโก และนำไปสู่เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า มีสัตว์โลกเพียง 75% ที่สูญพันธุ์ไป และไดโนเสาร์บางชนิดก็อยู่ในหมู่ผู้รอดชีวิต

ศาสตราจารย์ พอล บาร์เร็ตต์ นักบรรพชีวินวิทยาที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Natural History Museum หรือ NHM) ในกรุงลอนดอน เล่าให้บีบีซีฟังว่า "แม้ไดโนเสาร์หลายชนิดได้ล้มตายตอนที่อุกกาบาตพุ่งชนโลก แต่ไดโนเสาร์กลุ่มสำคัญที่มีขนาดเล็กมาก และไดโนเสาร์ที่มีขนแบบนก ยังคงมีชีวิตรอด และยังมีให้เราเห็นในปัจจุบัน"

"นกเป็นสมาชิกสายตรงของไดโนเสาร์กลุ่มนี้"

ไดโนเสาร์นก (Avian dinosaurs) ที่วิวัฒนาการมาเป็นสัตว์ปีกที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน คือผู้รอดชีวิตจากเหตุอุกกาบาตชนโลกเมื่อ 66 ล้านปีก่อน
ไดโนเสาร์นก (Avian dinosaurs) ที่วิวัฒนาการมาเป็นสัตว์ปีกที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน คือผู้รอดชีวิตจากเหตุอุกกาบาตชนโลกเมื่อ 66 ล้านปีก่อน

"พวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่ยังมีชีวิตอยู่" ศาสตราจารย์ บาร์เร็ตต์ กล่าวและชี้ว่า เมื่อพิจารณาในแง่ของจำนวนชนิดพันธุ์ของนกที่มีชีวิตอยู่ ก็จะพบว่าปัจจุบันมีชนิดพันธุ์ของไดโนเสาร์อยู่บนโลกมากกว่าเมื่อ 66 ล้านปีก่อน

คุณสามารถหลบทีเร็กซ์ด้วยการยืนอยู่นิ่ง ๆ ได้ไหม

ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ (Tyrannosaurus rex) หรือ ทีเร็กซ์ ถือเป็นตัวละครเอกในหนังจูราสสิค พาร์ค ภาคแรกที่ออกฉายในปี 1993 และมันได้ถูกนำเสนอในฐานะไดโนเสาร์ดุร้ายที่คอยเล่นงานมนุษย์

อย่างไรก็ตาม ภาพที่ทีเร็กซ์ถูกนำเสนอในหนังเรื่องนี้ คือสัตว์ที่สายตาไม่ดี และจะสามารถตรวจจับเหยื่อได้เมื่อเหยื่อมีการเคลื่อนไหว

การศึกษาชิ้นหนึ่งเมื่อ 15 ปีก่อนบ่งชี้ว่า ทีเร็กซ์อาจมีสายตาดีที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งปวง
การศึกษาชิ้นหนึ่งเมื่อ 15 ปีก่อนบ่งชี้ว่า ทีเร็กซ์อาจมีสายตาดีที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งปวง

ในธรรมชาติ นี่คือลักษณะที่พบได้ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แต่ศาสตราจารย์ บาร์เร็ตต์ ระบุว่า นี่ไม่ใช่กับทีเร็กซ์

"ไดโนเสาร์น่าจะมีการมองเห็นที่ชัดเจนกว่า การศึกษาชิ้นหนึ่งเมื่อ 15 ปีก่อนบ่งชี้ว่า ทีเร็กซ์อาจมีสายตาดีที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งปวง"

"การยืนนิ่ง ๆ อยู่หน้าทีเร็กซ์คงจะเป็นหนึ่งในเรื่องโง่เขลาที่สุดที่คุณจะทำได้"

ทีเร็กซ์วิ่งแซงหน้ารถยนต์ได้ไหม

_121592782_dinos9.jpg
นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ทีเร็กซ์วิ่งได้ แต่อาจไม่รวดเร็วเหมือนที่นำเสนอกันในหนัง

ในเรื่องจูราสสิค พาร์ค มีฉากที่ทีเร็กซ์สามารถวิ่งด้วยความเร็วจนแซงหน้ารถยนต์ได้

อันที่จริง เคยมีการศึกษาในอดีตหลายชิ้นที่ประเมินว่า สัตว์นักล่าที่น่าเกรงขามชนิดนี้สามารถวิ่งด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยแบบจำลองล่าสุดซึ่งใช้เทคโนโลยีอันทันสมัย บ่งชี้ว่า พวกมันสามารถวิ่งเหยาะ ๆ ได้ที่ความเร็ว 20-29 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ดร.มาเรียนา ดิ จิอาโคโม ผู้เชี่ยวชาญจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติพีบอดี แห่งมหาวิทยาลัยเยล ระบุว่า "บางที ทีเร็กซ์อาจวิ่งได้เร็วในระยะสั้น แต่คงจะไม่เร็วพอที่จะวิ่งแซงหน้ารถยนต์"

เราสามารถโคลนไดโนเสาร์ได้ไหม

นักวิทยาศาสตร์บอกว่า การโคลนไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ในห้วงเวลาที่ห่างจากมนุษย์มากเป็นเรื่องซับซ้อนอย่างยิ่ง เพราะมีตัวแปรหลายอย่างที่เรายังไม่รู้
นักวิทยาศาสตร์บอกว่า การโคลนไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ในห้วงเวลาที่ห่างจากมนุษย์มากเป็นเรื่องซับซ้อนอย่างยิ่ง เพราะมีตัวแปรหลายอย่างที่เรายังไม่รู้

ทีเร็กซ์ สูญพันธุ์ไปจากโลกนานหลายสิบล้านปีก่อนที่มนุษย์จะถือกำเนิดขึ้น และเราก็ไม่น่าจะได้มีโอกาสได้เห็นสัตว์ชนิดนี้ฟื้นคืนชีพได้อีกครั้งแบบในเรื่องจูราสสิค พาร์ค เพราะนักวิทยาศาสตร์ระบุว่าขณะนี้เรายังไม่มีเทคโลยีที่สามารถโคลนไดโนเสาร์ขึ้นมาได้

เหตุผลสำคัญคือดีเอ็นเอของไดโนเสาร์คงสภาพอยู่ได้ไม่นาน

ศาสตราจารย์ บาร์เร็ตต์ กล่าวว่า "เท่าที่เรารู้ มัน (ดีเอ็นเอ) อยู่ได้ไม่นาน"

"ดีเอ็นเอเก่าแก่ที่สุดที่เรารู้ในบันทึกฟอสซิล มีอายุราว 2 ล้านปี" เขาอธิบาย

นักบรรพชีวินวิทยาที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติกรุงลอนดอน บอกว่า การจะได้ข้อมูลทางพันธุกรรมจากสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ คือจากสัตว์ที่ตายลงตั้งแต่ 50,000 ปีก่อนเป็นต้นมา นี่จึงทำให้เขาไม่เชื่อว่าเราจะสามารถโคลนไดโนเสาร์ได้

ดร. ดิ จิอาโคโม เห็นด้วยกับเรื่องนี้ โดยชี้ว่า แม้จะมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่ในเรื่องพันธุกรรมของไดโนเสาร์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการโคลนพวกมันจะประสบความสำเร็จ

"การโคลนสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ห่างจากเราในแง่ของธรณีกาลเป็นเรื่องซับซ้อนมาก เพราะมีตัวแปรที่เราไม่รู้อยู่จำนวนมาก"

"หนังแบบจูราสสิค พาร์ค และจูราสสิค เวิลด์ ได้แสดงให้เราเห็นถึงเหตุผลทุกอย่างที่เราไม่ควรจะทำ (โคลน)"

ไดโนเสาร์เป็นสัตว์ที่โง่จริงหรือ

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็ก เช่น ทรูโอดอน (Troodon) เป็นสัตว์ที่มีความชาญฉลาดมาก
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็ก เช่น ทรูโอดอน (Troodon) เป็นสัตว์ที่มีความชาญฉลาดมาก

ดร. ดิ จิอาโคโม อธิบายว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจว่าไดโนเสาร์เคยมีความเป็นอยู่และพฤติกรรมอย่างไร

"ไม่ใช่ว่าไดโนเสาร์ทุกตัวจะฉลาด และไม่ใช่ว่าไดโนเสาร์ทุกตัวจะโง่"

เธอบอกว่า พวกมันมีความฉลาด เพื่อที่จะสามารถเอาชีวิตรอดในโลกที่พวกมันอาศัยอยู่

ศาสตราจารย์ บาร์เร็ตต์ กล่าวเสริมว่า ไดโนเสาร์บางตัว "ค่อนข้างฉลาดทีเดียว" นั่นคือไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็ก

"บางตัวอาจออกหากินในตอนกลางคืนเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันกับสัตว์ที่ใหญ่กว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น พวกมันก็จะต้องมีสมองใหญ่สำหรับประมวลข้อมูลที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ก็จะต้องมีประสาทการได้ยิน การมองเห็น และการรับรู้กลิ่นที่ดีขึ้นด้วย"

ไดโนเสาร์เป็นพ่อแม่ที่แย่หรือไม่

ไมอาซอรา (Maiasaura ) เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่ได้ชื่อว่า “แม่กิ้งก่าที่แสนดี”
ไมอาซอรา (Maiasaura ) เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่ได้ชื่อว่า “แม่กิ้งก่าที่แสนดี”

เป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษที่มนุษย์เชื่อว่า ไดโนเสาร์เป็นสัตว์ดุร้ายที่ใช้ชีวิตอยู่ตามลำพัง และไม่มีพฤติกรรมเลี้ยงดูลูกน้อย ทว่าในช่วงทศวรรษที่ 1970 และ 1980 มีการค้นพบว่า พวกมันมีพฤติกรรมทางสังคมที่ซับซ้อน

ไมอาซอรา (Maiasaura ) เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่เชื่อว่ามีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อ 77 ล้านปีก่อน ชื่อของมันมีความหมายว่า "แม่กิ้งก่าที่แสนดี" ในภาษากรีกและภาษาละติน

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ได้ศึกษาเรื่องนี้ และพบหลักฐานบ่งชี้ว่า ไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 193 ล้านปีก่อน มีพฤติกรรมรวมกลุ่มเพื่อช่วยกันเลี้ยงลูกน้อย

ศาสตราจารย์ บาร์เร็ตต์ บอกว่า ปัจจุบันเรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไดโนเสาร์มากขึ้น และรู้ว่าอย่างน้อยไดโนเสาร์บางชนิดเป็นพ่อแม่ที่ดี

ดร. ดิ จิอาโคโม ยกตัวอย่างไดโนเสาร์ชนิดอื่นที่มีพฤติกรรมเลี้ยงดูลูกน้อย เช่น อัลโลซอรัส (Allosaurus) และซิตีพาตี ออสโมลสเก (Citipati osmolskae) ซึ่งมีฉายาว่า "บิ๊ก มาม่า" (Big Mama) เพราะมันถูกพบในลักษณะที่กำลังนอนกกไข่

………….

ข่าว BBCไทย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ข่าวสด เป็นความร่วมมือของสององค์กรข่าว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น