โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

TGH ทำหนังสือแจ้ง ตลท. เลิกกิจการ ประกันวินาศภัย ของ อาคเนย์ประกันภัย

อีจัน

อัพเดต 26 ม.ค. 2565 เวลา 09.18 น. • เผยแพร่ 26 ม.ค. 2565 เวลา 09.18 น. • อีจัน
TGH ทำหนังสือแจ้ง ตลท. เลิกกิจการ ประกันวินาศภัย ของ อาคเนย์ประกันภัย

บริษัทเครือไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TGH ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันนี้ (26 ม.ค.2565) เรื่องมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ TGH ถือหุ้น 97.33% โดยเห็นชอบกับแผนการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของอาคเนย์ประกันภัย ซึ่งเป็นการใช้สิทธิขอเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยโดยสมัครใจ

ลักษณะธุรกิจของ TGH
TGH ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจประกันชีวิต ธุรกิจประกันภัย และธุรกิจการเงิน (ลีสซิ่งและสินเชื่อองค์กร) โดยมีบริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (SELIC) ประกอบธุรกิจประกันชีวิต เป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักซึ่งก่อให้เกิดกำไรหลัก

อาคาร อาคเนย์
อาคาร อาคเนย์

จากปัญหาของสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผ่านมา ซึ่งมีจำนวนที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในภาพรวม ซึ่งก่อนหน้านี้ TGH ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทในช่วงปลายปี 2564

โดยปัญหาการกลายพันธุ์และการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน ที่มีแนวโน้มเพิ่มความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของอาคเนย์ประกันภัย ในระยะเวลาอันใกล้นี้ อาคเนย์ประกันภัยจึงได้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อให้พิจารณามีมติดำเนินการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและส่งคืน ใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อนายทะเบียนตามกฎหมาย และโอนกิจการของอาคเนย์ประกันภัยให้แก่ บริษัท อินทร ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่ให้ อาคเนย์ประกันภัย โอนกิจการให้แก่ บมจ.อินทรประกันภัย เนื่องจากมีความเห็นว่าเมื่อคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พิจารณาให้กองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้เข้ามาดำเนินการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของอาคเนย์ประกันภัย ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กองทุนประกันวินาศภัยมีอยู่แล้ว ก็ควรให้กองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการในเรื่องการดำเนินการคืนเบี้ยประกันให้กับผู้เอาประกันภัยทุกรายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อผู้เอาประกันภัยนั้น ๆ

ซึ่งคณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาร่วมกับตัวแทนฝ่ายจัดการของอาคเนย์ประกันภัยอย่างรอบด้าน โดยมีความมุ่งหมายที่ จะดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ให้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างเหมือนกับกรณีที่บริษัทประกันวินาศภัยอื่นที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบจะไม่ได้จำกัดเฉพาะเพียงผู้เอาประกันตามกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้เอากรมธรรม์ ประกันภัยประเภทอื่น ๆ

รวมทั้งการจัดหาผู้รับประกันภัยรายใหม่ ให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามหลักเกณฑ์และแนวทางของกองทุนประกันวินาศภัย โดยอาคเนย์ประกันภัย เป็นผู้ให้การสนับสนุน ด้านต่างๆ ในการดำเนินการของกองทุนประกันวินาศภัยดังกล่าวจึงเป็นมาตรการที่จำเป็นและเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และจะสามารถเยียวยาผู้เอาประกันภัยและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นธรรมสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ใน สถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงไม่ก่อภาระเพิ่มเติมแก่กองทุนประกันวินาศภัยแต่อย่างใด

โดยสรุปที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทฯ ครั้งที่ 2/2565

ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 จึงได้มติเกี่ยวกับการเลิก ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ อาคเนย์ประกันภัย ดังนี้

เห็นชอบ

กับแผนการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของอาคเนย์ประกันภัยซึ่งเป็นการใช้สิทธิขอเลิกประกอบธุรกิจ ประกันวินาศภัยโดยสมัครใจและส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่อนายทะเบียนตามมาตรา 57 และ 57/1 แห่ง พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535(รวมทั้งที่การแก้ไขเพิ่มเติม)

ไม่เห็นด้วย

กับข้อเสนอที่ให้ อาคเนย์ประกันภัย โอนกิจการให้แก่ บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากมีความเห็นว่าเมื่อคณะกรรมการก ากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยพิจารณาให้กองทุน ประกันวินาศภัยเป็นผู้เข้ามาด าเนินการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ อาคเนย์

ผู้ถือกรมธรรม์โควิด-19 ของอาคเนย์ประกันภัย

  • กรณีทำธุรกิจต่อและถูกเพิกถอนใบอนุญาต มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับการคุ้มครองตามกรมธรรม์ เนื่องจากขึ้นอยู่กับทรัพย์สินที่เหลืออยู่ ของอาคเนย์ประกันภัยและการเยียวยาความเสียหายของกองทุนประกันวินาศภัยฯ ในช่วงระยะเวลาที่เกิดความเสียหายในอนาคต

  • กรณีเลิกประกอบธุรกิจ ไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากผู้ถือกรมธรรม์ จะได้รับคืนเบี้ยประกันตามสัดส่วน หรือได้รับการคุ้มครองต่อเนื่อง หากย้ายกรมธรรม์ไปยังบริษัทประกันภัยอื่น

คู่ค้า ของอาคเนย์ประกันภัย (เช่น อู่ซ่อมรถ/ โรงพยาบาล/ตัวแทน)

  • กรณีทำธุรกิจต่อและถูกเพิกถอนใบอนุญาต มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับค่าบริการ หรือ ได้รับล่าช้า หากอาคเนย์ประกันภัยถูกปิดกิจการและเข้าสู่กระบวนการขอรับชำระหนี้ในขั้นตอนของการชำระบัญชี

  • กรณีเลิกประกอบธุรกิจ ได้รับชำระหากอาคเนย์ประกันภัยยังมีทรัยพ์สินมากกว่าหนี้สิน

การพิจารณาให้ อาคเนย์ประกันภัย ในฐานะบริษัทย่อยของ TGH เลิกประกอบกิจการเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ TGH ที่จะพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการไปได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม การเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและการจัดการเกี่ยวกับภาระและกรมธรรม์ประกันภัยทั้งหมดของ อาคเนย์ประกันภัยจะต้องเป็นไปตามมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของอาคเนย์ประกันภัยซึ่งจะจัดให้มีการประชุมในวันที่ 26 มกราคม 2565 โดยหากมีความคืบหน้าเป็นประการใด บริษัทฯ จะแจ้งให้ทราบต่อไป

“แมวหายไป ไม่มีกำลังใจใช้ชีวิต”คลิปอีจันแนะนำ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0