โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

อยากเรียนแพทย์ ต้องรู้! ระหว่าง "กสพท vs. CPIRD" แตกต่างกันอย่างไร

Dek-D.com

เผยแพร่ 21 ส.ค. 2567 เวลา 09.46 น. • DEK-D.com
อยากเรียนแพทย์ ต้องรู้! ระหว่าง
รายละเอียดข้อมูล 2 โครงการแพทย์ใหญ่ ; กสพท และ CPIRD

สวัสดีค่ะน้องๆ ใครที่เตรียมจะยื่นสมัครเข้ากลุ่มคณะแพทยศาสตร์ น่าจะต้องเคยได้ยินชื่อ 2 โครงการใหญ่ที่เปิดรับผ่านระบบ TCAS ในแต่ละปีกันมาบ้าง ทั้งการรับสมัครผ่าน กสพท และโครงการแพทย์ CPIRD ซึ่งก็เป็นที่หมายปองของใครหลายๆ คนที่สนใจจะเรียน "แพทย์" แต่แน่นอนว่าทั้ง 2 โครงการ ก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ตามไปดูกันเลย

อยากเรียนแพทย์ ต้องรู้! ระหว่าง "กสพท vs. CPIRD" แตกต่างกันอย่างไร

ข้อมูลโครงการ

กสพท- ย่อมาจาก กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานที่รวมตัว 4 คณะ/สาขาวิชาชีพ อย่าง คณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ ของหลายๆ มหาวิทยาลัย/สถาบันต่างๆ เข้าด้วยกัน และทำหน้าที่รับสมัคร คัดเลือกนักเรียนเข้าใน 4 สาขาวิชานี้ โดยกำหนดใช้เกณฑ์การคัดเลือกเดียวกันทุกสาขาวิชา ทุกมหาวิทยาลัย

ส่วน CPIRD - โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทหรือที่เราเรียนกันสั้นๆ ว่า แพทย์ชนบท เป็นโครงการที่กระทรวงสาธารณสุข ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ จัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาความขาดแคลนแพทย์ หรือเพิ่มการผลิตแพทย์, กระจายแพทย์ไปสู่ชนบทมากขึ้น และกระจายโอกาสในการศึกษาสาขาวิชาแพทยศาสตร์ไปสู่ประชาชนส่วนภูมิภาค โดยจะแบ่งการรับสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม

  • กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน (Community Track)จะรับนักเรียนที่มีภูมิลำเนา หรือโรงเรียน ที่อยู่ในจังหวัดที่สมัคร
  • กลุ่มความเหลื่อมล้ำ (Inclusive Track)จะรับนักเรียนที่มีภูมิลำเนา หรือโรงเรียน ที่อยู่นอกเขตอำเภอเมืองของจังหวัดที่สมัคร
  • กลุ่มสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีลาเรียน (Strengthening Track)จะรับข้าราชการในสังกัดสนง.ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่สำเร็จการศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่จบคณะวิทยาศาสตร์-สุขภาพ และมีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี

คุณสมบัติผู้สมัคร

แพทย์ กสพท แพทย์ CPIRD วุฒิการศึกษา รับม.6, ปวช., เด็กซิ่ว ทุกแผนการเรียน หรือจบป.ตรีแล้วก็ยื่นสมัครได้ ถ้าเป็น Community/Inclusive Track จะรับเฉพาะผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ม.6 แต่ถ้าเป็น Strengthening Track รับเฉพาะผู้ที่จบป.ตรีตามที่กำหนด ภูมิลำเนาของผู้สมัคร ไม่จำกัดพื้นที่ผู้สมัคร รับจากทั่วประเทศ มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน

การเปิดรับสมัคร

แพทย์ กสพท แพทย์ CPIRD รอบที่เปิดรับ รอบ 3 Admission รอบ 1 Portfolio, รอบ 2 Quota ช่องทางการรับสมัคร เว็บไซต์ กสพท
https://cotmesadmission.com/ เว็บไซต์แต่ละมหาวิทยาลัย

เกณฑ์การคัดเลือก

แพทย์ กสพท แพทย์ CPIRD ทุกคณะ/มหาวิทยาลัย ใช้คะแนน TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท และ คะแนน A-Level คณิตศาสตร์1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, สังคมศึกษา แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์ต่างกันไป เช่น คะแนน A-Level (คณิตศาสตร์1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, สังคมศึกษา), คะแนน TGAT, คะแนน TPAT1, Portfolio, คะแนน TOEFL/TOEIC/IELTS/CU-TEP, คะแนน NETSAT เป็นต้น
หมายเหตุ : บางมหาวิทยาลัยอาจกำหนดเกรดเฉลี่ยขั้นต่ำเพิ่มเติมด้วย

รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ

แพทย์ กสพท แพทย์ CPIRD จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สถาบันพระบรมราชชนก มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

การใช้ทุนการศึกษา

แพทย์ กสพท แพทย์ CPIRD จับฉลากจังหวัดที่ต้องชดใช้ทุน ชดใช้ทุนในจังหวัด/เขต/ภูมิลำเนาตามที่กำหนด ไม่น้อยกว่า 3 ปีติดต่อกัน

นอกจาก 2 โครงการนี้แล้ว แต่ละมหาวิทยาลัยก็อาจจะเปิดรับสมัคร "แพทยศาสตรบัณฑิต" ในโครงอื่นๆ ทั้งในรอบ Portfolio และ Quota ถ้าใครมีคุณสมบัติตรงกับโครงการไหนก็สามารถยื่นสมัครได้หมด แต่อย่าลืมกฎเรื่องการจัดการสิทธิ์ ถ้าใครยืนยันสิทธิ์ "แพทยศาสตรบัณฑิต" ของมหาวิทยาลัยใดมหาวิทยาลัยหนึ่ง ในรอบใดรอบหนึ่งไปแล้ว จะไม่สามารถลงสมัคร "แพทยศาสตรบัณฑิต" รอบอื่นๆ ได้อีก แม้ว่าจะสละสิทธิ์แล้วก็ตาม ดังนั้นใครจะสมัครรอบไหน มหาวิทยาลัยอะไร วางแผนให้รอบคอบนะคะ

สำหรับ TCAS68 นี้ มี 4 มหาวิทยาลัยที่ประกาศเกณฑ์การคัดเลือกรอบ Portfolio มาแล้ว ส่วนการรับสมัครผ่าน กสพท ก็ได้แถลงข่าวไปเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 67 แต่สำหรับ CPIRD รอติดตามประกาศจากแต่ละมหาวิทยาลัยอีกครั้งนึง