โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

ประกันลดหย่อนภาษี ทำแบบไหนลดหย่อนได้สูงสุด

สยามรัฐ

อัพเดต 09 พ.ค. เวลา 12.13 น. • เผยแพร่ 09 พ.ค. เวลา 12.13 น.
ประกันลดหย่อนภาษี ทำแบบไหนลดหย่อนได้สูงสุด

ต้องยอมรับว่าปัจจุบันคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการทำประกันชีวิตมากขึ้น โดยเฉพาะประกันชีวิตที่สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษี นอกจากจะให้ความคุ้มครองชีวิตด้วยเงินก้อนใหญ่ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตตรงตามเงื่อนไชที่ระบุไว้ตามกรมธรรม์แล้ว ยังสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาได้สูงสุด 300,000 บาทต่อปี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ ประกันลดหย่อนภาษีเป็นหนึ่งใน ผู้ช่วยด้านการเงินของคนยุคใหม่ที่ต้องการบริหาร จัดการด้านการเงินให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ประเภทของประกันลดหย่อนภาษี

การใช้ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีสามารถนำไประกันมาใช้ลดหย่อนภาษีได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของ ประกันลดหย่อนภาษี ซึ่งโดยหลัก ๆ สามารถแบ่งประกันชีวิตลดหย่อนได้เป็น 3 ประเภท

  • ประกันชีวิตทั่วไป เป็นประกันชีวิตที่มีการคุ้มครองผู้เอาประกัน ซึ่งในระหว่างอายุสัญญาหากผู้เอาประกันเสียชีวิตด้วยสาเหตุตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์กำหนด หรืออยู่จนครบอายุสัญญา จะได้รับเงินก้อนตามเงื่อนไขของประกันชีวิต สำหรับประกันชีวิตที่สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้มีด้วยกัน 4 ประเภท ได้แก่ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life) , ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term) , ชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment) และประกันชีวิตควบการลงทุน (Investment Linked Life Insurance) สำหรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีและเงื่อนไขในการลดหย่อยนภาษี ดังนี้
  • ต้องเป็นประกันของบริษัทประกันภัยที่จดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น
  • ต้องเป็นประกันที่มีระยะความความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
  • ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ แบบชั่วระยะเวลา หรือแบบสะสมทรัพย์สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท ขณะที่ของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้สามารถนำมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท
  • ประกันชีวิตควบการลงทุน เป็นประกันที่แบ่งค่างวดออกเป็น 3 ส่วน คือ ค่าเบี้ยประกัน , ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของกรมธรรม์ และการลงทุน แต่จะมีเพียงส่วนที่ 1 และ 2 เท่านั้น สามารถนำมาคำนวณเพื่อใช้ลดหย่อยภาษีได้ โดยสามารถใช้ลดหย่อยภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
  • ในกรณีที่เป็นประกันชีวิตที่มีการจ่ายเงินคืนทุกปี หรือตามช่วงเวลาตามเงื่อนไขของประกัน ต้องร่วมกันไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมรายปี
  • หากผู้เอาประกันยกเลิกสัญญา หรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบอายุ 10 ปี จะถือว่าผิดเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด จะไม่สามารถนำเบี้ยประกันมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ และที่สำคัญต้องจ่ายคืนภาษีย้อนหลังและดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนอีกด้วย
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นประกันคุ้มครองรายได้ที่ให้ผู้เอาประกันหลังเกษียณอายุ หรือตามระยะเวลาที่กรมธรรม์กำหนด สำหรับประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ 300,000 บาท เมื่อไม่ใช่สิทธิ์การลดหย่อนรวมกับประกันชีวิตแบบทั่วไป แต่กรณีที่ใช้สิทธิ์ร่วมกับประกันชีวิตทั่วไป (ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท) สามารถใช้ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 15% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท แต่ทั้งนี้ต้องเป็นประกันชีวิตแบบบำนาญของบริษัทประกันภัยที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีระยะคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป และมีการจ่ายปันผลอย่างสม่ำเสมอและจ่ายผลประโยชน์ในขณะผู้เอาประกันมีอายุ 55 – 85 ปี
  • ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี เป็นประกันประเภทที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อผู้เอาประกันเจ็บป่วย บาดเจ็บ หรือตรวจพบโรคร้ายตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ ซึ่งในการนำมาใช้ลดหย่อยภาษีในกรณีเป็นประกันสุขภาพของผู้เอาประกันเองสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาท แต่เมื่อนำไปรวมกับประกันประเภทอื่นต้องไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนกรณีนำประกันสุขภาพของบิดามารดาสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นประกันสุขภาพของบริษัทประกันที่จดทะเบียนในประเทศไทย เป็นประกันชีวิตของบิดามารดาที่ถูกต้องตามกฎหมาย บิดามารดาต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และผู้ทำประกัน บิดา หรือมารดา คนใดคนหนึ่งต้องพำนักอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 180 วันในปีที่จ่ายภาษี

เทคนิคเลือกประกันลดหย่อนภาษีแบบไหนคุ้มที่สุด

เนื่องจากประกันชีวิตและประกันสุขภาพมีหลายแบบหลายประเภทให้เลือก ซึ่งนอกจากจุดประสงค์ของความคุ้มครองแล้ว ยังต้องพิจารณาในส่วนของเงื่อนไขการลดหย่อนภาษี ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะทำให้หลายคนสับสนไม่รู้ว่าจะซื้อประกันแบบไหนดี มีเทคนิคดี ๆ มาฝาก

  • คำนวณภาษีก่อนตัดสินใจ

เพราะหลายคนเข้าใจว่ายิ่งมีรายได้เยอะก็ต้องซื้อประกันลดหย่อนเยอะไว้ลลดหย่อนภาษี แต่ในความจริงซื้อเยอะอาจกลายเป็นซื้อประกันเกินความจำเป็น เพราะนอกจากการลดหย่อนจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่สรรพากรกำหนดแล้ว ในการเสียภาษียังต้องมีการนำรายการลดหย่อนมาใช้คำนวณลดภาษี อย่างส่วนลดค่าใช้จ่ายส่วนตัว 60,000 บาท ส่วนลดค่าเลี้ยงดูบุพการี 30,000 บาท ส่วนลดบุตร 30,000 บาท ส่วนลดจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากการประกอบอาชีพไม่เกิน 500,000 บาท ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษีควรคำนวณภาษีสุทธิของตัวเอง ไม่เช่นนั้นอาจซื้อประกันเกินความจำเป็นได้

  • อัพเดตภาษีอย่างสม่ำเสมอ

เพราะรายได้ของทุกคนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงทำให้ทุกคนที่มีรายได้อาจเสียภาษีเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะฉะนั้นผู้เอาประกันควรคำนวณภาษีอย่างสม่ำเสมอ หากมีการเสียภาษีเพิ่มควรซื้อประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมเพื่อการบริหารจัดด้านภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ

แนะนำประกันลดหย่อนภาษีได้ของ SCB

สำหรับคนที่เป็นกังวลเรื่องภาษีและอยากทำ ประกันลดหย่อนภาษี ไว้เพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคล แนะนำประกันชีวิตและประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีของ SCB ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น

  • ประกันอีซี่ อีเซฟ 10/5 ประกันสะสมทรัพย์ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท ระยะเวลาจ่ายเบี้ย 5 ปี ระยะความคุ้มครอง 10 ปี โดยในปีที่ 1 – 5 จะได้รับเงินคืน 4% ของทุนประกัน ขณะที่ปี 6 – 9 จะได้รับเงินคืน 5% โดยสิ้นปีที่ 10 จะได้รับเงินคืน 350% ของทุนประกัน
  • ประกันทริปเปิ้ล เซเว่น ประกันคุ้มครองชีวิตที่จ่ายเบี้ยเพียง 7 ปี แต่ผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองจนถึงอายุ 77 ปี โดยจะได้รับเงินคืน 10% ทุกปี จนถึงอายุ 76 ปี นอกจากนั้นหากเสียชีวิตจากอุบัติเหตุยังได้รับความคุ้มครองเพิ่มเป็น 2 เท่า เรียกว่าได้ทั้งเงินก้อนใหญ่และสามารถนำไปลดหย่อนภาษีไปพร้อม ๆ กัน
  • ประกัน 15/5 Pro Max (แบบมีความคุ้มครองโรคร้ายแรง) ประกันคุ้มครองโรคร้ายที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีและความคุ้มครองทันทีเมื่อตรวจเจอโรคร้ายแรงตามเงื่อนไขตามกรมธรรม์ในปีที่ 4 – 15 แต่ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นโรคร้ายก็ยังได้รับเงินคืนรวม 14 ครั้ง รวมตลอดอายุสัญญาได้เงินคืนรวม 578%

ประกันชีวิตและประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบริหารการเงินที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูผลิตภัณฑ์อื่นๆที่น่าสนใจจาก SCB ได้ที่ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/salary-man/10-things-t…

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น