โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ชมภาพ ‘เนบิวลาหัวม้า’ ภาพใหม่จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

Environman

เผยแพร่ 05 พ.ค. เวลา 12.00 น.

ชมภาพ ‘เนบิวลาหัวม้า’ ภาพใหม่จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์มองเห็นรายละเอียดในระดับสุดยอดแบบที่ไม่มีใครเคยทำได้มาก่อน เพื่อศึกษาวิวัฒนาการของดาวฤกษ์และสสารระหว่างดวงดาว

เนบิวลาหัวม้า หรือ Horsehead Nebula นั้นถูกตั้งชื่อตามรูปร่างหัวม้าที่เป็นสิ่งมีชีวิตอันโดดเด่นของโลก มันอยู่ห่างจากดาวบ้านเกิดของเราไปเพียง 1,300 ปี และเป็นจุดที่มีชื่อเสียงให้ช่างภาพสมัครเล่นและมืออาชีพ รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ได้ถ่ายภาพที่สวยงามอย่างน่าประทับใจ

โดยก่อนหน้านี้ เนบิวลาหัวม้าได้รับการศึกษาโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ฮับเบิล เป็นครั้งแรกในปี 2013 และต่อมากล้องโทรทรรศน์อวกาศอีกตัวขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) เองก็ได้ถ่ายภาพเอาไว้ มันเป็นสสารและก๊าซระหว่างดวงดาวที่กำลังค่อย ๆ สลายตัวไปอย่างช้า ๆ นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าอีก 5 ล้านปี หัวม้าอันโดดเด่นจะหายไปตลอดกาล

แต่ก่อนที่จะถึงเวลานั้น กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ได้ทำการถ่ายภาพไว้ในความละเอียดสูงสุดแบบที่มันได้รับการออกแบบมาให้ทำ ภาพที่มีรายละเอียดสูงและคมชัดของแผงคอของหัวม้าได้เผยให้สสาร ดวงดาว และกาแล็กซีที่อยู่เลยออกไป

NASA ระบุไว้ว่าพื้นที่ตรงนั้น “ถือว่าเป็นหนึ่งในบริเวณที่ดีที่สุดในท้องฟ้า เพื่อศึกษาว่ารังสีมีปฏิกิริยาอย่างไรกับสสารระหว่างดวงดาว”

แต่สิ่งที่นักดาราศาสตร์สนใจกันจริง ๆ คือสิ่งที่เรียกว่า photon-dominated region (PDR) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโฟตอนของแสงอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเป็นเพราะแสงอัลตราไวโอเลตจากดาวฤกษ์อายุน้อยมวลมากปล่อยออกมา แล้วถูกกักไว้โดยฝุ่นและก๊าซร้อน ๆ

ก๊าซเหล่านั้นหนาแน่นพอที่กักประจุไว้ได้ แต่ก็ไม่ได้หนาแน่นพอที่จะปิดกั้นแสงอัลตราไวโอเลตไว้ มันจึงเป็นจุดกึ่งกลางที่น่าสนใจและมีเอกลักษณ์ที่นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะเข้าใจมันได้มากขึ้น ด้วยภาพใหม่ที่มีรายละเอียดสูงนี้ นักดาราศาสตร์ได้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่ารังสีอัลตราไวโอเลตดึงอนุภาคฝุ่นออกจากเมฆได้อย่างไร

ข้อมูลเหล่านั้นได้รับการเผยแพร่ไว้ในวารสาร Astronomy & Astrophysics > https://www.aanda.org/articles/aa/pdf/forth/aa49198-24.pdf

ที่มา

https://www.space.com/james-webb-space-telescope…

https://www.smithsonianmag.com/…/see-new-images-of-the…/

Photo : NASA

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0