อียูผ่าน กม.เอไอ ฉบับแรกของโลก
ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกครั้งประวัติศาสตร์ของโลกที่จะมีการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ หลังเจรจาพูดคุยกันยาวนานตลอด 37 ชม.ระหว่างสภายุโรปกับประเทศสมาชิกกลุ่มสหภาพยุโรป หรือ อียู เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ธ.ค. ซึ่งจะนำมาใช้ในยุโรปควบคุมสื่อสังคมออนไลน์และเวปไซต์เสิร์ช เอ็นจินของบรรดาค่ายยักษ์ใหญ่ เช่น เอ็กซ์ , ติ๊กต่อกและกูเกิล ทำให้อียูรุดหน้าไปก่อนสหรัฐฯ จีนและสหราชอาณาจักร (ยูเค) ในการแข่งขันกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ และปกป้องคุ้มครองสังคมกับอันตรายต่าง ๆ ที่รวมถึงอาจเป็นภัยคุกคามถึงชีวิต ที่หลายฝ่ายต่างเกรงกลัวถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
แม้เจ้าหน้าที่ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าจะมีการกำหนดอะไรบ้างในกฎหมาย ซึ่งอาจจะเริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเร็วสุดภายในปี 222025 แต่มีข้อมูลระบุว่า กฎหมายฉบับนี้จะถูกบังคับใช้โดยหน่วยกำกับดูแล มีเนื้อหาระบุไว้หลายอย่าง ทั้ง ห้ามใช้เทคโนโลยีเฝ้าระวังแบบเรียลไทม์ ห้ามใช้ระบบจดจำใบหน้า หรือ ไบโอเมตริก ในที่สาธารณะรวมถึงเครื่องมือตรวจการณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยกเว้นเกิดเหตุอาชญากรรม หรือภัยคุกคามจากก่อการร้าย และการค้นหาผู้ต้องสงสัยคดีอาชญากรรมรุนแรง แต่ก็ยังมีห้ามใช้ระบบเครดิตทางสังคม (The Social Crefit System) ที่ใช้ในจีน กับการบังคับด้านความโปร่งใสกับเครื่องมือพัฒนาเอไอ โมเดลฐานรากของปัญญาประดิษฐ์ที่ได้รับการฝึกฝนด้วยข้อมูลจำนวนมาก เช่น ChatGPT
จุดประสงค์ข้อหนึ่งของการออกกฎหมายนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าระบบเอไอในยุโรปจะพัฒนาขึ้นโดยยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง เคารพสิทธิขั้นพื้นฐาน คุณค่าของมนุษย์ สร้างความไว้วางใจ สร้างจิตสำนึกว่าเราจะดึงสิ่งที่สุดของเอไอมาได้อย่างไร องค์กรหรือเอกชนใดละเมิดจะมีค่าปรับเป็นเงินตั้งแต่ 7.5 ล้านยูโร (ราว 288 ล้านบาท) หรือ 1.5% ของมูลค่าการซื้อขาย ถึง 35 ล้านยูโร (ราว 1,344 ล้านบาท) หรือ 7% ของมูลค่าการซื้อขายทั่วโลก
สำนักข่าว The Guardian
ความเห็น 0