ในหนังสือ “หลังบ้านคณะราษฎร์” (สนพ. มติชน, เมษายน 2564) ตอนหนึ่ง ชานนท์ ยอดหงษ์ กล่าวถึง จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ขณะนั้นเพิ่งจะรัฐประหารจอมพล ป. พิบูลสงคราม พยายามประจบเอาใจ รัชกาลที่ 9 และเข้าหาราชสำนัก เพราะหวังให้เป็นแรงสนับสนุนทางการเมืองแก่ตนเอง
จนเมื่อ พ.ศ. 2503 ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงมีหมายกำหนดการจะเสด็จฯ เยือนสหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป เป็นเวลา 6 เดือน
การเสด็จครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริจะนำเอาสัญลักษณ์ความหมายประเทศไปด้วย ในรูปแบบของ “ชุดประจำชาติ” ที่เหมาะกับยุคสมัย เป็นฉลองพระองค์/เสื้อผ้าที่เป็นแบบฉบับและบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ประจำชาติไทย สำหรับพระองค์เอง และเป็นเครื่องแต่งกายของข้าราชบริพารหญิงที่ติดตาม
โดยทรงกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องให้ความอบอุ่น, สวยงามโดดเด่น, ร่วมสมัย, ออกแบบตัดเย็บอย่างชาวตะวันตก
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ขณะนั้นเพิ่งจะรัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้พยายามประจบเอาใจราชสำนัก จึงเสนอให้ห้องเสื้อ คริสเตียน ดิออร์ (Christian Dior) มาออกแบบตัดชุดฉลองพระองค์
แต่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปฏิเสธ จอมพล สฤษดิ์ และรับสั่งว่า เป็นเรื่องเล็กที่ภายในวังสามารถจัดการได้เอง [1]
ทว่า พระองค์ได้เชิญเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส และปิแอร์ บัลแมง (Pierre Balmain) มาเข้าเฝ้า และร่วมโต๊ะเสวยพระยาหารกลางวัน
ในการนี้ทรงรับสั่งให้บัลแมง ที่มีประสบการณ์ตัดชุดให้หญิงชนชั้นสูงในยุโรปและมาพำนักที่ไทยพอดี เป็นผู้ออกแบบชุดแทน [2] โดยให้ผ้าไหมไทยจากร้านจิม ทอมป์สัน มาตัดเป็นฉลองพระองค์
อ่านเพิ่มเติม :
- รัชกาลที่ 9 เสด็จนิวยอร์ก บนถนนบรอดเวย์ เมื่อ 5 ก.ค. 1960
- สปอ. กับการเสด็จฯ เยือนสหรัฐอเมริกา ของรัชกาลที่ 9
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
เชิงอรรถ :
[1] สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศทางราชการ. เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547, น. 89-91
[2] สำนักราชเลขาธิการ, ประมวลพระราชกรณียกิจสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เล่ม 1 พ.ศ. 2493-2502 จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม 2535 (กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2539) น.19
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 21 มิถุนายน 2564
ความเห็น 21
ยักษ์เขียว รับใช้ นช
BEST
สื่อบางสื่อ คอยรับใช้นายทุนธนาทร คอยปั่นป่วนบ้านเมือง ยุยงส่งเสริม พวก Genz ที่ไม่รุ้จักถูกผิด ดำเป้นขาว ขาวเป็นดำ ให้ก่อการมิควรได้ง่าย จริงไหม มติชนผู้แปลงกายหลายชื่อ
04 ธ.ค. 2566 เวลา 22.47 น.
Charlie Hotel
อ่านดูเนื้อใน ก็ไม่เห็นมีอะไร เป็นประเด็น แต่พาดหัวข่าว เหมือนยุแยงยังไงก็ไม่รู้ มติชน หลังๆ นี่อ่านหัวข่าวแต่ละเรื่อง รู้สึกเหมือนพยายามด้อยค่า คนสำคัญของประเทศ ยังไงก็ไม่รู้ เนื้อข่าวก็เหมือนพูดลอยๆ คิดเอง พูดเอง ไม่มีหลักฐานอ้างอิงอะไร โดยเฉพาะ คำว่าประจบเอาใจ
05 ธ.ค. 2566 เวลา 00.26 น.
Mommy Yeewha Risa
ต้องการอะไรคะ สื่อนี้ มีนัยยะอะไร
05 ธ.ค. 2566 เวลา 01.11 น.
Wat
หมายความว่าไงสื่ออะไรยังไงท่านก็เป็นคนรักชาติรักแผ่นดินดีกว่านักการเมืองเลวๆคิดแต่จะกอบโกยอย่างเดียวอ้างรักชาติเอาประชาชนมาอ้างว่าทำเพื่อประชาชน ยางคนร่ำรวยเป็นหมื่นล้านยังไม่เคยเห็นทำอะไรเพื่อสังคมเลยจะกอบโกยไม่รู้จักพอ
05 ธ.ค. 2566 เวลา 03.30 น.
🌸nid.ju🌸
สื่อส้..ม
05 ธ.ค. 2566 เวลา 02.44 น.
ดูทั้งหมด