โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กรมศิลปากรรับมอบ พระพุทธรูปไม้แกะสลักช่างพื้นถิ่นใต้ หลังชาวออสซี่ส่งมอบคืนไทย

MATICHON ONLINE

อัพเดต 27 ม.ค. 2566 เวลา 06.23 น. • เผยแพร่ 27 ม.ค. 2566 เวลา 06.18 น.
กรมศิลป์1
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

กรมศิลปากรรับมอบ พระพุทธรูปไม้แกะสลักช่างพื้นถิ่นใต้ 9 องค์ หลังชาวออสซี่ขอส่งมอบคืนไทย ประสานผ่านสถานเอกอัครราชทูตกรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลีย

เมื่อวันที่ 27 มกราคม กรมศิลปากร แจ้งว่า เมื่อวันที่ 25 มกราคม ที่ผ่านมา ที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) นายณัฐพล ขันธหิรัญ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นางกาญจนา ภัทรโชค อธิบดีกรมสารนิเทศ นายธนวัต ศิริกุล รองอธิบดีกรมสารเทศ นายณัฐพล ณ สงขลา ผู้อำนวยการกองทูตวัฒนธรรม ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมในพิธีมอบพระพุทธรูปไม้ ที่มีผู้ต้องการส่งมอบคืนให้กับประเทศไทยผ่าน กต.ให้แก่กรมศิลปากร เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ โดยนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ได้มอบหมายให้นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร และ น.ส.นิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นผู้แทนกรมศิลปากร เข้าร่วมในพิธี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

กรมศิลปากรแจ้งอีกว่า พระพุทธรูปไม้แกะสลักที่ได้รับมอบในครั้งนี้มี 9 องค์ เป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลักขนาดเล็ก ซึ่งนาย Murray Upton ชาวออสเตรเลีย ต้องการมอบคืนให้แก่ไทย โดยได้ประสานผ่านทางสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ตามข้อมูลระบุว่า นาย Upton ได้รับพระพุทธรูปจากบิดาซึ่งเป็นนักสำรวจ และวิศวกรของบริษัท Southern Siam ที่ได้สำรวจเส้นทาง และก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2454 ในเขตพื้นที่ จ.ตรัง ทางกรมศิลปากรได้พิจารณา และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย เมื่อเดือนกันยายน 2565 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบในการรับพระพุทธรูปดังกล่าวกลับคืนสู่ไทย กรมศิลปากรจึงขอความร่วมมือ กต.โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เป็นผู้แทนรับมอบ และจัดส่งผ่านถุงเมล์การทูตกลับคืนสู่ไทย

สำหรับพระพุทธรูปไม้แกะสลักดังกล่าว ตามประวัติ และรูปแบบศิลปกรรม เป็นพระพุทธรูปแกะสลักด้วยฝีมือช่างพื้นถิ่น คงมีแหล่งที่มาจากภาคใต้ของไทย ปัจจุบันเหลือจำนวนไม่มากนัก ส่วนใหญ่มักเป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนในพื้นที่สร้างถวายเป็นพุทธบูชาเพื่อประดิษฐานในวัด หรือถ้ำศาสนสถาน จึงเป็นการดีที่ได้นำกลับมา เพื่อเป็นตัวอย่างในการศึกษารูปแบบศิลปกรรมของท้องถิ่นภาคใต้ โดยภายหลังจากที่รับมอบแล้ว จะนำไปเก็บรักษา และจัดแสดงที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จ.ปทุมธานี ต่อไป

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง