โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ทำความรู้จัก “POST VACATION BLUE” อารมณ์สีเทาที่มาหลังการเที่ยว

Health Addict

อัพเดต 09 ส.ค. 2563 เวลา 06.26 น. • เผยแพร่ 07 ส.ค. 2563 เวลา 08.45 น. • Health Addict
หลังเที่ยว…ใครบ้างกำลังรู้สึกห่อเหี่ยว ไร้เรี่ยวแรง ขี้เกียจกลับไปนั่งโต๊ะออฟฟิศเหมือนเรา ? ความรู้สึกนี้ ถ้ามองแบบผิวเผิน ดูเหมือนไม่น่ามีอะไร  แต่ทางผู้เชี่ยวชาญเขาออกมาบอกเลยนะว่า  อาการนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของอาการซึมเศร้าได้เหมือนกัน
หลังเที่ยว…ใครบ้างกำลังรู้สึกห่อเหี่ยว ไร้เรี่ยวแรง ขี้เกียจกลับไปนั่งโต๊ะออฟฟิศเหมือนเรา ? ความรู้สึกนี้ ถ้ามองแบบผิวเผิน ดูเหมือนไม่น่ามีอะไร แต่ทางผู้เชี่ยวชาญเขาออกมาบอกเลยนะว่า อาการนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของอาการซึมเศร้าได้เหมือนกัน

ไหนๆ หลังเที่ยว…ใครบ้างกำลังรู้สึกห่อเหี่ยว ไร้เรี่ยวแรง ขี้เกียจกลับไปนั่งโต๊ะออฟฟิศเหมือนเรา ? ความรู้สึกนี้ ถ้ามองแบบผิวเผิน ดูเหมือนไม่น่ามีอะไร  แต่ทางผู้เชี่ยวชาญเขาออกมาบอกเลยนะว่า  อาการนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของอาการซึมเศร้าได้เหมือนกัน 

 

ความรู้สึกแบบ POST  VACATION BLUE เป็นยังไง?

“POST VACATION BLUE” คำนี้ คุณสามารถแปลได้แบบตรงตัวเลย ซึ่งก็คืออาการเศร้า คิดถึงวันหยุดอันแสนสุขหลังจากเพิ่งกลับมาได้ไม่กี่วัน 
อาการนี้ยังมีชื่อเรียกอีกหลากหลาย  เช่น ในแถบประเทศเครือสหราชอาณาจักร จะใช้คำว่า “Post-Holiday Blues” แต่ในแถบแคนาดาหรืออเมริกา มักจะใช้ “POST VACATION BLUE”  ส่วนในวงการแพทย์มักจะใช้คำว่า “post-travel depression (PTD)” 
Dr. Irena Milentijevic นักจิตแพทย์จากเว็บไซต์ Drirena.com อธิบายว่า วันหยุดยาว หรือวันที่เราต่างได้ใช้เวลาพักผ่อนหย่อนใจนั้นมีความเชื่อมโยงกับอารมณ์ของเราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความสุข และความตื่นเต้นต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ทุกคนต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ทริปในวันพักเบรคนั้นๆ ลงตัวและสนุกที่สุด แต่ว่าช่วงเวลาแห่งความสุขนี้ก็ดันจากไปไวเช่นกัน…และนั่นก็ทำให้เราหวนคิดถึงความสนุกที่ผ่านมาทันที
 

แล้วเราจะ "สังเกต"  ตัวเองว่ามีภาวะนี้ได้ยังไงบ้าง?

ข้อมูลจากทางองค์กรพันธมิตรผู้ป่วยโรคทางจิตแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือ NAMI (National Alliance on Mental Illness)อธิบายไว้ว่า อาการรวมๆ ที่สังเกตได้เลยก็คือ คุณอาจรู้สึกอ่อนล้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ เครียด เศร้าและเหงา  ส่วนทางเว็บไซต์ healthline.com ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจคือ บางเคสอาจมีอาการซึมและเบื่อหน่ายกับสิ่งที่เคยเอ็นจอยอยู่เป็นประจำด้วย เช่น จู่ๆ ก็รู้สึกเบื่อกับอาหารจานโปรด 
ข้อแตกต่างระหว่างอาการซึมเศร้าจากการเที่ยว VS อาการซึมเศร้าจากภาวะทางจิต 
ทางองค์กร NAMI อธิบายว่า อาการซึมหรือรู้สึกเศร้าเมื่อต้องกลับมาสู่การใช้ชีวิตตามปกติหลังจากเที่ยวในวันหยุดยาวนั้น จัดเป็นอาการวิตกกังวล (Anxiety) รวมถึงอาการซึมเศร้า (Depression) แบบชั่วคราวได้  (Temporary Feeling) ซึ่งไม่ใช่โรคทางจิตเวชแต่อย่างใด  แต่ถึงแม้จะเป็นแค่อาการที่เกิดเพียงแค่ชั่วครั้งคราว  ทางองค์กร NAMI ก็ย้ำว่าทุกคนไม่ควรละเลยเด็ดขาด เนื่องจากมันสามารถเป็นต้นเหตุให้เกิดเป็นอาการป่วยทางจิตระยะยาว (Clinical Depression) ได้ในอนาคต
ส่วนข้อแตกต่างของอาการซึมเศร้าแบบ POST VACATION BLUE ถ้าเปรียบกับอาการป่วยซึมเศร้าในทางจิตเวชนั้นก็คืออาการต่างๆ ที่ได้อธิบายข้างต้นนั้นจะเกิดแค่ชั่วคราว ซึ่งระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของการเที่ยว เที่ยวนาน อารมณ์เศร้าก็อยู่นาน โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ที่ประมาณ 2-3 วันถึงหายไปเอง ขณะที่อีกคนอาจจะต้องใช้เวลาเป็นวีคๆ เพราะเที่ยวนานกว่า
และนี่คือ  5 วิธีรับมือกับอาการ “POST  VACATION BLUE” ได้แบบฉบับของ Health Addict
  1. พยายามทำตามกิจวัตรประจำวันเดิมให้ได้มากที่สุด เช่น ตื่นให้ตรงเวลา อย่าไปทำงานสาย พยายามฝืนตัวเองเอาหน่อย
  2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ให้สมองปลอดโปร่งและเฟรชขึ้นในแต่ละวัน    3. พยายามหากิจกรรมสนุกๆ ทำ เช่น ออกกำลังกาย ออกไปทานข้าวกับเพื่อน เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เวลาอยู่กับตัวเองมากเกินไป   4. เขียนลิสต์แพลนตารางในแต่ละวันว่าคุณต้องทำอะไร แล้ว Mission ไหนสำเร็จไปแล้วบ้าง   5. Music ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ต้องบอกเลยว่าเวิร์คมากในการทำให้ใจสงบและนิ่งขึ้น เพราะเราเองลองแล้ว บอกเลยว่า "เวิร์ค" โดยเฉพาะกับคนที่เป็น MUSIC LOVER หรือคุณจะลองหางานอดิเรกที่ชอบทำระหว่างฟังเพลงไปด้วยก็ได้ เช่น อ่านหนังสือ วาดภาพแล้วเอนกายฟังเพลงเบาๆ จิบน้ำชาเพื่อให้จิตใจสงบ Relax มากขึ้น บอกเลยว่าได้ผลเป็นอย่างดีเลยล่ะ    เอาล่ะ! 5 วิธีที่เราบอกไปนั้นหวังว่าจะช่วยให้คุณหายวอรี่กันนะ ถ้ามีวิธีอื่นที่อยากแชร์ให้เราฟังล่ะก็ เข้ามาแชร์กันได้เล้ยยย ^^
 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น