ในปี พ.ศ.๒๑๓๕ พระเจ้านันทบุเรง กษัตริย์ผู้ปกครอง กรุงพม่า ในเวลานั้น
ได้โปรดให้พระมหาอุปราชา มกุฎราชกุมารแห่งพม่า นำกองทัพทหาร
สองแสนสี่หมื่นคน มาตีกรุงศรีอยุธยา โดยหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ให้ได้
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบว่า พม่าจะยกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล
มีกำลังหนึ่งแสนคน เดินทางออกจากบ้านป่าโมก ไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง
และตั้งค่ายหลวงบริเวณ หนองสาหร่าย
เช้าของวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๑๓๕ สมเด็จพระนเรศวร
และสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ทรงช้างศึก เพื่อนำทัพออกศึก ทำการรบกับกองทัพของพระมหาอุปราชา
ระหว่างทำศึกอยู่นั้น ช้างศึกได้นำทั้งสองพระองค์พี่น้อง ถลำลึกเข้ามาในแดนของกองทัพพม่า
ด้วยไหวพริบ สมเด็จพระนเรศวร จึงร้องท้าทายพระมหาอุปราชา ให้ออกมากระทำ ยุทธหัตถี
สู้กันแบบตัวต่อตัวบนหลังช้างศึก โดยพระมหาอุปราชา ทรงรับคำท้าพร้อมทั้งไสช้างศึกเข้าสู้
เพื่อพิสูจน์ชัยชนะ ยุทธหัตถี ครั้งนั้น สมเด็จพระนเรศวรทรงมีชัยเหนือพระมหาอุปราชา
ถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญ ทำให้ กองทัพพม่า ไม่กล้ามารุกราน กรุงศรีอยุธยา อีกนาน
ต่อมาภายหลัง ได้มีการคำนวณวัน เวลาของการทำ ยุทธหัตถี ใหม่ตามหลักสากล
ได้ข้อสรุปว่า วันกระทำยุทธหัตถี คือวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๑๓๕
ในภายหลังรัฐบาลไทย ได้กำหนดให้วันดังกล่าว ถือเป็นวัน กองทัพไทย
เพื่อรำลึกถึง การทำยุทธหัตถีของ พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช