โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ราคาหมูยังอยู่ 200 บาทต่อกิโลกรัม หลังจุรินทร์สั่งเบรกส่งออก

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 05 ส.ค. 2565 เวลา 03.14 น. • เผยแพร่ 06 ม.ค. 2565 เวลา 05.28 น.
ราคาหมู

1 วันหลังจุรินทร์สั่งเบรกส่งออก ราคาจำหน่ายหมูยังสูง กิโลกรัมละ 200 บาทต่อกิโลกรัม แถมชิ้นส่วนหมูหลายรายการปรับขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 5-20 บาทต่อกิโลกรัม ด้านสมาคมผู้เลี้ยงกระทุ้งรัฐเร่งหาวัคซีน-ตั้งกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร

วันที่ 6 มกราคม 2565 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” สำรวจการจำหน่ายเนื้อหมูในวันนี้ (6 ม.ค.) หรือ 1 วัน หลังจากที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ครั้งที่ 1/2565 ไปเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 มีมติห้ามส่งออกสุกรมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2564 ถึง วันที่ 5 เมษายน 2565 เป็นการชั่วคราว เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณหมูกลับสู่ตลาดในประเทศ 1 ล้านตัน

และสั่งการให้ผู้เลี้ยงที่มีปริมาณการเลี้ยงเกิน 500 ตัว ผู้ค้าส่งที่มีปริมาณเกิน 500 ตัว ห้องเย็นที่มีการเก็บสต๊อกเกิน 5,000 กิโลกรัมขึ้นไป แจ้งสต๊อกให้กรมการค้าภายในรับทราบรวมทั้งแจ้งราคา ทุก 7 วัน ซึ่งเริ่มวันที่ 10 ม.ค. 65 เป็นต้นไป เพื่อให้ทราบปริมาณหมูเป็นทั้งหมดที่อยู่ในระบบ รวมทั้งหมูแช่แข็ง แช่เย็น รวมกันทั้งประเทศว่ามีจำนวนเท่าไหร่ เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาร่วมกันกับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

ปรากฏว่าราคาจำหน่ายเนื้อหมูในห้างโมเดิร์นเทรด และตลาดในพื้นที่กรุงเทพและนนทบุรี ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ปรับราคาจำหน่าย ทะลุกิโลกรัมละ 230 บาทไปแล้วนั้น ล่าสุดยังอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 200 บาท

ขณะที่ชิ้นส่วนต่าง ๆ ปรับสูงขึ้น เช่น เนื้อหัวไหล่ เนื้อสะโพก ราคา กิโลกรัม ละ 175 บาท สูงกว่าการสำรวจเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2565 ที่จำหน่ายราคา กิโลกรัมละ 160 บาท

เนื้อหมูบด จำหน่ายกิโลกรัมละ 189 บาท ก็ยังสูงกว่าก่อนหน้านี้ราคา 185 บาท ส่วนสันนอก กิโลกรัมละ 220 บาทสูงกว่าก่อนหน้านี้ ที่จำหน่าย กิโลกรัมละ 199 บาทเนื้อหมูสามชั้น กิโลกรัมละ 250 บาท จากก่อนหน้านี้ กิโลกรัมละ 222 บาท

นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า มาตรการห้ามส่งออกถือว่าเป็นมาตรการที่มาช่วยด้านจิตวิทยา แต่หากเปรียบเทียบแล้วการส่งออกเฉลี่ยคิดเป็นจำนวนหมูเพียง 32,000 ตัวต่อวัน ซึ่งไม่มากเมื่อเทียบกับการบริโภคที่มีปริมาณ 40,000 ตัวต่อวัน

ดังนั้น ภาครัฐควรเร่งจัดหาวัคซีนเพื่อแก้ปัญหาการระบาด และจัดตั้งกองทุนเพื่อฟื้นฟูเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร เพราะมาตรการเงินกู้ของ ธกส.ที่ออกมาให้วงเงิน 1 แสนบาทเทียบเป็นต้นทุนหมูตัวละ 1 หมื่นบาท ถือว่าจะฟื้นฟูน้อยมาก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 26

  • เบลดีแต่เเท็ก
    เป็นการช่วยเหลือทั้งผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้บริโภค
    06 ม.ค. 2565 เวลา 14.55 น.
  • เฮียเอ็มเมืองนน
    ขอบคุณรินทร์แก้ปัญหาให้ผู้บริโภคทันควัน
    06 ม.ค. 2565 เวลา 14.53 น.
  • 🎵San🎼
    เชื่อมั่นว่าคุณจุรินทร์จะแก้ปัญหานี้ได้
    06 ม.ค. 2565 เวลา 14.25 น.
  • เป็นกำลังใจให้คุณจุรินทร์ในการทำงาน
    06 ม.ค. 2565 เวลา 10.45 น.
  • แก้มป่องน้องชบา
    เชื่อว่าพี่อู๊ดด้าและพานิชย์ช่วยแก่ปัญหาให้กับปชช.ได้
    06 ม.ค. 2565 เวลา 10.41 น.
ดูทั้งหมด