โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 5 ยี่ห้อ รวมตัวในรอบ 50 ปี ขอขึ้นราคา เป็น 8 บาท

เส้นทางเศรษฐี

อัพเดต 15 ส.ค. 2565 เวลา 13.19 น. • เผยแพร่ 15 ส.ค. 2565 เวลา 11.12 น.
290698920_733678534393249_801237672285778296_n

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 5 ยี่ห้อ รวมตัวในรอบ 50 ปี ขอพาณิชย์ ขึ้นราคา เป็น 8 บาท

วันที่ 15 ส.ค. 2565 นายพันธ์ พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการสำนักผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วันนี้ ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้ง 5 ราย คือ มาม่า ไวไว ยำยำ นิชชิน และซื่อสัตย์ ได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 50 ปี เพื่อลงนามในหนังสือ ขอให้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เร่งการพิจารณาคำขอปรับขึ้นราคาขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอีก 2 บาท เป็น 8 บาท ที่แต่ละรายได้ยื่นเข้าไปก่อนหน้า อย่างเร่งด่วน โดยหลังลงนามจะนำหนังสือเข้ายื่นที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในช่วงเช้าวันที่ 16 สิงหาคม 2565 นี้

ทั้งนี้เนื่องจาก ปัจจุบันผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทุกรายต่างเสี่ยงที่จะขาดทุนและบางรายเริ่มขาดทุนแล้ว โดยเป็นผลจากต้นทุน อาทิ แป้งสาลีที่เพิ่มขึ้น 20-30% น้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นเท่าตัว รวมถึงยังมีบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เพิ่มขึ้น 12-15% ซึ่งต่างเพิ่มขึ้นในลักษณะของการปรับฐานระยะยาวไม่มีทีท่าจะลดลง แตกต่างจากในอดีตที่ราคาพุ่งขึ้นเพียงชั่วคราว

เฉพาะต้นทุนแป้งสาลีและน้ำมันปาล์ม ทำให้ต้นทุนของมาม่าเพิ่มขึ้นเกือบ 2 บาทต่อซองแล้ว โดยยังไม่รวมบรรจุภัณฑ์และสินค้าเกษตรสำหรับผลิตเครื่องปรุงรส เมื่อรวมกับเพดานราคา 6 บาทที่ไม่ได้ปรับมานานกว่า 15 ปี ทำให้ปัจจุบันผู้ผลิตบางรายขาดทุนในบางเดือน เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงกว่าราคาขาย

ตัวอย่างเช่น ไวไว ของบริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด และยำยำ ของบริษัท วันไทย อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด ที่เริ่มขาดทุนในบางเดือน

ขณะที่ นายวีระ นภาพฤกษ์ชาติ กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทยจำกัด กล่าวเสริม นอกจากการขาดทุนของผู้ประกอบการแล้ว สถานการณ์นี้ ยังกระทบผู้บริโภคหลายด้านเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นทำให้การแข่งขันในตลาดลดลง สินค้าบางรสชาติอาจหายไป รวมไปถึงอาจทำให้ผู้เล่นรายเล็กหรือรายใหญ่ล้มหายไป

เพราะสัดส่วนต้นทุนที่เท่ากับหรือสูงกว่าราคาขายจนไม่มีกำไรหรือขาดทุนนี้ ทำให้ไม่สามารถทำโปรโมชั่นกระตุ้นการซื้อ ต่างจากในอดีตที่วงการบะหมี่จะมีการแข่งขันดุเดือด เช่น แพ็ก 10 ซองราคา 30-50 บาท เป็นต้น

ขณะเดียวกัน การรับมือด้วยการเพิ่มสัดส่วนการส่งออก ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ทุกรายนำมาใช้ เพราะในตลาดต่างประเทศสามารถปรับขึ้นราคาให้สอดคล้องกับต้นทุนได้นั้น ในระยะยาวหากสถานการณ์ในประเทศไม่คลี่คลาย อาจทำให้ทุกรายต้องส่งออกสินค้าจำนวนมากเพื่อพยุงธุรกิจ จนกระทบต่อปริมาณสินค้าที่วางขายในไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ที่เข้าร่วมการแถลงข่าวในวันนี้ ประกอบด้วย นายพันธ์ พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการสำนักผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) นายปริญญา สิทธิดำรง กรรมการ บริษัท โชคชัยพิบูล จำกัด นายวีระ นภาพฤกษ์ชาติ กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด นายกิตติพศ ชาญภาวรกิจ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท วันไทย อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด และ มร.ฮิจิริ ฟูกุโอกะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นิชชิน ฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0