โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว งูหางแฮ่ม - กบสังขละ โผล่อช.เขาแหลม หลังไม่เห็นมา 20 ปี

Khaosod

อัพเดต 03 ก.พ. 2563 เวลา 12.51 น. • เผยแพร่ 03 ก.พ. 2563 เวลา 12.51 น.
งู

คิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว งูหางแฮ่ม – กบสังขละ โผล่อช.เขาแหลม หลังไม่เห็นมา 20 ปี

งูหางแฮ่ม / เมื่อวันที่ 3 ก.พ. นายเทวินทร์ มีทรัพย์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลม จ.กาญจนบุรี กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) กล่าวว่า

ตนได้ทำหนังสือรายงาน นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ เรื่องการค้นพบสัตว์ป่าหายากที่ไม่เคยพบในป่าธรรมชาติมาแล้วกว่า 20 ปี แต่มาเจอที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลม

นั่นคือ กบสังขะ และ งูหางแฮ่ม หรือ งูหางแฮ่มกาญจน์ ที่จัดอยู่ในกลุ่มงูเขียวหางไหม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง เพราะเดิมทีนั้น นักชีววิทยา คิดว่าสัตว์ทั้ง 2 ชนิดนี้จะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่กลับมาเจอในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลม

โดยกบสังขละเป็นกบขนาดกลาง ความยาวจากหัวถึงก้นราว 5 เซนติเมตร หน้ายาวแหลม แผ่นหูสีน้ำตาลเข้มปรากฏชัดเจน ปลายนิ้วเรียว มือไม่มีพังผืดเล็กน้อย หลังสีน้ำตาลเทา มีลายและสีดำ บนหลังมีเส้นสีครีมถึงสีส้ม

จากปลายจมูกผ่านเหนือตาไปตามเหนือสีข้างถึงก้น มีแถบสีดำจากจมูกพาดตาและแผ่นหูยาวไปตามใต้แนวสันลำตัว สีข้างและท้องสีขาวครีมแต้มลายสีน้ำตาลเข้ม ขาหลังมีลายพาดสีน้ำตาลเข้ม ริมฝีปากสีครีมสลับน้ำตาลเข้ม มีเส้นสีขาวจนถึงมุมปาก

กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account ได้ที่นี่

เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน

นายเทวินทร์ กล่าวอีกว่า สำหรับงูหางแฮ่มนั้น ในส่วนของกรมอุทยานแห่งชาติได้ตั้งทีมขึ้นมาเพื่อศึกษาวิจัยสัตว์ชนิดนี้ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมโดยเฉพาะ ซึ่งพบว่า งูหางแฮ่ม หรือ งูหางแฮ่มกาญจน์ เป็นงูพิษเขี้ยวหน้าขนาดกลาง ในกลุ่มงูเขียวหางไหม้ (Pit Viper) จัดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น (Endemic) ที่มีรายงานการพบเฉพาะในพื้นที่เขาหินปูน จังหวัดกาญจนบุรีเท่านั้น

โดยมีรายงานการพบครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่มาของชื่อสามัญที่นิยมใช้เรียกกันว่า “Kanburi Pit Viper” พวกมันจะอาศัยอยู่ตามเขาหินปูนในป่าไผ่ ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ความยาวลำตัวตั้งแต่ปลายจมูกถึงปลายหางเฉลี่ย 40 เซนติเมตร

มีพฤติกรรมดักซุ่มโจมตีเหยื่อ โดยการขดตัวอยู่นิ่งๆ แล้วรอให้เหยื่อเข้ามาใกล้จึงจับกินเป็นอาหาร ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน อาหารส่วนใหญ่ของงูหางแฮ่มกาญจน์ ได้แก่ ตุ๊กแกป่าไทรโยค ตุ๊กแกป่าคอขวั้น ตุ๊กแกป่าลายจุด จิ้งจกดินลายจุด จิ้งจกดินหางสีส้ม จิ้งจกหิน เมืองกาญจน์ กบ เขียด หรืออึ่งขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน

งูหางแฮ่มออกลูกเป็นตัว ครั้งละประมาณ 5-10 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของแม่งู ช่วงฤดูผสมพันธุ์และฤดูกาลที่ออกลูก ยังไม่มีการศึกษาและมีข้อมูลที่แน่ชัด

หน.อุทยานฯเขาแหลม ระบุอีกว่า สำหรับข้อมูลพื้นฐานของงูหางแฮ่มกาญจน์ในด้านอื่นๆนั้น ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก ส่วนปัจจัยคุกคามที่สำคัญของงูหางแฮ่มกาญจน์ได้แก่ พื้นที่อาศัยถูกทำลายเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เขาหินปูนถูกระเบิดเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

การจุดไฟเผาป่า อีกทั้ง ยังมีการจับออกมาขายเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงหายากในกลุ่มคนชอบสะสมหรือเลี้ยงสัตว์แปลก ซึ่งมีการส่งขายไปทั่วโลก จึงมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูงมาก

“เวลานี้กลุ่มนักวิจัยของกรมอุทยานแห่งชาติฯได้ทำการฝังชิปเพื่อติดตามพฤติกรรมการใช้ชีวิต การเคลื่อนที่ และการอยู่อาศัย สำหรับงูหางแฮ่มไปแล้ว 11 ตัว ถือเป็นความสำเร็จเรื่องการดูแลทรัพยากร และการพยายามจะดูแลอนุรักษ์เอาไว้ซึ่งสัตว์ป่าอีกอย่างหนึ่ง” หน.อุทยานฯเขาแหลม กล่าว

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 3

  • @...WS...@
    จะรีบเขียนไปไหน
    03 ก.พ. 2563 เวลา 13.48 น.
  • มันจะหายากคงเพราะไม่ใช่งูเหลือมที่นิยมโผล่คอห่านไปงั้นๆอยากเจองูเจอกบสายพันธุ์เหล่านี้มึงจะไปนอนซุกหัวแต่ในมุ่งหรือไปยืนรอวิจัยอยู่บนดาวอังคารมึงจะไปเจอได้อย่างไร..สัตว์แต่ละสายพันธุ์ย่อมเลือกถิ่นอาศัยที่แตกต่างกันงูพวกนี้กบเหล่านี้พบเจออยู่บ่อยๆ(แต่ไม่ใช่บนดาดฟ้าของตึก)
    03 ก.พ. 2563 เวลา 14.54 น.
  • yui
    ระวังพี่จีนจะยกโขยงมาแดกล่ะ
    03 ก.พ. 2563 เวลา 14.18 น.
ดูทั้งหมด