โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

คุยเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม กับ ทอม โพธิสิทธิ์ ช่างภาพ LGBTQI ผู้เปลี่ยนแปลงโลกด้วยแฟชั่น

BLT BANGKOK

อัพเดต 11 ก.ย 2562 เวลา 10.32 น. • เผยแพร่ 10 ก.ย 2562 เวลา 09.58 น.
a28c02737a3b2bc7bf885eb673912c0a.jpg

มีคำกล่าวว่า “ถ้าคุณอยากเข้าใจเอเชีย คุณควรเข้าใจประเทศไทย ถ้าคุณต้องการที่จะเข้าใจประเทศไทย ลองดูผลงานภาพถ่ายของทอม โพธิสิทธิ์”
ทอม-ธีระฉัตร โพธิสิทธิ์ เป็นช่างภาพแฟชั่นชาวไทยที่ส่งเสริมการสนทนาในประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านการถ่ายภาพแฟชั่นและศิลปะ
เขามองว่า โลกของศิลปะไม่ได้เป็นไปตามกฎเกณฑ์เสมอไป ส่วนหนึ่งที่ทำ ให้งานศิลปะมีความจำเป็นต่อวัฒนธรรมในวันนี้ คือผลงานที่ยอดเยี่ยมและศิลปินที่ไม่ยอมถูกกักขังตามแบบแผน ซึ่งตัดสินใจว่าจะสร้างสรรค์งานอย่างไร เมื่อไหร่ และในที่สุดจะแบ่งปันผลงานของพวกเขากับโลกได้อย่างไร
งานของทอมไม่จำเป็นต้องทำตามกฎเกณฑ์จริงหรือ?
“ด้วยความที่ผมอยู่เบื้องหลังการถ่ายภาพแฟชั่นของประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจะคอยตั้งคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดเดิมๆ ด้วยรูปภาพที่สร้างแรงสั่นสะเทือนและให้ความรู้สึกที่ลึกซึ้งอยู่เสมอ สะท้อนถึงปัญหาสิ่งแวด-ล้อม ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมไทยและโลกโดยรวม งานของผมจึงท้าทายสิ่งที่เป็นอยู่โดยการมองหามุมที่แตกต่างของวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ผู้คน ธรรมชาติ สัตว์ และประวัติศาสตร์ด้านศิลปะ”
เล่าถึงโครงการ “ศิลปะเพื่อมหาสมุทร”
โปรเจกต์ล่าสุดคือ โครงการ “ศิลปะเพื่อมหาสมุทร” เป็นโครงการที่จัดแสดงในงาน TEDx Bangkok ซึ่งใช้ศิลปะเพื่อให้ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ในทะเล มุ่งเน้นไปที่ปัญหาการอนุรักษ์ทางทะเลโดยการสร้างประติมากรรมใต้น้ำ ที่สามารถเป็นที่อยู่อาศัยในการเติบโตขึ้นใหม่ของปะการัง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างรายได้ช่องทางใหม่ให้แก่ชุมชน และทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการดำน้ำ”
คิดอย่างไรกับการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากในประเทศไทย
“ผมเป็นสมาชิกของ “The Flying Scouts” และมหาสมุทรพาโทรล องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ช่วยเหลือโครงการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์ เราเชื่อว่าคนรุ่นใหม่สนใจเรื่องการอนุรักษ์ แต่ยังขาดความเชื่อมโยงกับการดำรงชีวิต เราจึงต้องกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สร้างการรับรู้ และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้อื่นคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ตนเองได้”
ภาพถ่ายที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด “The Last Farewhale” 
“เป็นความคิดท้าทายมากที่จะถ่ายภาพนางแบบกับวาฬที่ตายแล้ว ทุกคนบอกผมว่าผมบ้า ซึ่งในตอนนั้นผมได้เริ่มเป็นอาสาสมัครของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อศึกษาวาฬบรูด้า บริเวณอ่าวไทยตอนบน คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเรามีวาฬในประเทศ ผมต้องการให้คนตระหนักว่าเรามีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลที่น่าทึ่งเหล่านี้ และช่วยผลักดันสถานะของวาฬบรูด้าให้เป็นสัตว์คุ้มครอง จึงออกมาเป็นภาพชุด The Last Farewhale”
โปรเจกต์ที่ทำให้คนรู้จักคุณในฐานะช่างภาพแฟชั่นสะท้อนปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม
“ปี 2560 ผมได้ร่วมงาน “Wonderfruit Festival” เทศกาลดนตรีและศิลปะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยสร้าง “The Little Monsters” ความยาว 3 เมตร และ “The Bigger Monsters” ซึ่งทำจากขยะทะเล และถูกนำมา  สร้างเป็นผลงานหลายชิ้นเพื่อจัดแสดงในงาน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องปัญหาขยะและปฏิกูลที่เกิดจากการบริโภคอย่างสิ้นเปลืองในชีวิตประจำวันของเรา”
มุมมองของคุณต่อการเป็นสมาชิกกลุ่ม LGBTQI 
“ด้วยเพศที่เป็นเช่นนี้ มันช่วยส่งเสริมผลงานของผมและโดยปกติผมเป็นมิตรมาก ซึ่งใครก็ตามที่ได้พูดคุยกับผมก็คิดแบบนี้ 
แนวคิดในการทำงานแบบทอม โพธิสิทธิ์
“ผมเชื่อว่าทุกคนเกิดมาพร้อมกับของขวัญอย่างน้อยหนึ่งชิ้น มันขึ้นอยู่กับเราที่จะใช้ของขวัญชิ้นนั้นในทางที่ดีหรือไม่ดี และผมแค่ต้องการใช้การถ่ายภาพเป็นเครื่องมือในการเชื่อมทุกสิ่งที่มีความเชื่อมโยงกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อสร้างความแตกต่างในโลกที่เราอาศัยอยู่ด้วยกันนี้”  

Did you know?
- ติดตามผลงานของ ทอม โพธิสิทธิ์ ได้ที่ www.tompotisit.com
- LGBTQI มาจากคำว่า Lesbian หญิงรักหญิง, Gay ชายรักชาย, Bisexua คนที่รักทั้งผู้หญิงและผู้ชาย, Transgender คนข้ามเพศ, Queer คนที่ยังไม่แน่ใจในเพศ และ Intersex คนที่ไม่สามารถระบุเพศทางกายภาพได้    
- ภาพถ่ายชุดอื่นๆ ของทอม โพธิสิทธิ์ เคยถูกนำเสนอในนิตยสาร NYI PhotoWorld Magazine (New York, USA) และ นิตยสาร Dramatic Photography (Thailand)
- แรงบันดาลใจภาพชุด The Last FareWhale เกิดจากข่าววาฬบรูด้าในอ่าวไทย ขนาดกว่า 11 เมตร เกยตื้นเสียชีวิตที่ จ.สมุทรปราการเมื่อเดือน ก.ค. 2557

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0