โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

จะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ถึงควร เปลี่ยนสายไฟใหม่ ได้แล้ว

MThai.com

เผยแพร่ 06 มิ.ย. 2562 เวลา 04.26 น.
จะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ถึงควร เปลี่ยนสายไฟใหม่ ได้แล้ว
แนะนำให้พบผู้เชี่ยวชาญด้านการซ่อมบำรุงไฟฟ้าโดยเฉพาะ เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง

ฟืนไฟไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เพราะประมาทเพียงครั้งเดียวก็สร้างความเสียหายมากมายเกินจะรับไหว เราเลยขอชวนคุณมาเช็กสุขภาพสายไฟ เพราะของใช้งานก็ย่อมมีการเสื่อมสภาพ หากเสียหายจะได้รีบซ่อมแซม หรือหากเสียหายมากเกินแก้ไขจะได้รีบ เปลี่ยนสายไฟใหม่ เพื่อความปลอดภัยของบ้านและครอบครัวที่คุณรัก

คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อดูวีดีโอ
คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อดูวีดีโอ

ดูวีดีโอ

1. ตรวจสายไฟด้วยตัวเองได้ไหม?

ในงานระบบไฟฟ้าภายในบ้านเบื้องต้น เราสามารถตรวจสอบเองได้ด้วยวิธีโดยง่าย สำหรับบ้านที่เดินสายไฟแบบเดินลอยติดกับผนัง โดยปกติมักมีอายุการใช้งานสายไฟอยู่ที่ 15-20 ปี เริ่มต้นก็เริ่มจากการตรวจเช็กสายไฟฟ้าส่วนต่างๆ ในบ้านด้วยสายตา ว่ามีสายไฟเส้นใดที่ถูกสัตว์หรือแมลงสาบแทะจนเปลือกนอกเสียหายหรือไม่ รวมทั้งรอยเปื่อย รอยแห้งกรอบ รอยไหม้ และรอยแตกร้าว ถ้าพบว่าแตกหักจนลวดทองแดงด้านในโผล่ออกมาควรเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย หรือหากรอยทั้งหลายเกิดเพียงที่ผิวเปลือกนอก อาจใช้ไขควงเช็กไฟแตะเช็กดูการรั่วของไฟฟ้าในจุดที่สงสัย แล้วทำการเปลี่ยนแปลงหรือซ่อมแซมให้เรียบร้อย

ส่วนบ้านที่เดินสายไฟแบบร้อยสายผ่านท่อ จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าสายไฟที่ต้องสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกอย่างการเดินลอย หากเกิดการชำรุดและแสดงอาการ ก็สามารถติดต่อช่างผู้เชี่ยวชาญเพื่อเปลี่ยนเส้นใหม่ด้วยการร้อยสายใหม่ผ่านทางท่อได้เลย

อุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นต่อมาที่เชื่อมต่อกับสายไฟโดยตรง นั่นคือเต้ารับและสวิตช์ไฟ การตรวจสอบเบื้องต้นก็ดูว่า ตัวแผงเต้ารับเริ่มหลวมหลุดจากผนังแล้วหรือยัง หรือมีรอยแตกร้าวหรือไม่ รวมทั้งอาการหลวมของรูเสียบปลั๊กบนเต้ารับ-ตัวสวิตช์ไฟ และตรวจเช็กว่ามีไฟฟ้าเข้าเต้ารับทุกจุดหรือไม่ ด้วยการใช้ไขควงเช็กไฟหรืออุปกรณ์สำหรับตรวจเช็กเต้ารับโดยเฉพาะที่หาซื้อได้ตามร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า

3. อย่าลืมเช็กมิเตอร์หน้าบ้านด้วย

ไม่ใช่แค่สายไฟฟ้าในบ้านเท่านั้น อีกส่วนประกอบหลักของงานระบบไฟฟ้าที่ต้องใส่ใจนั่นคือมิเตอร์ไฟฟ้าหน้าบ้าน ซึ่งสามารถตรวจเช็กได้ด้วยตัวเองว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ด้วยการปิดการใช้ไฟฟ้าทุกจุดในบ้านทั้งส่วนสวิตช์และปลั๊กไฟ หากมิเตอร์หน้าบ้านยังวิ่งอยู่แสดงว่ามีการรั่วของกระแสไฟฟ้า ก็ให้ตรวจสอบสภาพในจุดถัดมานั่นคือเครื่องตัดวงจรกระแสไฟฟ้ารั่ว ซึ่งจะมีปุ่ม Test หรือปุ่มทดสอบการตัดไฟ ซึ่งในภาวะปกติ ไฟจะถูกตัดอัตโนมัติเมื่อกดปุ่มนี้ แต่หากเครื่องไม่มีการตอบสนองต่อการกดปุ่ม ควรให้ช่างผู้ชำนาญการมาตรวจสอบต่อว่าเกิดจากสาเหตุใด

หากอายุการใช้งานของบ้านหรือสายไฟเก่าแก่เกินกว่า 20 ปี หรือได้ลองลงมือเช็กเริ่มพบว่าสายไฟส่วนใหญ่เริ่มมีปัญหาทั้งเรื่องรอยแตก-รอยเปื่อยที่เกิดจากการเสื่อมสภาพการใช้งาน รวมทั้งสายไฟแบบเก่าที่ยังไม่เคยเดินสายดิน ก็ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนสายไฟใหม่ทั้งบ้านแบบยกเซ็ต

ซึ่งคำถามต่อมาก็คือว่า ควรจะเดินสายไฟแบบไหนดี แบบเดินลอยติดผนังเหมือนสมัยก่อนหรือร้อยในท่อแบบบ้านลอฟต์ดี? การเดินสายไฟฟ้าทั้งสองแบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป อย่างการเดินลอยติดผนังมีข้อดีตรงที่สังเกตเห็นสายไฟที่อาจเสียหาย และซ่อมแซมแก้ไขได้ง่าย หากแต่ต้องใช้ฝีมือในการเดินสายไฟ และจุดที่หักเลี้ยวตามแนวสายไฟเป็นจุดเสี่ยงที่ทำให้สายไฟเปราะหักได้ง่ายขึ้น ส่วนการร้อยสายไฟในท่อมีข้อดีตรงที่สามารถรวบรวมสายไฟฟ้าหลายๆ สายเก็บให้เรียบร้อยภายในท่อเดียว ตัวท่อเป็นเปลือกชั้นนอกสุดที่ช่วยถนอมสายไฟจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งตัวท่อก็เลือกได้ทั้งท่อ PVC และท่อโลหะที่แข็งแรงกว่า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0