ทุกวันนี้เราคุ้นเคยกับ Telemedicine ทางเลือกใหม่ในการหาหมอยุคโควิด -19 กันมากขึ้น หลายหน่วยงานเริ่มมีการนำเทคโนโลยีด้าน Healthtech มาใช้อย่างจริงจัง เพื่อตอบสนองความต้องการอย่างเร่งด่วนจนคาดการณ์ได้ว่า นี่อาจเป็นแนวทางรับบริการทางการแพทย์แบบใหม่ที่ผู้คนจะนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอนาคต
และเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างทันท่วงที หน่วยงานทางการแพทย์จำเป็นต้องเร่งศึกษาและเริ่มนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ เริ่มที่เครื่องมือใกล้ตัวที่ทุกคนใช้กันเป็นประจำอยู่แล้ว อย่าง LINE Official Account (LINE OA) ตัวช่วยสมบูรณ์แบบที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบ Telemedicine ให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยกันได้แบบเรียลไทม์ผ่าน LINE ปรึกษากันได้อย่างใกล้ชิดและต่อติดระหว่างกันได้ไม่สะดุด
นอกจากจะช่วยลดอัตราเสี่ยงรับเชื้อเพิ่มจากการเดินทาง ลดความหนาแน่นของผู้ป่วยในโรงพยาบาล และลดปัญหาผู้ป่วยอื่นติดเชื้อซ้ำจากสถานการณ์การแพร่ระบาดแล้ว ยังสร้างความประทับใจในบริการที่สะดวก รวดเร็ว และคล่องตัว โดยผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม แค่ใช้เครื่องมือสื่อสารที่ใช้เป็นประจำอยู่แล้วอย่าง LINE เท่านั้น
🏥บทบาทของ LINE OA ในบริการสาธารณสุข 🏥
นอกจากเป็นช่องทางในการพูดคุย ปิดการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจเล็กใหญ่ รวมถึงเป็นช่องทางการสื่อสารให้กับหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ องค์กรสาธารณสุขหรือสถานพยาบาลต่างๆ มาโดยตลอดแล้ว
LINE Official Account หรือ LINE OA ยังสามารถเป็นเครื่องมือช่วยยกระดับบริการด้านสาธารณสุขของหน่วยงานทางการแพทย์ สู่การเป็น HealthTech แบบจริงจัง สร้างรูปแบบบริการที่ทันสมัย ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้รวดเร็วทันใจ และมีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับคนไข้ เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้สะดวก ทันท่วงที
ตัวอย่างของหน่วยงานการแพทย์ไทยในปัจจุบัน ที่มีการประยุกต์ใช้ LINE OA มายกระดับการให้บริการ เพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่ Siriraj Connect (@sirirajconnect) โดยโรงพยาบาลศิริราช ใช้ LINE OA เป็นช่องทางเชื่อมต่อสู่บริการ Telemedicine ในแอปฯ Siriraj Connect เพื่อให้บริการผู้ป่วยที่มีอยู่จำนวนมาก ลดความแออัดในโรงพยาบาล
ทั้งนี้ ผู้ป่วยสามารถพูดคุยสอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับบุคลากรผ่านแชทได้โดยตรง จองคิวออนไลน์ ตรวจสอบสิทธิการรักษา เช็คตารางแพทย์ รวมถึงลงทะเบียนบริจาคเงิน บริจาคเลือด และขอความช่วยเหลือฉุกเฉินผ่าน Rich Menu ใน LINE ได้อย่างรวดเร็ว
หรือการประยุกต์ใช้ LINE OA เพื่อยกระดับการบริการชุมชนอย่างแท้จริง อย่าง Home Isolation – KKU (@homeisolation) ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ใช้ LINE OA เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อผู้ป่วยกับโรงพยาบาลในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งโดดเด่นมากกับการทำ Home Isolation ด้วยระบบแชทบอทที่เป็นมิตรกับผู้ใช้บริการ โดยผู้ใช้เพียงกรอกข้อมูลสุขภาพเพื่อให้แพทย์และโรงพยาบาลติดตามสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
อีกทั้งยังเข้าใจพฤติกรรมคนไทย ด้วยการเปิดใช้ฟีเจอร์ LINE OA Call เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถโทรหา KKU ได้โดยตรง
นอกจากหน่วยงานภาครัฐแล้ว โรงพยาบาลเอกชนยังหันมาใช้ LINE OA เพื่อต่อยอดการบริการให้ลูกค้าพึงพอใจและเป็นประตูเชื่อมสู่เทคโนโลยีอื่นๆ ที่นำมาใช้ร่วมกันเพื่อตอบโจทย์คนไข้ได้อย่างครบครัน
อาทิเช่น Praram 9 Hospital (@praram9hospital) ของโรงพยาบาลพระราม 9 ที่เลือกใช้ LINE OA มาเป็นช่องทางในการลงทะเบียนรับวัคซีนในรูปแบบ E-coupon ตรวจสอบสถานที่ที่ให้บริการ Hospitel รวมถึงเป็นช่องทางเข้าถึงบริการ Telemedicine ด้วยการโทร VDO Call ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ผ่านแอปฯ 9CARE
นอกจากฟีเจอร์ต่างๆ ของ LINE OA ที่พร้อมรองรับ ยกระดับการให้บริการของหน่วยงานการแพทย์ได้แล้ว MyShop ยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่น่าสนใจ ที่หน่วยงานการแพทย์สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อต่อยอด ทำให้คนไข้เข้าถึง เข้าใช้งานบริการได้ง่ายขึ้น เช่น การสร้างรายนามแพทย์ เพื่อให้คนไข้เลือกจองนัดหมายได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เป็นต้น
พร้อมจุดเด่นของเครื่องมือ MyShop ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบการชำระเงินต่างๆ รวมถึง Rabbit LINE Pay ได้ อำนวยความสะดวกให้คนไข้ สร้างประสบการณ์บริการทางการแพทย์ทีเข้าถึง เข้าใช้ง่ายไปในตัว
🏥เตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องการเริ่มใช้งาน LINE OA 🏥
ทั้งนี้ การใช้งานของทั้ง 3 กรณีตัวอย่างบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า วันนี้ องค์กรสาธารณสุขของไทยเข้าใกล้กับคำว่า HealthTech ได้ไม่ยาก ด้วยเทคโนโลยีจาก LINE OA แต่สิ่งที่สำคัญ คือ การเตรียมพร้อม หรือเตรียมตัวก่อนเริ่มใช้งาน เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
(1) องค์กรต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนก่อนว่า ต้องการให้ LINE OA ทำหน้าที่หรือมีบทบาทอะไร อาทิ ใช้เป็นศูนย์กลางข้อมูลการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ เป็นศูนย์กลางเข้าถึงบริการต่างๆ ของรพ. เหล่านี้สามารถทำได้ด้วยฟีเจอร์เบื้องต้นบน LINE OA
หรือหากต้องการใช้เป็นด่านหน้าเพื่อเข้าสู่ระบบหรือแอปฯ ขององค์กร เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อผู้ป่วยกับรพ.ในเครือ ซึ่งต้องอาศัยการเชื่อมต่อ การพัฒนาที่ซับซ้อน เพราะวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน จะนำไปสู่การบริหารจัดการที่แตกต่างกัน
(2) การจัดสรรทรัพยากร ทั้งทรัพยากรบุคคลและงบประมาณในการบริหาร LINE OA ซึ่งอาจเป็นไปได้ 3 ทาง คือ
👨⚕จัดสรรทีมงานในองค์กรเพื่อเรียนรู้การใช้งานฟีเจอร์ ฟังก์ชั่นต่างๆ ของ LINE OA เช่น ขั้นตอนการสร้าง LINE OA การสร้าง Rich Menu เมนูลัดเพื่อลิงก์ไปยังบริการต่างๆ ของหน่วยงาน การตั้งข้อความตอบกลับอัตโนมัติ เป็นต้น โดยสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง ที่นี่ หรือดูข้อมูลรายละเอียดผ่านเว็บไซต์ LINE for Business
👨⚕หากมีบุคลากรด้านไอที นักพัฒนา สามารถขอคำปรึกษา พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้การใช้งาน LINE API เชื่อมต่อระบบของรพ. กับ LINE OA ในเชิงเทคนิคหรือเชิงลึกได้ที่คอมมิวนิตี้ LINE Developers Group Thailand
👨⚕กรณีที่ไม่มีทรัพยากรบุคคลมากพอในการสร้างระบบเพิ่มเติมที่ค่อนข้างซับซ้อน เพื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลของหน่วยงาน ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ สามารถตรวจสอบรายชื่อและติดต่อบริษัทนักพัฒนาที่เป็นพาร์ทเนอร์ของ LINE
อาทิ Yellow Idea เพื่อมาช่วยพัฒนาระบบ เชื่อมต่อ LINE API สร้างบริการในรูปแบบ HealthTech ที่ทันสมัย หรือ AIYA เพื่อมาช่วยพัฒนาระบบ Chatbot ตอบคำถามเบื้องต้นจากคนไข้ เหมาะกับการให้บริการในยุคนี้ได้เช่นกัน
ดูรายชื่อบริษัทนักพัฒนาพันธมิตรของ LINE ได้ ที่นี่
ในยุคที่ผู้บริโภคเริ่มปรับตัวและเข้าใจการใช้เครื่องมือดิจิทัลมากขึ้น ถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานด้านสาธารณสุข และโรงพยาบาลต่างๆ จะปรับตัวเข้าสู่ HealthTech ไม่เพียงเพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้งาน แต่ยังเป็นการยกระดับองค์กรสู่ความทันสมัย และยังเป็นการพัฒนาบริการและองค์กรให้เดินหน้าเติบโตได้ในยุคดิจิทัล
โดย LINE พร้อมเป็นแพลตฟอร์มรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งสนับสนุนการพัฒนาบริการทางการแพทย์ไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มที่
#LINEOA #HealthTech #LINEforBusiness