โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

งานวิจัยชี้ 1 ใน 8 ผู้ป่วยโควิด จะเจอภาวะ Long Covid ในระยะยาว

ทันข่าว Today

เผยแพร่ 07 ส.ค. 2565 เวลา 11.00 น. • ทันข่าว Today
Highlight

อาการ Long Covid จากงานวิจัยต่างประเทศเผยแพร่ใน The Lancet ระบุว่าผู้ป่วยลองโควิดที่ตรวจพบจะมีอาการ กลุ่มอาการทั่วโลกของ Long Covid ได้แก่ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ปวดกล้ามเนื้อ สูญเสียการได้กลิ่นและรู้รส รวมทั้งภาวะเหนื่อยล้าอ่อนแรง และบางคนมีอาการทางจิตใจ เช่น นอนไม่หลับ สมองล้า วิตกกังวล.. หมอธีระ ระบุไม่ติดเชื้อคือวิธีหลีกเลี่ยงการเป็น Long Covid ที่ดีที่สุด

20220807-b-01.jpg
20220807-b-01.jpg
20220807-b-02.jpg
20220807-b-02.jpg

ผู้ติดเชื้อโควิดทั่วโลกในปัจจุบัน ทะลุ 500 ล้านคนแล้ว นับตั้งแต่พบการระบาดครั้งแรก สร้างความกังวลถึงภาวะอาการโควิดระยะยาว หรือ Long Covid ในกลุ่มผู้ติดเชื้อ
ล่าสุดการศึกษาชิ้นล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา พบว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ราว 1 ใน 8 คน มีอาการโควิดระยะยาว หรือ Long Covid อย่างน้อยหนึ่งอาการ ซึ่งเป็นการวิจัยชิ้นแรกที่มุ่งศึกษาผลระยะยาวจากโควิด-19 และยังเป็นการวิจัยชิ้นสำคัญที่ศึกษาผลกระทบในกลุ่มผู้ไม่ติดเชื้อด้วย
ทีมวิจัยสอบถามชาวเนเธอร์แลนด์ว่า 76,400 คน ให้กรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะอาการโควิดระยะยาว 23 อาการ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2020 ถึงเดือนสิงหาคม 2021 ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละรายจะต้องส่งข้อมูลต่อเนื่องถึง 24 ครั้ง
ในช่วงระยะยาวดังกล่าว มีผู้ที่อยู่ในการสำรวจมากกว่า 4,200 คน ที่พบติดโควิด-19 คิดเป็น 5.5% และมากกว่า 21% ในกลุ่มผู้ติดเชื้อในการสำรวจนี้ มีอาการโควิดระยะยาวอย่างน้อยหนึ่งอย่าง ในระยะ 3-5 เดือนหลังจากพบติดเชื้อโควิด-19
อย่างไรก็ตาม เกือบ 9% ในการสำรวจ ซึ่งไม่พบติดโควิด-19 กลับพบกลุ่มอาการ Long Covid เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน นั่นเท่ากับว่า 1 ใน 8 หรือประมาณ 12.7% ของผู้ที่ติดโควิด เผชิญกับภาวะอาการ Long Covid ในระยะยาว
นอกจากนี้ ในการวิจัยนี้ยังเก็บข้อมูลอาการผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังติดเชื้อ เพื่อให้นักวิจัยสามารถระบุได้ถึงจุดเชื่อมโยงของอาการที่เกี่ยวกับโควิด-19 ได้
ในการศึกษานี้ พบว่า กลุ่มอาการทั่วโลกของ Long Covid ได้แก่ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ปวดกล้ามเนื้อ สูญเสียการได้กลิ่นและรู้รส รวมทั้งภาวะเหนื่อยล้าอ่อนแรง อย่างไรก็ตาม ในการศึกษานี้ ยังไม่ได้รวมถึงกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งเดลตา และโอมิครอน
อแรนกา บัลเลอร์ริง จาก Dutch University of Groningen ผู้เขียนวิจัยนี้ บอกว่า ภาวะโควิดระยะยาวเป็น “ปัญหาเร่งด่วนกับยอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น” เมื่อดูจากภาวะอาการของกลุ่มที่ไม่พบติดเชื้อในการสำรวจ กับกลุ่มที่ติดเชื้อโควิด-19 ทำให้เราสามารถอธิบายอาการที่อาจเป็นผลมาจากโรคไม่ติดต่อทางสุขภาพอันเกี่ยวเนื่องกับโรคระบาด เช่น ความเครียดที่เกิดจากข้อจำกัดด้านสาธารณสุขและความไม่แน่นอนต่าง ๆ ได้
จูดิธ รอสมาเลน ผู้เขียนวิจัยอีกราย แนะว่า การศึกษาวิจัยที่ต่อยอดเกี่ยวกับภาวะอาการ Long Covid ควรพิจารณาปัจจัยอาการด้านสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล ภาวะสมองล้า ล้า หรือ brain fog นอนไม่หลับ และภาวะเหนื่อยล้าไม่สบายตัวหลังออกแรงเพียงเล็กน้อย
ด้านคริสโตเฟอร์ ไบรท์ลิงก์ และเรเชล เอแวนส์ ผู้เชี่ยวชาญจาก Leicester University ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้ บอกว่าการศึกษานี้เป็นก้าวย่างที่สำคัญจากการวิจัยภาวะ Long Covid ชิ้นก่อน ๆ เพราะมีการศึกษาถึงผลกระทบด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ที่ไม่ติดเชื้อเข้าไปด้วย
วิธีป้องกัน Long Covid ที่ดีที่สุดคือการไม่ติดเชื้อ Covid
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ หมอธีระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เมื่อ 6 ส.ค. 2565 เกี่ยวกับภาวะ Long Covid ว่า
“ปัจจุบันมีความรู้ทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้นว่า ภายหลังจากติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 แล้ว จะเกิดพยาธิสภาพในร่างกาย ทำให้อวัยวะต่างๆ และกลไกการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย “ผิดปกติไป” ไม่ว่าจะเป็นการถูกทำลายของเซลล์ในระบบต่างๆ ของร่างกายจากการติดเชื้อ (tissue damage), การมีเชื้อหรือชิ้นส่วนของเชื้อคงค้างอยู่ในเซลล์และก่อให้เกิดกระบวนการอักเสบต่อเนื่อง (persistent viral infection), การกระตุ้นให้เกิดภูมิต่อต้านตนเอง (autoimmunity), และ/หรือ การเปลี่ยนแปลงของสมดุลเชื้อโรคในอวัยวะต่างๆ เช่น ทางเดินอาหาร จนรบกวนการทำงานของอวัยวะหรือระบบนั้น (dysbiosis)
จนนำไปสู่ผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ทั้งในระยะแรกที่ติดเชื้อ และเมื่อเวลาผ่านไปในระยะยาวได้ ดังที่เห็นในภาวะป่วยแบบ Long Covid ทั่วโลก”
ล่าสุดทาง Conway EM และคณะ ได้ทบทวนความรู้ เผยแพร่ในวารสาร Nature Reviews Immunology เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา
โฟกัสเรื่องผลของการติดเชื้อโรคโควิด-19 ต่อการแข็งตัวของเลือด โดยทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในร่างกาย ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่ตามนิ้วมือนิ้วเท้า แขนขา ไปจนถึงการอุดตันในอวัยวะสำคัญ ได้แก่ สมอง หัวใจ ปอด ไต และนำไปสู่ความพิการและการเสียชีวิตได้
การป้องกัน Long Covid ได้ดีที่สุดคือ “การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ”
การฉีดวัคซีนครบโดส จะช่วยลดความเสี่ยงได้ราว 15%
“…ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอนะครับ สำคัญมาก…” รศ.นพ.ธีระ กล่าว
อ้างอิง :
Conway EM et al. Understanding COVID-19-associated coagulopathy. Nature Reviews Immunology. 5 August 2022.
เอเอฟพี, VOA
Tag

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0