โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

Others

MEA ครบรอบ 64 ปี ก้าวสู่ความท้าทายใหม่ CHALLENGING THE FUTURE สร้างสรรค์นวัตกรรมขับเคลื่อนพลังงานเพื่อชีวิตคนเมือง

The MATTER

อัพเดต 08 ส.ค. 2565 เวลา 09.36 น. • เผยแพร่ 05 ส.ค. 2565 เวลา 23.30 น. • Branded Content

พลังงานไฟฟ้ากับวิถีชีวิตคนเมือง เป็นสองสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ ยิ่งในปัจจุบันที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้า MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง ได้เดินทางมาครบรอบ 64 ปี จึงได้ตั้งยุทธศาสตร์ใหม่ในการขับเคลื่อนองค์กรตลอดปี 2566 – 2580 พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านเพื่อจะก้าวสู่ความท้าทายครั้งใหม่ตามแนวทาง 64th MEA CHALLENGING THE FUTURE

โดยตั้งเป้าหมายพัฒนาระบบไฟฟ้ารองรับ Renewable Energy และ EV สร้างความยั่งยืนขององค์กร มุ่งสู่การเป็น Green Organization พร้อมนำร่องระบบ Smart Metro Grid ควบคุมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะพื้นที่เศรษฐกิจใจกลางเมือง พัฒนางานบริการสู่ระบบ Fully Digital Service อำนวยความสะดวกประชาชนด้วยนวัตกรรม ด้วยวิสัยทัศน์ Energy for city life, Energize smart living ขับเคลื่อนพลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร

ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา MEA ครบรอบ 64 ปี ในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 นี้ นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA จึงได้เปิดเผยแนวทางและแผนดำเนินงานในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ขับเคลื่อนระบบพลังงานอัจฉริยะ ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างเราๆ ได้รับประโยชน์สูงสุดในทุกมิติ

ผู้ว่าการ MEA เริ่มต้นกล่าวถึงทิศทางเป้าหมายขององค์กร โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย

1.ระยะสั้น ปี 2566 - 2568 Strengthen Smart Energy
มุ่งเน้นการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อรองรับการเริ่มเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) เพื่อตอบสนองการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้ารองรับ Renewable Energy และ EV ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยกระดับการให้บริการที่เป็น Digital Service พร้อมสร้างความยั่งยืนขององค์กรตามแนวทาง Global Reporting Initiative (GRI) ที่สอดคล้องกับองค์การสหประชาชาติ

2.ระยะกลาง ปี 2569 - 2570 Smart Utility
มุ่งสู่การให้บริการแบบ Convergence เชื่อมต่อบริการกับหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน รองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกิจการไฟฟ้า จัดตั้ง Trader Unit และพัฒนา Virtual Utility เพื่อรองรับการซื้อขายไฟฟ้า เสริมสร้างพนักงานให้มีขีดความสามารถหลากหลาย รองรับยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่จะให้บริการประชาชนต่อไปในอนาคต พร้อมทั้งมุ่งสู่การเป็น Green Organization

3.ระยะยาว ปี 2571 - 2580 Sustainable Energy Utility
มุ่งสู่การให้บริการในรูปแบบ Co-Creation Service เพื่อให้ลูกค้าสามารถดีไซน์รูปแบบบริการของตนเอง เป็นองค์กรต้นแบบด้านนวัตกรรม (Organization of Innovation) สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนจากการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการจัดตั้งบริษัทในเครือ และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็น International Cooperation on Energy Business

จากสถานการณ์การใช้พลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป ที่มีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 MEA จึงได้ดำเนินการตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าให้เหมาะสม โดยในปี 2565 สถิติความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดประจำปี (Maximum Demand) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน จำนวน 9,442.22 เมกะวัตต์ มีจำนวนครั้งที่ไฟฟ้าขัดข้องเฉลี่ย (SAIFI) เท่ากับ 0.363 ครั้ง/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/6 เดือน และระยะเวลาที่ไฟฟ้าขัดข้องเฉลี่ย (SAIDI) เท่ากับ 10.336 นาที/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/6 เดือน (ข้อมูลสะสมถึงเดือน มิถุนายน 2565)

ในด้านสถิติการจำหน่ายไฟฟ้าของ MEA ในปี 2565 รวมทุกกลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มบ้านอยู่อาศัย กลุ่มธุรกิจ กลุ่มอุตสาหกรรม และกลุ่มราชการ-องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร รวมจำนวน 4,165,131 ราย พบว่า MEA มีหน่วยพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสะสม จำนวน 50,280 ล้านหน่วย เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 (จำนวน 49,050 ล้านหน่วย) จะคิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.51 โดยจากสถิตินี้ พบว่าผู้ใช้ไฟฟ้าในกลุ่มธุรกิจ มีอัตราการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน คือ จำนวน 19,174 ล้านหน่วย เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 (จำนวน 18,347 ล้านหน่วย) จะคิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.51 ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเริ่มฟื้นตัวมากขึ้นของผู้ใช้ไฟฟ้าในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ผ่านมา

เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น MEA จึงได้ยกระดับศักยภาพการดำเนินงาน ผ่านโครงการ Smart Metro Grid ในพื้นที่นำร่อง 9 ตารางกิโลเมตร บริเวณถนนพระราม 4 พญาไท เพชรบุรี และรัชดาภิเษก มีการติดตั้ง Smart Meter จำนวน 33,265 ชุด ทำให้สามารถเชื่อมโยงการบริหารจัดการด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าได้ผ่านระบบ Online รวมถึงสามารถประมวลผลวิเคราะห์ เพื่อการวางแผนขยายหรือปรับปรุงโครงข่ายไฟฟ้าได้

นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังประกอบด้วยการติดตั้งระบบบริหารจัดการที่มีการรับส่งข้อมูลได้แบบสองทาง (Two-Way Communication) มีคุณสมบัติในการ Monitor และแสดงผลได้ทันที (Real-Time) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ไฟฟ้าในการบริหารจัดการด้านพลังงาน และเป็นเครื่องมือสนับสนุนการวิเคราะห์บริเวณที่เกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้องเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าแก้ไขได้อย่างตรงจุดและรวดเร็วมากขึ้น โดยทั้งหมดมีแผนดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2565 นี้

เพื่อตอบรับกับกระแสสิ่งแวดล้อม MEA จึงได้ส่งเสริมการใช้ Electric Vehicle (EV) ผ่านการศึกษาวิจัยพัฒนาระบบสถานีอัดประจุไฟฟ้า การเปลี่ยนระบบรถยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งในประเภท EV และ E-Bus การจัดทำ MEA EV Application สำหรับการชาร์จ และการเข้าถึงข้อมูลการใช้งานต่างๆ ของผู้ใช้งาน ไปจนถึงการส่งมอบ และติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าทั้งภายใน และภายนอกองค์กร

ล่าสุด MEA ได้ดำเนินโครงการมหานครสดใส ชาร์จไฟกับ กฟน. ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ในการติดตั้งหัวชาร์จ MEA EV จำนวน 100 หัวชาร์จ ในพื้นที่สาธารณะของกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ EV ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ด้านโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งเป็นโครงการที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก MEA ได้วางแผนดำเนินโครงการรวมระยะทางทั้งสิ้น 236.1 กิโลเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2570 โดยปัจจุบัน มีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 62 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่โครงการนนทรี รวมถึงบางส่วนของถนนสายสำคัญต่างๆ เช่น ถนนสีลม ถนนสุขุมวิท ถนนพหลโยธิน ถนนพญาไท ถนนพระราม 1 ถนนราชดำริ ถนนราชวิถี ถนนราชปรารภ ถนนศรีอยุธยา ถนนสวรรคโลก ถนนสาธุประดิษฐ์ และสว่างอารมณ์ เป็นต้น

และในส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ มีจำนวนทั้งสิ้น 174.1 กิโลเมตร เช่น โครงการพระราม 3 โครงการรัชดาภิเษก และแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่รองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน

สำหรับเทรนด์การใช้ชีวิตแบบ Smart Living ของคนเมืองที่กำลังเกิดขึ้น MEA ได้ตอบรับด้วยแผนที่จะพัฒนาระบบบริการทั้งหมด ให้เป็น Fully Digital Service ภายในปี 2568 โดยในปัจจุบัน MEA ได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการผ่านระบบ e-Service ในทุกช่องทาง ตั้งแต่ MEA Smart Life Application ที่จะเพิ่มฟังก์ชันการแจ้งเตือนไฟฟ้าดับบริเวณกว้างให้ผู้ได้รับผลกระทบได้รับรู้ในรูปแบบรายบุคคล รวมถึงการเตรียมพร้อมฟังก์ชันรองรับ Smart Meter ที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูล และบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าได้ในรูปแบบ Real-Time

นอกจากช่องทางการรับบริการด้านระบบไฟฟ้าที่มีมากขึ้นแล้ว MEA ยังมีบริการอื่นๆ ที่เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า อย่างการสมัครรับ MEA e-Bill ให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารับเอกสารในรูปแบบออนไลน์ ผ่านทาง SMS หรือ E-mail เพื่อลดการใช้กระดาษ รวมถึงระบบ MEA Point ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถรับสิทธิพิเศษ และโปรโมชั่นต่างๆ จาก MEA

MEA ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้มีความมั่นคง เพียงพอ ปลอดภัย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้านพลังงาน และคิดค้นนวัตกรรมการบริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงมีความพร้อมที่จะร่วมบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วน

เพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้า ให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้าด้วยความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติต่อไป

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0