โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

วิกฤตช้างป่า : การขยายตัวของประชากรช้าง และพื้นที่ทับซ้อนกับมนุษย์

WWF-Thailand

เผยแพร่ 07 ก.พ. 2562 เวลา 17.01 น.

 

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสัตว์ป่า และมนุษย์ กำลังเป็นข้อวิตกกังวลอย่างมากในกลุ่มนักอนุรักษ์ และหน่วยงานบริหารราชการชุมชน ในพื้นที่ป่าซึ่งติดกับชายขอบพื้นที่เกษตรในหลายจังหวัดของประเทศไทย เนื่องจากมีเหตุการณ์สัตว์ป่าเข้าบุกรุก ทำลาย และขุดหาพืชผลในแปลงปลูกของเกษตรกรไปเป็นอาหาร สร้างความเสียหายแก่ผลผลิต นำไปสู่ความขัดแย้ง และการต่อสู้กันระหว่างคนและสัตว์ป่า

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย ในฐานะองค์กรอนุรักษ์ จึงเข้าหารือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อร่วมมองหาวิธีการที่จะลดทอนความขัดแย้ง บริหารจัดการปัญหาต่างๆ ด้วยหลักการและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้คน และสัตว์ป่าสามารถดำรงชีวิตอยู่ด้วยกันได้บนวิถีแห่งความสุขที่ยั่งยืน

การติดปลอกคอช้าง เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ถูกนำเข้ามาใช้ในแผนขั้นต้น เพื่อให้ปลอกคอเป็นเครื่องส่งสัญญาณติดตามตัวช้าง และมนุษย์ได้รับทราบเส้นทางการเดินของฝูง และมองหาวิธีการบริหารจัดการที่จะไม่ทำให้ช้างกับคนต้องเกิดปัญหาต่อกัน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคมที่ผ่านมา ทีมงานสัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ รวมทั้งทีมช่างภาพสารคดี ได้ลงพื้นที่ติดปลอกคอช้างบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ถือเป็นการติดปลอกคอช้างครั้งแรกในประเทศไทย และถือเป็นนิมิตรหมายอันดีในการติดตาม ขยายผลเพื่อนำไปสู่การออกแบบกลยุทธ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและช้าง อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

“ชุดปลอกคอสัญญาณดาวเทียม โดยมากมักนำมาใช้กับสัตว์ที่เคลื่อนที่ได้ในระยะไกล และหาตัวได้ยาก โดยสัญญาณจะถูกส่งไปยังระบบดาวเทียม โดยมีทั้งระบบจีเอสเอ็ม และ อิเรเดียม และส่งผ่านข้อมูลลงมายังแม่ข่ายภาคพื้นทีดิน ก่อนจะส่งต่อมายังผู้รับ โดยอุปกรณ์นี้ได้มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เพราะให้ความแม่นยำความแม่นยำ และผู้ใช้งานจะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่ายผ่านระบบอินเทอร์เนต คือ อ่านค่าตำแหน่งของปลอกคอช้างได้ และรู้พิกัดของช้างที่ค่อนข้างแม่นยำ” ดร.ศุภกิจ วินิตพรสวรรค์ หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ กรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าว

 เพราะเราเชื่อมั่นว่า พลังของการทำงานร่วมกัน ย่อมนำไปสู่ทางที่ถูกต้อง และยั่งยืนในการแก้ปัญหาวิกฤตช้างป่า กับความขัดแย้งกับมนุษย์ ติดตามอ่านเรื่องราวการทำงานของเราได้ที่นี่ http://www.wwf.or.th/?uNewsID=341071

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0