โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

งานไหว ใจไม่ไหว : 7 วิธี รับมือเรื่องผิดใจกับเพื่อนร่วมงาน

Mango Zero Exclusive

เผยแพร่ 04 มิ.ย. 2562 เวลา 07.54 น. • MangoZero LINE Today

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราใช้ชีวิตในที่ทำงานไปเกินกว่าครึ่งหนึ่งในหนึ่งอาทิตย์ และผู้คนในออฟฟิศที่ทำงานนี่ล่ะที่เราทั้งเจอพูดคุย และมีปฏิสัมพันธ์มากที่สุด บางทีเจอบ่อยกว่าครอบครัวและเพื่อนสนิทซะอีก ในบางครั้งเพื่อนที่ทำงานอาจกลายเป็นเพื่อนสนิทซี๊ปึ้กแบบที่เราตามหามานานแต่บางครั้ง เพื่อนร่วมงานสุดรักอาจกลายเป็นเพื่อนแค้นสุดร้าย ที่อาจเกิดเหตุทะเลาะ ต่อสู้ ทั้งในเรื่องงงานและเรื่องส่วนตัวจนเป็นผลกับบรรยากาศการทำงาน และประสิทธิภาพในการทำงานที่เราอาจไม่รู้ตัว

ผิดใจกันอย่านินทา

เรื่องกอสสิปในออฟฟิศอาจส่งผลมาเร็วอย่างไม่คาดคิด จริงอยู่ว่าบุคคลที่เราเล่าให้ฟังนั้นอาจไว้ใจได้ แต่เราไม่รู็ว่าการพูดคุยนินทาในออฟฟิศนั้นมีใครได้ยินบ้าง นอกจากจะส่งผลให้เราดูแย่แล้ว ยังทำให้บรรยากาศการทำงานโดยรอบเสียอีกต่างหาก ถ้าอยากบ่นทางเลือกแรกอาจไม่ใช่ในออฟฟิศ หรือคนในออฟฟิศเดียวกัน กลับบ้านไปบ่นให้ครอบครัว หรือโทรหาเพื่อนสนิทจะดีกว่า

อย่ารอจนเป็นเรื่องใหญ่

หากเกิดเรื่องขุ่นเคืองไม่พอใจกัน อย่าลืมว่าเมื่อมาทำงานเราต้องใช้หลักเหตุผลผู้ใหญ่ในการตัดสินใจหาสาเหตุแล้วรีบคุย รีบเคลียร์ จะได้กลับมาทำงานได้เต็มที่ อย่ารอให้เรื่องเกิดขึ้นซ้ำๆ จนมีศัตรูในที่ทำงาน

คุยกันต่อหน้า

อย่างที่บอกว่าให้รีบคุยรีบทำความเข้าใจกัน ทางที่ดีควรพูดกันต่อหน้า การพิมพ์คุยกันหรือโทรศัพท์ อาจทำให้คุณตีความความรู้สึกได้ไม่ดีเท่าการคุยต่อหน้า และช่วยให้คุณเข้าใจกันมากขึ้น

หาข้อตกลงร่วมกัน

ลองคุยและถกเถียงจนกว่าจะหาตรงกลาง จุดร่วมที่จะช่วยแก้ปัญหา ถ้าหากปัญหาที่เกิดคือการทำงานของทั้งสองฝ่าย เพราะยังไงก็ตามเราก็ย่อมให้งานออกมาดีที่สุดสำหรับบริษัท และอยากมีบรรยากาศการทำงานที่ดี ลองทำความเข้าใจและหาข้อตกลงร่วมกันให้ได้เพื่อความสุขในที่ทำงาน

เปิดใจและฟัง

ตอนทำความเข้าใจกันอย่าลืมเป็นผู้ฟังที่ดีเปิดใจและยอมรับด้วย

ใจเย็นๆ

อย่าทำเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ อย่าใช้คำพูดรุนแรงเกินเรื่องหรือพลั้งปากพูดสิ่งที่ไม่ควรพูดออกไป ค่อยๆ คิดและปรับอารมณ์ให้เย็นลง

เรียนรู้จากข้อโต้แย้งและนำมาปรับใช้

การผิดใจกับเพื่อนร่วมงานหนึ่งคนว่าแย่แล้ว คงจะไม่ดีถ้าเกิดเหตุการณ์ซ้ำกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นอีก เมื่อเคลียร์และทำความเข้าใจกันเรียบร้อย อย่าลืมนำบทเรียนและสิ่งที่พูดคุยกันมาปรับใช้กับตัวเองเป็นประสบการณ์การทำงานที่จะไม่ก่อปัญหาอีกในคราวหน้า

ขอบคุณที่มา : Bustle

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0