โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“ศาสนา” กับ “ชาวบ้าน” ใครต้องเกรงใจใคร?

TheHippoThai.com

อัพเดต 06 ต.ค. 2561 เวลา 14.21 น. • เผยแพร่ 06 ต.ค. 2561 เวลา 01.00 น.

“ศาสนา” กับ “ชาวบ้าน” ใครต้องเกรงใจใคร?

​ฆ้องระฆังแห่งพระธรรมสั่นไปถึงผู้อยู่อาศัย ใครเป็นฝ่ายต้องปรับยอม ลดอีโก้เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ศึกษาจริตของตัวเองป้องกันการปะทะ ในยุค 4.0 ที่ศาสนาถูกท้าทายด้วยคำถาม

บ้านใกล้วัด ที่ผ่านมาถูกมองในแง่ของฮวงจุ้ย มากกว่ามลภาวะเป็นพิษ ที่ใดมีวัดที่นั่นมักมีความเจริญ ไหนจะโรงเรียน ร้านอาหาร ร้านค้า ห้องเช่า มักจะไปรวมตัวกันอยู่ในจุดที่วัดตั้ง เพราะถนนหนทางจะดี ค้าขายได้ ผู้คนสัญจรไปมาเป็นจำนวนมาก จะมีบ้างคือ พยายามไม่ให้บ้านตรงกับเมรุเผาศพ หรือ ซุ้มประตูวัด ในทางความเชื่อทั้งไทยและจีน 

วิถีพุทธ

ตอนเช้า พอได้ยินเสียงระฆังตีบอกเวลา ทุกคนในระแวกจะตื่นกันมาทำกับข้าว หุงหาอาหารเพื่อเตรียมใส่บาตรหรือถวายพระ เริ่มวันใหม่ด้วยความอิ่มเอิบใจ พอตะวันขึ้นมาให้เห็น ก็จะได้ยินเสียงระฆังวัดดังบอกเวลาฉันอาหาร ไม่ว่าจะวัดบ้าน หรือวัดธรรมยุต ที่เวลาฉันแตกต่างกัน  กระนั้นเสียงเตือนระฆังก็กังวาลฟังแล้วเพลินใจ 

วิถีมุสลิม

อาซาน อันไพเราะ กล่าวเรียกเชิญคนในชุมชนมาทำการละหมาด ย่ำรุ่ง ศุบฮี  “อัลลอฮุกอักบัร อัลลอฮุกอักบัร” กินเวลาประมาณ 3 นาที  ชาวมุสลิมผู้ปฏิบัติดีก็เริ่มเตรียมตัวเพื่อทำละหมาดด้วยวินัยที่เคร่งครัด สตรีอาจละหมาดที่บ้าน ขณะที่ผู้ชายมักเดินทางไปมัสยิดในละแวก การรอละหมาดโดยนั่งอยู่ในมัสยิดเป็นความประเสริฐอันยิ่งใหญ่ 

วิถีคริสต์

เช้าวันอาทิตย์ที่อากาศเป็นใจ ผู้คนในระแวกพร้อมใจกันไปโบสถ์ก่อนถึงเวลาพิธีมิสซา ซึ่งเป็นพิธีบูชาขอบพระคุณในความเป็นหนึ่งเดียวกันของคริสตชน “รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเอง”  โดยมีองค์พระเยซูเจ้า เป็นเครื่องบูชาเพื่อไถ่บาปแทนมนุษย์ พิธีมิสซา จึงเป็นพิธีของส่วนรวมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชุมชน ​

แต่ในปัจจุบัน “สังคมเมืองหลวง หรือชุมชนใหญ่ มีความเปลี่ยนไปทางแนวคิด ที่ดินราคาแพงตารางวาละหลักหมื่นหลักแสน ซึ่งถ้ามีของแถมมาด้วยคือภัยพิษทางเสียง มักทำให้เกิดข้อวิวาทะอยู่เป็นระยะ ฝ่ายหนึ่งก็อ้างถึงประเพณีที่มีมาเก่าแก่และการอยู่มาก่อน  ในขณะที่อีกฝ่ายก็มักอ้างสิทธิและกฎหมายมาต้านกัน แน่นอนว่ามีความบอบช้ำกันทุกฝ่าย

​ก่อนจะเลือกที่อยู่อาศัย จึงควรตรวจตัวเองว่าชอบแบบไหน เข้ากับชุมชนไหม หากเป็นศาสนิกชนที่เคร่งครัด ก็ อาจอยากมีที่ดินหรือบ้านในแบบที่ใกล้ศาสนสถาน แต่หากไม่ใช่ก็พึงเลือกในทำเลที่ห่างออกมา แม้ว่าในทางปฏิบัติ ชนชั้นทำงานไม่ได้มีทางเลือกมากขนาดนั้นก็ตาม

​เมื่อท้ายที่สุด หากรู้สึกว่าต้องเอื้อนเอ่ยขอสิทธิในการกินอยู่ ก็สามารถทำได้ ด้วยการเดินเข้าไปบอกกับท่านเจ้าอาวาส หรือแม้กระทั่งท่านผู้นำในมัสยิดหรือสุเหร่า กับบาทหลวงในโบสถ์พระคริสต์ก็ตามที ให้ช่วยปรับลดเสียงลงหน่อย โดยให้เหตุผลที่ดี ผู้ที่เจริญแล้วทางธรรมย่อมเป็นผู้ไม่เบียดเบียด ไม่ว่าทางใด หากแต่ผู้นำศาสนสถานนั้น อาจเกิดจากความไม่เข้าใจ หรือนึกไม่ถึงว่าจะมีผู้ที่เดือดร้อน เพราะที่ผ่านมามักรายล้อมไปด้วยผู้ที่เห็นดีงาม

การที่เราเปิดใจรับ และอยู่กับวิถีทางธรรมให้ได้ มันอาจขับกล่อมให้เราย้อนกลับไปเป็นคนแบบที่ในกาลสมัยซึ่งธรรมะยังคงนำทางชีวิต แล้วเมื่อนั้นความสุขทางใจอาจจะบังเกิด  เสียงที่ไพเราะจะแว่วมาหาเราในทุกช่วงเวลา และอาจจะยังดังไม่เพียงพอต่อใจ ที่ต้องการเสียงแห่งความสงบนั้นให้ก้องในหัวใจไปนานเท่านาน..

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 106

  • 🏇💨ต้อยแซดเดิ้ล💥
    อยู่ห่างวัดยังพอขับรถไปได้ จิตใจที่ห่างศีลธรรมแม้กำแพงติดกันก็เข้าไม่ถึง น่าเห็นใจเธอนะคับหาความสงบใจไม่ได้ในขณะที่คนอื่นได้ฟังยิ่งยินดียิ่งเจริญใจ
    07 ต.ค. 2561 เวลา 01.46 น.
  • T 24
    เปรตและสัมพเวสี เมื่อได้ยินเสียงตีระฆัง จะแสบแก้วหู พร้อมทั้งแสบร้อนทุรนทุราย มนุษย์และเทวดา เมื่อได้ยินเสียงตีระฆัง จะร่วมกันอนุโมทนาสาธุการ หมา เมื่อได้ยินเสียงตีระฆัง จะร่วมกันเห่าหอน
    07 ต.ค. 2561 เวลา 00.27 น.
  • ด.ช.ชาย
    มันไม่ใช่การเกรงใจ มันควรจะเป็นการเคารพต่อศาสนาไม่ว่าศาสนาใดๆทั้งนั้น
    06 ต.ค. 2561 เวลา 16.18 น.
  • ผกามาศ
    คนต้องเกรงใจพระแต่พระก็ต้องทำตัวน่าเรื่อมไส น่าศรัทธา ทุกศาสนานะ เราเคารพหมด แต่เรานับถือทุกศาสนาไม่ได้ ทุกศาสนาสอบให้คนเป็นคนดี
    06 ต.ค. 2561 เวลา 14.06 น.
  • Pramote
    ข่าวนี้ไม่มีสาระอะไรเลยแต่นายก ผู้ว่า เข้ามาเกี่ยวข้องเลยเป็นข่าวดัง นะจ๊ะ
    06 ต.ค. 2561 เวลา 12.39 น.
ดูทั้งหมด