โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

DES ชูเครือข่ายกว่า 300 หน่วยงาน ร่วมสร้างสังคมปลอดข่าวปลอม เปิด 10 อันดับคนสนใจมากสุดปี 64

สยามรัฐ

อัพเดต 26 ม.ค. 2565 เวลา 10.47 น. • เผยแพร่ 26 ม.ค. 2565 เวลา 10.47 น. • สยามรัฐออนไลน์
DES ชูเครือข่ายกว่า 300 หน่วยงาน ร่วมสร้างสังคมปลอดข่าวปลอม เปิด 10 อันดับคนสนใจมากสุดปี 64

นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวระหว่างการเปิดงานการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการประสานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม และมอบนโยบายการบูรณาการการประสานศูนย์ฯ วันนี้ (26 ม.ค. 65) ว่า ปัจจุบันศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม มีเครือข่ายผู้ประสานงานกว่า 300 หน่วยงานที่ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริง อีกทั้งมีเครือข่ายนิติกร ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบและยืนยันข่าวให้กับศูนย์ฯ ซึ่งกระทรวงฯ ให้ความสำคัญกับการบูรณาการการทำงานร่วมกันให้ได้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด

นอกจากนี้เครือข่ายผู้ประสานงาน ยังเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและสื่อสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ได้แจ้งเตือนให้แก่ประชาชน และหน่วยงานต่าง ๆ ทราบถึงข้อมูลอันเป็นเท็จ และข้อมูลที่ถูกต้องผ่านช่องทางต่างๆ

"ด้วยสภาพปัจจุบันที่สื่อสังคมออนไลน์ และสื่อในระบบอินเทอร์เน็ต ถูกผู้ไม่หวังดีใช้เป็นช่องทางนำเสนอข่าวสาร ข้อมูลอันเป็นเท็จ มีการตัดต่อข้อมูล เนื้อหา การนำเสนอข้อมูลข่าวสารโดยปราศจากข้อเท็จจริง เพื่อสร้างผลกระทบในทางลบต่อสังคมและประชาชนโดยรวม อันนำมาซึ่งความเสียหายทางสังคม เศรษฐกิจและประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาข่าวปลอม โดยรัฐบาลมุ่งมั่นให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ให้กับประชาชน ด้วยความห่วงใยในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร"

ทั้งนี้ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ที่ดำเนินการโดยกระทรวงดิจิทัลฯ ได้มีการทำงานร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมและความมั่นคง (ANSCOP) และศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) ขับเคลื่อนการทำงานแก้ไขปัญหาข่าวปลอม โดยใช้เครื่องมือทางกฎหมาย มุ่งเน้นข่าวปลอมที่สร้างความตื่นตระหนักและความเสียหายกับประชาชนและสาธารณชนในวงกว้าง

นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าวว่า สำหรับปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมา พบ 10 อันดับข่าว ที่มีคนสนใจมากที่สุด ได้แก่ 1.โรคงูสวัด หากขึ้นวนรอบตัวจะทำให้เสียชีวิ9 (ข่าวปลอม) 2.กระทรวงแรงงาน เปิดรับแรงงานไทยไปทำงานเกาหลี ประเภทกิจการเกษตร/ปศุสัตว์ (ข่าวจริง) 3.รถกระบะตำรวจ ค่าเช่าเดือนละ 48,000 บาท (ข่าวปลอม) 4.ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษบูรพาวิถีและกาญจนาภิเษก ช่วงเทศกาลปีใหม่ 5 วัน (ข่าวจริง) 5.สูดดมแก๊สไนตรัสออกไซด์ต่อเนื่องหรือใช้เป็นประจำ เสี่ยงเกิดโรคหัวใจเฉียบพลัน ประสาทหลอน (ข่าวจริง) 6.สมุนไพรปอบิด ช่วยรักษาอาการท้องร่วง แก้บิด แก้ท้องเสียได้ (ข่าวจริง) 7. ธอส. แจกเงินปีใหม่ให้ลูกค้าสินเชื่อบ้าน ผ่อนดี 48 เดือน รับเงิน 500 - 1,000 บาท (ข่าวจริง) 8. ประกันสังคม เปิดให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 เปลี่ยน รพ. ในปี 65 (ข่าวจริง) 9.กรมการขนส่งทางบก ใช้ระบบตัดแต้มมาพิจารณาพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ สำหรับผู้ขับรถสาธารณะและรถขนส่ง (ข่าวจริง) และ 10. ฉีดวัคซีนซิโนแวค ซิโนฟาร์ม แอสตร้าฯ เดินทางเข้าประเทศอังกฤษได้ โดยไม่ต้องกักตัว (ข่าวจริง)

ขณะที่ ภาพรวมของข้อความข่าวคัดกรองของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ที่ผ่านมาช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากสุดมาจาก SocialListeningTools คิดเป็นร้อยละ 99.83 โดยในช่วงปีงบระมาณ 2564 ศูนย์ฯ ใช้เครื่องมือในการตรวจสอบข้อความที่เป็นกระแสมากขึ้นประมาณ 16 เท่า และมีจำนวนเรื่องที่ต้องส่งตรวจสอบเพิ่มขึ้นกว่าปีงบฯ ก่อนหน้า ร้อยละ 3.78

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0