โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เงินเฟ้อชะลอตัวเล็กน้อย แต่ของยังแพงขึ้นในหลายหมวด

PPTV HD 36

อัพเดต 08 ส.ค. 2565 เวลา 04.01 น. • เผยแพร่ 08 ส.ค. 2565 เวลา 02.19 น.
เงินเฟ้อชะลอตัวเล็กน้อย แต่ของยังแพงขึ้นในหลายหมวด
อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ค.65 ชะลอตัวลงเล็กน้อย ตามทิศทางราคาน้ำมัน แต่เงินเฟ้อพื้นฐานยังเร่งขึ้นจากหมวดเคหสถานและการบันเทิงฯ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ค. แตะระดับ 7.6% (YoY) ตามที่กระทรวงพาณิชย์ระบุ โดยชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนตามทิศทางราคาน้ำมันจากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง

เงินเฟ้อเดือนก.ค. พุ่ง 7.61% จากราคา "พลังงาน-อาหาร" แพง

จับตาวิกฤตหนี้เอเชียใต้ อาจซ้ำรอย "ต้มยำกุ้งไทย ปี 40"

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเร่งขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 3.0% โดยในหมวดเคหสถาน เพิ่มขึ้น 8.4% และหมวดการบันเทิงฯ ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 บ่งชี้ถึงการส่งผ่านของราคาสินค้าระหว่างหมวดอาหารและหมวดพลังงานออกไปยังหมวดอื่นๆ

นอกจากนี้ ราคาในหมวดการขนส่งและการสื่อสารยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ด้านราคาในหมวดอาหารสดและหมวดพลังงานที่มีความผันผวนสูงนั้นยังเพิ่มในระดับสูง เช่น หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่ปรับตัวเร่งขึ้น 8.0% โดยเฉพาะราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดที่เพิ่มขึ้นมากตามแรงผลักดันของเนื้อสัตว์ที่มีต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น

ส่วนราคาพลังงานยังเพิ่มสูงถึง 33.8% ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 5.9% ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 2.0%

ของแพงหลายหมวดมากขึ้น ยังดันเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับสูง

สำหรับอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปีจะอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 7 เดือนแรกของปี ซึ่งอยู่ที่ 5.9% และทำให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2022 อยู่ที่ 6.1%

สาเหตุสำคัญจากการกระจายตัวของราคาที่เพิ่มขึ้นออกไปในหลายหมวดมากขึ้น สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักอาหารสดและพลังงาน) ที่เร่งตัวขึ้นสู่ 2.5% เมื่อเทียบกับ 1.9% เมื่อเดือนก่อน

หมวดเคหสถาน เพิ่มขึ้น 8.4% เทียบจาก 6.8%

หมวดการบันเทิงฯ (สัดส่วน 4.2%) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

บ่งชี้ถึงการส่งผ่านของราคาสินค้าระหว่างหมวดอาหารและหมวดพลังงานออกไปยังหมวดอื่นๆ รวมถึงแนวโน้มการส่งผ่านต้นทุนผู้ประกอบการไปยังราคาสินค้าและบริการมากยิ่งขึ้น จากดัชนีราคาผู้ผลิตที่เพิ่มต่อเนื่อง

มองไปในช่วงที่เหลือของปี ต้นทุนของผู้ประกอบการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งจากราคาค่าไฟในกรณีที่มีการปรับขึ้นในงวด ก.ย. - ธ.ค. เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักอยู่ในทิศทางเพิ่มขึ้น อีกทั้ง กฟผ. อาจลดภาระแบกรับต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ประกอบภาระจ่ายดอกเบี้ยของผู้ประกอบการอาจเพิ่มขึ้นหากมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : Krungthai COMPASS

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0