โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

รัฐบาล แจงปมร้อนซ้ำ!! ให้สัญชาติคนอพยพ 4.8 แสนราย เลือกตั้งได้หรือไม่??

TOJO NEWS

อัพเดต 02 พ.ย. เวลา 22.30 น. • เผยแพร่ 02 พ.ย. เวลา 23.30 น. • Admin Tojo

รัฐบาล แจง 1 ปี มีการให้สัญชาติปีละ 11,000 คนเท่านั้น หากใช้ขั้นตอนเดิมจะใช้เวลาถึง 44 ปี

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เสียงจากใจ ไทยคู่ฟ้า” ถึงหลักเกณฑ์การให้สัญชาติ-สถานะ บุคคลอพยพ 4.8 แสนราย ไม่รวมกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทย ว่า ครม. ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์ตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ

เพื่อเร่งการแก้ไขปัญหาการให้สัญชาติกับกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีการพิจารณาให้สัญชาติมาตั้งแต่ 50 - 60 ปีที่ผ่านมา และราชการทำทะเบียนไว้แล้ว แบ่งเป็น กลุ่มคนที่ยังไม่ได้ได้รับสัญชาติไทย แต่เข้าสู่กระบวนการแปลงสัญชาติแล้ว จำนวน 350,000 คน

กลุ่มลูกของคนที่เกิดจากกลุ่ม 350,000 คน อีกประมาณ 140,000 คน รวมทั้งหมด 480,000 คน ซึ่งรัฐบาลก่อนหน้านี้ได้ทยอยให้สัญชาติไทยให้กับคนเหล่านี้ ที่มีการพิสูจน์ว่าไม่ได้เข้ามาโดยมิชอบ

โดยหลังจากนี้กระทรวงมหาดไทยจะออกประกาศภายใน 30 - 60 วัน และคนกลุ่มนี้ไม่มีสิทธิ์ทางการเมือง ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง สส. ไม่สามารถไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

การให้สัญชาติดังกล่าว มีขั้นตอนการตรวจสอบ การดำเนินการ และลงทะเบียนมาอย่างยาวนาน ซึ่งหนึ่งปีมีการให้สัญชาติปีละ 11,000 คนเท่านั้น หากใช้ขั้นตอนเดิมจะใช้เวลาถึง 44 ปี

ซึ่งการอนุมัติดังกล่าวเป็นการลดขั้นตอนการให้สัญชาติเท่านั้น พร้อมย้ำว่า กลุ่มสีเทาจะไม่สามารถขอสัญชาติไทยได้ เนื่องจากการเข้ามาประเทศไทยไม่มีเอกสารทางราชการ ไม่มีการพิมพ์ลายนิ้วมือ ไม่มีประวัติ แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นกลุ่มบุคคลที่มีการติดตามตรวจสอบมาแล้ว 40 - 50 ปี

ดังนั้น ขออย่ากังวล เพราะการให้สัญชาติกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวจะสามารถติดตามควบคุมได้ง่าย เนื่องจากทางราชการสามารถทราบที่อยู่ ทราบการประกอบอาชีพ

ไม่ใช่เป็นการมอบสัญชาติให้คนที่เข้ามาประเทศไทยอย่างง่ายดาย

#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น