โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

ฟินแลนด์พร้อมใช้คลื่นทะเลผลิตไฟฟ้า หลังซุ่มพัฒนากว่า 31 ปี

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 12 ก.พ. 2567 เวลา 09.14 น.
ฟินแลนด์พร้อมใช้คลื่นทะเลผลิตไฟฟ้า หลังซุ่มพัฒนากว่า 31 ปี
บริษัทด้านพลังงานในฟินแลนด์ เตรียมพร้อมใช้เครื่องผลิตไฟฟ้าจากคลื่นทะเลเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก หลังใช้เวลาพัฒนาต้นแบบและทดสอบกว่า 31 ปี

พลังงานจากคลื่นทะเลเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานทางเลือกที่ TNN Tech นำเสนอมาอย่างต่อเนื่อง และล่าสุด เอดับเบิลยู เอเนอร์จี (AW-Energy) บริษัทด้านพลังงานสะอาดสัญชาติฟินแลนด์ ก็ได้เปิดแผนการผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ จากเครื่องให้กำเนิดไฟฟ้าพลังงานคลื่นทะเล กำลังการผลิต 1 เมกะวัตต์ (MW) อย่างเป็นทางการแล้ว

ข้อมูลเครื่องผลิตไฟฟ้าจากคลื่นทะเลสัญชาติฟินแลนด์

เครื่องผลิตไฟฟ้าจากคลื่นทะเลดังกล่าวมีชื่อว่า เวฟโรลเลอร์ (Waveroller) กำลังการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 1 เมกะวัตต์ เริ่มต้นพัฒนาในปี 1993 จากการเห็นซากเรืออัปปางเคลื่อนไหวจากกระแสคลื่นใต้ทะเล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคลื่นใต้ทะเลมีพลังงานซ่อนเร้นอยู่จนเป็นแนวคิดผลิตไฟฟ้าขึ้นมา โดยตัวเครื่องออกแบบเป็นทุ่นลอยน้ำทรงกล่องสี่เหลี่ยมความยาว 30 เมตร กว้าง 25 เมตร และสูง 5 เมตร

โดยการใช้งานจะนำ Waveroller ไปติดตั้งที่พื้นทะเลห่างชายฝั่งระหว่าง 0.3 - 2 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดมีลักษณะคล้ายกำแพงกันคลื่นจะทำหน้าที่รับคลื่นและขยับในลักษณะคล้ายคันโยก เพื่อดึงและผลักผ่านระบบไฮดรอลิกให้เกิดการผลิตไฟฟ้าที่ส่วนใต้ฐาน Waveroller ขึ้นมา ซึ่งตัวต้นแบบล่าสุดนั้นมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 350 กิโลวัตต์ (kW) แต่ทางบริษัทประกาศว่าสามารถขยายกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 1 เมกะวัตต์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้งานเครื่องผลิตไฟฟ้าจากคลื่นทะเลสัญชาติฟินแลนด์

ทางบริษัทตั้งเป้าให้เกิดโรงผลิตไฟฟ้าในลักษณะของฟาร์มคล้ายฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่ง โดยมีชื่อเรียกสถานที่ในลักษณะนี้ว่าเวฟฟาร์ม (WaveFarm) ซึ่งเป็นสถานที่ทดสอบที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (EU) ที่เริ่มผลิตไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2020 ที่มี Waveroller ติดตั้งตั้งแต่ 10 - 24 หน่วย ในแต่ละแห่ง

และหลังจากทดสอบอย่างต่อเนื่อง การศึกษาของบริษัทก็พบว่าการผลิตรายปีของ Wavefarm นั้นอยู่ที่ 624 - 813 เมกะวัตต์ชั่วโมง (MWh) และมีต้นทุนตลอดอายุการผลิต (levelized cost of energy: LCoE) อยู่ที่ 100 - 150 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3,600 - 5,400 บาทต่อเมกะวัตต์ชั่วโมงในขณะที่กังหันลมนอกชายฝั่งมีค่า LCoE อยู่ที่ 82 - 255 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2,900 - 9,100 บาทต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง

ทั้งนี้ Waveroller มีแผนขยายการลงทุนและการผลิตเพิ่มอีกประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 10,600 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสร้างงานมากกว่า 500 ตำแหน่ง และยังมีการบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (Memorandum of Understanding: MoU) กับบริษัทด้านพลังงานสะอาดสัญชาตินามิเบีย ประเทศที่ติดกับทางตะวันตกของประเทศแอฟริกาใต้ ในการนำ Wavefarm ไปติดตั้งตามแนวชายฝั่งในอนาคตอีกด้วย

ข้อมูลจาก New Atlas, Interesting Engineering

ภาพจาก AW-Energy

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น