โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เพาะเนื้อสิงโต, ม้าลาย เสิร์ฟร้านมิชลินสตาร์ในลอนดอน

IGreen

เผยแพร่ 02 เม.ย. 2565 เวลา 02.09 น. • iGreen

เทคโนโลยีอาหารกำลังก้าวล้ำไปมากโดยเฉพาะการผลิตเนื้อสัตว์ที่ไม่ต้องเลี้ยงสัตว์หรือฆ่าสัตว์อีกต่อไป เช่น Primeval Foods สตาร์ทอัพร่วมทุนด้านเทคโนโลยีอาหารได้ผลิตเนื้อสัตว์จากห้องแลป (lab-grown meat) ที่ไม่เคยมีใครคิดจะทำมาก่อน 

อย่างเช่น เนื้อสิงโต เสือโคร่งไซบีเรีย เสือดาว เสือดำ เสือเบงกอล ม้าลาย และกำลังเปิดเมนูใหม่ให้ทดลองชิมกันในร้านระดับมิชลินสตาร์ในลอนดอนเร็ว ๆ นี้ 

ผู้ผลิตอาหารจากห้องปฏิบัติการให้เหตุผลว่า แนวคิดเบื้องหลังวิธีการนี้คือ หวังจะลดการทำฟาร์มปศุสัตว์เพื่อเป็นอาหาร เป็นแนวทางในการอนุรักษ์ดินและน้ำ อนุรักษ์ที่อยู่อาศัย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และป้องกันมลพิษจากมูลสัตว์และการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากเกินไป

เขาอ้างการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมพบว่า การผลิตเนื้อสัตว์จากห้องแลปที่มีการสังเคราะห์เนื้อเยื่อจากเซลล์สัตว์สายพันธุ์ต่าง ๆ นั้นใช้พลังงานน้อยกว่าเนื้อสัตว์ที่มาจากการทำปศุสัตว์ประมาณ 7–45% ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 78–96% ใช้ที่ดินลดลง 99% และการใช้น้ำลดลง 82–96% 

เป้าหมายการตลาดของ Primeval Foods คือการจำหน่ายเบอร์เกอร์สิงโต, สเต็กเสือ และซูชิม้าลาย เมื่อผ่านการอนุมัติด้านกฎระเบียบแล้วและจะเปิดตัวในร้านระดับไฮเอนด์ก่อนที่จะขยายตลาดในซูเปอร์มาร์เก็ตต่อไป

ยิลมาส โบรา (Yilmaz Bora) หุ้นส่วนและผู้จัดการของ Ace Ventures สตูดิโอร่วมทุนในลอนดอนที่สร้าง Primeval กล่าวว่า นอกจากการนำเสนอทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรกับสภาพอากาศแทนเนื้อสัตว์ทั่วไปแล้ว ยังหวังว่าทางเลือกที่แปลกใหม่จะช่วยให้ผู้คนได้สัมผัสประสบการณ์ที่แปลกใหม่ เพราะปกติคนเรามักแสวงหาอาหารใหม่ ร้านอาหารใหม่ ประสบการณ์การทำอาหารใหม่ ๆ แต่สายพันธุ์ดั้งเดิมมีขีดจำกัดความต้องการเหล่านั้น

อย่างไรก็ตาม เขาระบุว่า หลายประเทศยอมรับการผลิตเนื้อเทียม แต่ส่วนใหญ่มีอุปสรรคของกฎระเบียบด้านความปลอดภัย ยกเว้นสิงคโปร์ที่ต้อนรับเนื้อประเภทนี้แล้ว 

โบราบอกด้วยว่า เขาจินตนาการที่จะเห็นการบริโภคเนื้อเพาะเลี้ยงที่เป็นเสือจากัวร์เพื่อให้นอนหลับและอารมรณ์ดีขึ้น บริโภคเนื้อช้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้ หรือต่อไปแพทย์อาจจะต้องเแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยเนื้อสิงโตอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้งเพื่อให้มีพัฒนาการของกระดูกและกล้ามเนื้อ

อ้างอิง:

Emily Atkinson (Mar 31, 2022) "World’s first lab-grown lion meat as climate-friendly ‘cultivated’ food arrives in UK" . Independent 

Katy Askew (Mar 30, 2022) "Lion burger? Tiger tacos? Meet the cell cultured start-up working in exotic meats" . foodnavigator

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0