โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

สุดเจ๋ง!! เปิดตัวทีมนักวิจัย ‘KEETA’ แข่งพัฒนาอาหารอวกาศ ส่งประกวด ‘NASA’ เข้ารอบ 10 ทีม

The Bangkok Insight

อัพเดต 29 ก.ย 2565 เวลา 15.35 น. • เผยแพร่ 30 ก.ย 2565 เวลา 00.35 น. • The Bangkok Insight
สุดเจ๋ง!! เปิดตัวทีมนักวิจัย ‘KEETA’ แข่งพัฒนาอาหารอวกาศ ส่งประกวด ‘NASA’ เข้ารอบ 10 ทีม

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดตัวทีมนักวิจัย KEETA จากสหสถาบัน ร่วมพัฒนาอาหารอวกาศสำหรับภารกิจเดินทางไป-กลับดาวอังคาร ส่งประกวด NASA

ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดเผยว่าราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมเปิดตัวทีมนักวิจัย KEETA (กีฏะ) จากประเทศไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบการแข่งขันเฟสแรก ในโครงการพัฒนาระบบผลิตอาหารอัตโนมัติและครบวงจร สำหรับนักบินอวกาศ Deep Space Food Challenge

อาหารอวกาศ
อาหารอวกาศ

สำหรับการแข่งขันดังกล่าว จัดขึ้นโดย องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) และองค์การอวกาศแคนาดา (Canadian Space Agency) โดยมีโจทย์สุดท้าทายคือ ให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันสร้างระบบที่สามารถผลิตอาหารได้ในระยะยาว โดยไม่ต้องพึ่งการขนส่งไปเติมเพิ่ม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจเดินทางไป-กลับดาวอังคารของนักบินอวกาศ

ทั้งนี้ เครือข่ายความร่วมมือจากสหสถาบันที่ให้การสนับสนุน ประกอบด้วย สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พร้อมกันนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้เตรียมพื้นที่ในอาคารวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ไว้เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านอวกาศร่วมกันในระดับนานาชาติ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ในอนาคต

ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์
ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์

ด้านศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงจิรายุ เอื้อวรากุล คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทีม KEETA ใช้จุดเด่นของวัฒนธรรมอาหารไทย โดยใช้ประโยชน์จากแมลงผสมผสานกับเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อสร้างระบบผลิตอาหารที่มีรูปลักษณ์และคุณสมบัติตามต้องการ

แนวคิดนี้ถูกใจคณะกรรมการและได้เป็น 1 ใน 9 ทีมที่ผ่านเข้าเฟส 2 ของรอบการแข่งขัน โดยในที่สุดจะมีการคัดเลือกเหลือ 3 ทีมสุดท้ายในต้นปี 2566

ขณะที่ อาจารย์ ดร.วเรศ จันทร์เจริญ อาจารย์ประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ หัวหน้าทีม KEETA กล่าวว่า โครงการ Deep Space Food Challenge เป็นอีกหนึ่งความท้าทายในรอบ 100 ปีของ NASA Centennial Challenges (การแข่งขันด้านอวกาศของนาซ่า)

โครงการพัฒนาอาหารอวกาศ มีเป้าหมายกระตุ้นนวัตกรรมการวิจัย ทั้งพื้นฐานและประยุกต์ การพัฒนาเทคโนโลยี หรือการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ขึ้น โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องผลิตอาหารสำหรับภารกิจทางอวกาศเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อเพียงพอต่อนักบินอวกาศ 4 คนโดยไม่มีเสบียงเพิ่ม

ที่สำคัญคือใช้เวลาการเตรียมอาหารให้น้อย ที่สุด มีความปลอดภัย มีโภชนาการสูง เป็นมิตรกับอวกาศและบนโลกอย่างเสมอภาคกัน

ความตั้งใจของทีม KEETA นอกจากเข้าร่วมการแข่งขันแล้ว ยังมุ่งมั่นที่จะสร้าง เทคโนโลยีทางอวกาศ ซึ่งต้องใช้กินได้ กินได้ในที่นี้ไม่ได้กินเป็นอาหาร แต่สามารถสร้างรายได้ ทำให้เกิดธุรกิจต่อประเทศ หรือทำให้เกิดเศรษฐกิจอวกาศ (Space Economy หรือ Space Business)

อ่านข่าวเพิ่มเติม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น