โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ดูแลสภาพจิตใจ หลังผ่านเหตุการณ์ "แผ่นดินไหว" ครั้งแรกในชีวิต

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 28 มี.ค. เวลา 11.11 น.
ดูแลสภาพจิตใจ หลังผ่านเหตุการณ์
สิ่งที่ทุกคนต้องรู้เกี่ยวกับจิตใจของตนเอง หลังเผชิญเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งแรกในชีวิต
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นช่วงบ่ายของวันนี้ แม้จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาที แต่เชื่อหรือไม่ว่า ผลกระทบทางใจนั้นอาจอยู่กับเราได้เป็น *วัน เดือน หรือแม้กระทั่งเป็นปีๆ* โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้านี่เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ท่านได้สัมผัสกับแรงสั่นสะเทือน หรือได้เห็นภาพความเสียหายและความสูญเสียจากข่าวแบบไม่ทันตั้งตัว

สิ่งที่ต้องรู้ก็คือ ในแง่ของจิตใจแล้ว แม้เราจะไม่ได้อยู่ในพื้นที่/ไม่ได้เป็นผู้ประสบภัยเองโดยตรง แต่การเสพข่าวแผ่นดินไหวซ้ำๆ ก็สามารถกระตุ้นปฏิกิริยาทางจิตใจได้ไม่ต่างจากผู้ประสบเหตุโดยตรง!!

การดูข่าวหรือภาพวิดีโอที่มีเสียงกรีดร้อง แรงสั่นสะเทือน หรือภาพซากตึกถล่ม สมองส่วน Amygdala ของทุกคนซึ่งมันทำงานเกี่ยวกับความกลัวจะทำงานราวกับเรากำลังอยู่ในเหตุการณ์ได้เลย ส่งผลให้ร่างกายหลั่ง Adrenaline, Cortisol เกิดอาการใจเต้นแรง เหงื่อออก นอนไม่หลับ ตามมา

*อาการที่พบได้บ่อยหลังเจอแผ่นดินไหว (หรือดูข่าวซ้ำๆ)*

- รู้สึกใจสั่น หวิวๆ หรือเหมือนพื้นจะสั่นแม้ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

- กังวลมากจนคิดไปล่วงหน้า เช่น “ถ้าเกิดที่นี่ล่ะ” หรือ “ฉันจะรอดไหม”

- รู้สึกผิดแม้ไม่เกี่ยวข้อง เช่น “เราสบายเกินไปเมื่อเทียบกับคนที่สูญเสีย” (Survivor's guilt)

- ฝันร้าย ซ้ำภาพเหตุการณ์ในหัว

- ไม่อยากดูข่าวอีก หรือกลับกัน ดูวนซ้ำๆเหมือนติด

ทั้งหมดนี้เรียกว่า Post-Traumatic Stress Response (PTSR) ซึ่งเป็น “อาการตอบสนองชั่วคราวของสมองที่กำลังพยายามปรับตัวกับภัยพิบัติ”

*สถิติที่น่าสนใจ*

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

งานวิจัยพบว่า ผู้ที่เจอภัยธรรมชาติชนิดร้ายแรงครั้งแรก มีความเสี่ยงเกิดโรคบาดแผลทางใจ (PTSD) สูงกว่าคนทั่วไป 2.4 เท่า และแม้ไม่ได้อยู่ในจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว ผู้ที่เสพข่าวซ้ำเกินวันละ 2 ชั่วโมง ก็มีแนวโน้มเกิดความเครียดเรื้อรังและนอนไม่หลับเพิ่มขึ้น 30–40%

*จะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังสะเทือนใจมากกว่าปกติ? *

- นอนไม่หลับติดต่อกันหลายวัน

- ฝันถึงเหตุการณ์ / ภาพข่าว / เสียงหวอ หรือเสียงตึกถล่ม

- รู้สึกกลัวตลอดเวลาแม้เหตุการณ์จบไปแล้ว

- หลีกเลี่ยงสถานที่ หรือสถานการณ์ที่ใกล้เคียง เช่น อาคารสูง ลิฟต์ เสียงเตือน

- รู้สึกหมดพลังงาน อ่อนเพลียทางใจ

**วิธีดูแลจิตใจหลังแผ่นดินไหว หรือการรับข่าวภัยพิบัติ**

จำกัดการเสพข่าววันละไม่เกิน 30 นาที

- ระบายความรู้สึกผ่านการเขียน พูด หรือพูดคุยกับคนที่เข้าใจ

- อย่าละเลยสัญญาณของร่างกาย เช่น ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม ให้พยายามเรียกขวัญตนเอง ตั้งสติและหายใจลึกๆ

- พยายามกลับเข้าสู่กิจวัตรเดิม เพื่อให้สมองรู้สึกถึงความมั่นคง

- ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 1–2 สัปดาห์ → พบผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการช่วยเหลือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง