โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

"SMEs "ปรับหมาก หนีตาย" COVID -19"

TNN ช่อง16

อัพเดต 03 มิ.ย. 2563 เวลา 03.29 น. • เผยแพร่ 03 มิ.ย. 2563 เวลา 03.29 น. • TNN Thailand
การทำธุรกิจในยุควิกฤตโควิด-19 ต้องยอมรับว่า ยากลำบากกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะผู้ประกอบ SMEs ทำให้ผู้ประกอบการ ต้องปรับตัวมากขนาดไหน ที่สำคัญ ซอฟท์โลน ของ ธปท.วงเงิน5 แสนล้านบาท เข้ามาพยุงไม่ให้ล้มหาย แต่ปัญหา คือ การปล่อยสินเชื่อที่ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

         มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) ของธนาคารแห่งประเทศไทย วงเงิน 5 แสนล้านบาท ให้กับผู้ประกอบการ SMEs แม้จะเป็นไอเดียที่ดี เป้าหมายในการเติมสภาพคล่องให้ SMEs หวังให้คงการจ้างงาน เพื่อไม่ให้กระทบกับเศรษฐกิจมหาภาคมากจนเกินไป แต่ภาคเอกชนที่แทนธุรกิจรายย่อยต่างก็ออกมายอมรับว่า เข้าไม่ถึง เพราะเงื่อนไขที่มากจนเกินไปของธนาคารในการปล่อยสินเชื่อมากจนเกินไป 

         

         สำหรับเงื่อนไขผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม หรือ SMEs ที่จะขอสินเชื่อซอฟท์โลนนี้  ต้องเป็นบุคคลที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย / ไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย / ไม่เป็น NPL ของสถาบันการเงิน ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2562 เพราะต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เท่านั้น /  ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน และวงเงินสินเชื่อเดิมไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยจะขอกู้ใหม่ได้ไม่เกิน 20% ของยอดสินเชื่อคงค้างที่มีกับสถาบันการเงินนั้นๆ 

                      ต้องยอมรับว่า โควิด-19 ก่อให้เกิด Income Shock หรือการ ไม่มีรายได้เข้ามา ทั้งที่รายจ่ายยังคงเดิม ธุรกิจน้อยใหญ่ รายได้หายตั้งแต่ 30-100% เช่น บริษัท ป๊อปอายน้ำแข็งหลอด จำกัด ผู้ผลิตน้ำแข็งรายใหญ่ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่งร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และสถานบันเทิง สร้างรายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 4 ล้านบาท แต่เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 รุนแรง จนกระทั่งรัฐบาลต้องประกาศปิดสถานที่เสี่ยง โดยเฉพาะสถานบันเทิง ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ของ บริษัท จึงได้รับผลกระทบ รายได้หายไป 30-40% ดังนั้นจึงต้องลดต้นทุนไม่จำเป็น เพื่อรักษาสภาพการจ้างงานเอาไว้ให้มากที่สุด          

          ขณะที่ หจก.อรทัย ทรานสปอร์ต กำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด ด้วยรุ่น 2 ของตระกูล เข้ามาช่วยพัฒนาการตลาด ดันรายได้ขึ้นไปเตะ10 ล้านบาท ต่อเดือน แต่เมื่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิถูกปิด เส้นเลือดใหญ่ของธุรกิจ ที่มีสัดส่วนถึง 40%  ไม่สามารถเดินได้ จึงต้องดิ้นรน หาลูกค้ารายย่อย พร้อมกับเติมสภาพคล่องเข้ามาพยุงธุรกิจไม่ให้ล้มไปกับวิกฤตนี้          ส่วนธุรกิจโฮสเทลต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก กำลังขยายกิจการรับความต้องการของลูกค้าต่างชาติ จึงเทงบส่วนใหญ่ไปกับการลงทุน แต่เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 รายได้หาย สภาพคล่องจึงหด แต่ยังเอาตัวรอดจากซอฟท์โลนของรัฐบาลเช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ 
         ผลกระทบจากธุรกิจท่องเที่ยว ขยายวงกว้าง แม้คนทำตลาด ก็ยังนิ่งดูดายไม่ได้ ลด และเว้นค่าเช่าให้กับลูกค้า เช่นเดียวกับ ตลาด CICADA ที่ หัวหิน ที่ถูกล็อคดาวน์เช่นกัน จนต้องหันหาซอฟท์โลน เพื่อเติมสภาพคล่องให้กับบริษัท 
         นี่คือตัวอย่าง ที่ทีมข่าวเศรษฐกิจ Insight พบเจอเท่านั้น เชื่อว่า SMEs หลายคน กำลังโยกหมาก ปรับกลยุทธ์กันอย่างฝุ่นตลบ บางส่วนอาจท้อแท้ และหมดหวัง แต่ต้องเติมพลังบวก สร้างโอกาสให้กับธุรกิจ เพื่อรักษาธุรกิจของตนเอง หรือ ครอบครัวเอาไว้ ให้ผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันได้

        ติดตามรายละเอียดได้ที่"เศรษฐกิจ Insight" วันพุธที่ 3 มิถุนายน 2563

        https://www.youtube.com/watch?v=iE7volzUGLQ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0