โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟการไฟฟ้าต้องทำอย่างไร

DDproperty

เผยแพร่ 10 มี.ค. 2563 เวลา 04.33 น.
ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟการไฟฟ้าต้องทำอย่างไร
ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟการไฟฟ้าต้องทำอย่างไร

เมื่อบ้านสร้างแล้วเสร็จก็ได้เวลาของการเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านหลังใหม่สักที แต่จะอยู่ได้อย่างไรถ้ายังไม่ติดตั้งไฟฟ้า ลองมาดูวาการขั้นตอนและวิธีการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามีอะไรบ้าง รวมถึงมาตรการคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าต้องทำอย่างไร หาคำตอบทั้งหมดได้ที่นี่

 

คุณสมบัติของผู้ที่จะขอใช้ไฟฟ้า

ผู้ที่จะขอใช้ไฟฟ้ามีดังนี้

1. เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้า

2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใช้ไฟฟ้า

3. ผู้เช่า หรือผู้เช่าซื้อสถานที่ใช้ไฟฟ้า

4. ผู้ประกอบการในสถานที่ใช้ไฟฟ้า

 

เอกสารที่ผู้ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าต้องนำมาแสดง

ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเตรียมเอกสารดังนี้ เพื่อใช้ยื่นประกอบคำร้องขอใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า

 

หลักฐานการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าใหม่

1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้า และสำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

3. สัญญาซื้อขาย (กรณีซื้อขายบ้าน), สัญญาเช่า (กรณีเช่าบ้าน)

4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีเจ้าของบ้านไม่มาดำเนินการ)

5. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

6. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า

7. ใบยินยอมผ่านที่หรือใบยินยอมในกรณีต่างๆ (กรณีผ่านที่ดินผู้อื่น), สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านขอผู้ยินยอม

8. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าข้างเคียงของเสาที่จะติดตั้งมิเตอร์ (ถ้ามี)

 

หลักฐานการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าชั่วคราว (สำหรับใช้ในการก่อสร้าง)

1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้า

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

3. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง (ถ้ายังไม่ได้ให้ถ่ายใบคำขอมาแทน)

4. โฉนดที่ดินสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า

5. สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

หมายเหตุ การขอมิเตอร์ชั่วคราวต้องเตรียมสายไฟฟ้าและคัทเอ้าท์หรือเบรกเกอร์ตามขนาดมิเตอร์มาในวันชำระเงินด้วย

 

เซอร์กิตเบรกเกอร์ อุปกรณ์ตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อไฟฟ้าลัดวงจร
เซอร์กิตเบรกเกอร์ อุปกรณ์ตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อไฟฟ้าลัดวงจร

 

ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้า

1. หลักจากได้รับคำร้องขอใช้ไฟฟ้า พร้อมเอกสารประกอบครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะเข้าไปตรวจสอบการเดินสายไฟในอาคาร หากยังไม่เดินสายไฟฟ้าให้เดินสายให้เรียบร้อยแล้วแจ้งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ

2. เมื่อตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าแล้วพบว่ามีการเดินสายไฟที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แต่ถ้าการเดินสายไฟไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัยก็จะแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข และตรวจสอบอีกครั้ง โดยค่าธรรมเนียมนั้นการไฟฟ้าจะกำหนดไว้ตามประเภทและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง

3. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมและรับใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน

 

ทำเรื่องโอนมิเตอร์ไฟฟ้าได้ที่การไฟฟ้านครหลวง
ทำเรื่องโอนมิเตอร์ไฟฟ้าได้ที่การไฟฟ้านครหลวง

 

สถานที่ติดต่อเพื่อขอใช้ไฟฟ้า

ผู้ขอใช้ไฟฟ้าสามารถติดต่อและยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าทุกแห่ง

 

สอบถามการไฟฟ้า

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โทร. 1130 หรือติดต่อสอบถามได้จากเว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โทร. 1129 หรือติดต่อสอบถามได้จากเว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

 

มาตรการคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า

มาถึงขั้นตอนของการขอคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งมาจากมาตรการพิเศษของรัฐที่ต้องการช่วยเหลือประชาชน สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นบ้านพักอาศัย และกิจการขนาดเล็ก ลองมาทำความเข้าใจรายละเอียด "เบื้องต้น" ของมาตรการนี้กันก่อนว่า เงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าคืออะไร มีขั้นตอนอย่างไร และใครจะเป็นผู้ได้เงิน

 

เงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าคืออะไร

เงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า คือค่าธรรมเนียมในการขอใช้ไฟฟ้า ซึ่งชื่อจริง ๆ ก็คือ "เงินประกันการใช้ไฟฟ้า" โดยเงินก้อนนี้จะเสียครั้งแรกเมื่อยื่นขอใช้ไฟฟ้า ซึ่งการไฟฟ้าจะเรียกเก็บเงินประกันการใช้ไฟฟ้ และจะคืนให้เมื่อมีการยกเลิกการใช้ไฟฟ้า

 

ทำไมต้องเก็บเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า

เหตุผลที่ต้องมีการเก็บเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า เนื่องจากเป็นค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินล่วงหน้า เพื่อเป็นเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่น หากบ้านของเราไม่ยอมจ่ายค่าไฟฟ้า ทางการไฟฟ้าจะยึดเงินประกันการใช้ไฟฟ้านั้นแทน (ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย จะได้รับดอกเบี้ยออมทรัพย์ทุก 5 ปี โดยคิดในอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย)

 

ขนาดมิเตอร์

 

เงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าต้องเสียเท่าไหร่

อัตราค่าธรรมเนียมเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าจะเสียตามขนาดมิเตอร์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. มิเตอร์ขนาด 5(15) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 300 บาท (บ้านพักขนาดเล็ก ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มาก)

2. มิเตอร์ขนาด 15(45) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 2,000 บาท (เป็นขนาดมิเตอร์ที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้กัน)

3. มิเตอร์ขนาด 30(100) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 5,000 บาท (บ้านพักขนาดใหญ่ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด)

4. มิเตอร์ขนาด 15(45) เฟส 3 เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 6,000 บาท (บ้านพักส่วนใหญ่ไม่ค่อยใช้)

 

ขั้นตอนการคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า

ผู้ที่จะได้รับเงินคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า มีจำนวนประมาณ 21.5 ล้านราย คิดเป็นวงเงินประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยมีรายละเอียด "เบื้องต้น" ดังนี้

1. เริ่มทยอยคืนได้ในรอบบิล "สิ้นเดือนมีนาคม 2563"

2. สามารถดำเนินการขอคืนเงินกับหน่วยงานที่ยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า แบ่งเป็น

- กฟน. ให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ

- กฟภ. ให้บริการในทุกจังหวัดของประเทศไทย ยกเว้น 3 จังหวัดในข้อ 1

3. ผู้ที่ได้รับเงินจะเป็นผู้ที่ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น ยกเว้นในกรณีที่ผู้ขอเสียชีวิตแล้ว สามารถให้ผู้อื่นรับแทนได้

 

 

มาตรการช่วยลดภาระค่าไฟฟ้า

นอกจากมาตรการคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าแล้ว ยังมีมาตรการ

1. ลดค่าไฟลงไปอีกประมาณ 20 สตางค์ เหลือประมาณ 3.50 บาท/หน่วย เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2563)

2. ขยายเวลาการจ่ายค่าไฟฟ้าในรอบบิลเดือนเมษายน 2563 และเดือนพฤษภาคม 2563 ให้จ่ายช้าได้ถึง 6 เดือน กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านพักอาศัย กิจการขนาดเล็ก และโรงแรม

 

เป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านและผู้อาศัยควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้า ตลอดจนมาตรการล่าสุดจากรัฐที่มีมติออกมา เพื่อลดผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าวนี้จะถูกนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อขอความเห็นชอบและดำเนินการต่อไป ในวันอังคารที่ 10 มีนาคม 2563 อีกครั้ง 

 

สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น