โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

5 เทคโนโลยีที่จะทำให้วงการแพทย์ต้องตะลึงในปี 2020

Rabbit Finance

อัพเดต 20 ต.ค. 2560 เวลา 10.04 น. • เผยแพร่ 20 ต.ค. 2560 เวลา 10.00 น. • Rabbit Finance Blog
5 เทคโนโลยีที่จะทำให้วงการแพทย์ต้องตะลึงในปี 2020
5 เทคโนโลยีที่จะทำให้วงการแพทย์ต้องตะลึงในปี 2020

ปัจจุบันโรคภัยต่างๆก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้วงการแพทย์ต้องพัฒนาให้ล้ำหน้าไปอีก เพื่อที่จะได้ป้องกันปัญหาต่างๆที่จะตามมาในภายหลัง

ซึ่งในปี 2020 ประเทศไทยของเราก็ได้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำขึ้นไปอีกขั้นทั้ง เครื่องมือแพทย์ รวมถึงวัคซีนต่างๆ ที่จะทำให้เรามีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

วันนี้ rabbit finance จะพาทุกคนจะรู้จักพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการแพทย์แบบใหม่ที่จะมาแรงในปี 2020 ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น เราไปดูกันเลยค่ะ

เทคโนโลยีชนิดไหนกันที่จะเข้ามาเปลี่ยนวงการแพทย์ ?

 

(cc) i.ytimg.com
(cc) i.ytimg.com
  • ระบบปัญญาประดิษฐ์กับวงการแพทย์ (Artificial Intelligence : AI)

เป้าหมายหลักของAI ในวงการสุขภาพก็คือ การพัฒนาการรักษา และดูแลผู้ป่วยโดยการช่วยเหลือแพทย์ในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ โดยจะใช้ความรู้ทางการแพทย์มาเป็นตัวช่วย ซึ่งระบบ AI นั้นจะทำการคิด วิเคราะห์และจดจำข้อมูลที่ถูกป้อนไว้ และนำเสนอแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วย

ระบบปัญญาประดิษฐ์จะมีศักยภาพในการบริการข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และนักวิจัยแบบreal-time ตามความต้องการของผู้ใช้ โดยข้อมูลที่ถูกป้อนจาก AI นั้นจะเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพและถูกต้อง เพราะมาจากแหล่งข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์ทางการแพทย์

โดยในปี 2021 คาดว่าตลาดของ AI ที่เกี่ยวข้องกับวงการสุขภาพนั้น จะได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ด้วยอัตราการเติบโตที่สูงถึง 42% ประสิทธิภาพการรักษาที่ดีเยี่ยม ค่าใช้จ่ายที่ลดลง ทำให้ขั้นตอนต่างๆในการทำงานนั้นลดลง และเป็นศูนย์กลางแผนการรักษาผู้ป่วย

ซึ่งเหตุผลทั้งหมดเหล่านี้เองที่ทำให้บริษัท AI เป็นที่ยอมรับและประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในวงการสุขภาพ ซึ่งมีตัวอย่างผลงานให้เห็นมากมาย

ไม่ว่าจะเป็นบริษัท Startup ที่มีชื่อว่า Butterfly Network ที่ได้พัฒนาเครื่องอัลตราซาวนด์ 3 มิติผ่านบริการโทรศัพท์มือถือที่จะถ่ายทอดภาพ 3D ออกมาแบบ real-time อีกทั้งยังอัพโหลดข้อมูลขึ้นไปบน cloud service ซึ่งจะทำการจำแนกลักษะต่างๆ และวินิจฉัยภาพให้แบบอัตโนมัติ

โดยคาดว่าในอนาคตนั้นเทคโนโลยี AI จะส่งผลกระทบแก่วงการแพทย์เป็นอย่างมาก เพราะได้มีการพัฒนาระบบติดตามทางการแพทย์ ที่จะช่วยสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยว่าได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือเปล่า โดยจะใช้ระบบจดจำใบหน้าขั้นสูง และซอฟท์แวร์เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวของคนไข้

  • ระบบภูมิคุ้มกันบำบัด

ระบบภูมิคุ้มกันบำบัดนั้นได้สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาความสามารถในระบบภูมิคุ้มกันโรคมะเร็ง รวมถึงยังมีโอกาสที่จะพัฒนาเพื่อรักษาโรคมะเร็งอีกด้วย จุดเด่นของภูมิคุ้มกันชนิดนี้ก็คือ*จะช่วยยืดอายุผู้ป่วยให้ยาวนานมากขึ้น *

โดยคาดว่าจะช่วยเหลือผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งที่รักษายากได้ เช่นโรคมะเร็งไฝ ที่ถือว่าเป็นความต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างมากทางการแพทย์ เพราะมะเร็งไฝเป็นโรคที่มีทางเลือกในการรักษาไม่มากนัก ในขณะที่แต่ละปีกลับมีการตรวจพบผู้ป่วยโรคมะเร็งไฝมากกว่า 160,000 รายทั่วโลก และมียอดผู้เสียชีวิตรายปีสูงถึง 40,000 ราย

พัฒนาการแบบใหม่ของระบบภูมิคุ้มกันชนิดนี้ได้สร้างความหวังให้กับผู้ป่วยมากมาย เพราะ*ภูมิคุ้มกันชนิดนี้จะทำหน้าที่เข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์มะเร็งในร่างกายของเรา *ยังไม่รวมถึงวิธีการรักษาอื่นๆ ได้แก่ การดัดแปลงโมเลกุลรับสัญญาณให้เป็นแบบลูกผสม , การผสมผสานวิทยาการรักษาด้วยยาเก่าและใหม่ เป็นต้น

(cc) timeone.ca
(cc) timeone.ca

 

  • การตรวจพิสูจน์ด้วยของเหลว

การตรวจด้วยของเหลว (Liquid Biopsy) นั้นจะมีความสามารถพิเศษในการสกัดเซลล์มะเร็งออกจากตัวอย่างเลือดธรรมดาได้ และยังมีความสามารถในการรักษาโดยการติดตามดูเซลล์มะเร็งโดยที่เราไม่ต้องเจ็บตัว

*ปัจจุบันการตรวจชิ้นเนื้อซ้ำๆหลายรอบคือสิ่งจำเป็นในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเนื้อร้ายแต่วิธีนี้ก็จะส่งผลต่อผู้ป่วยหากผู้ป่วยร่างกายไม่แข็งแรงเพียงพอ ดังนั้นการตรวจด้วยของเหลวจะสร้างโอกาสให้การวินิฉัยโรคนั้นสะดวกและปล่อยภัยมากยิ่งขึ้น *

โดยจะมุ่งเน้นไปทางการตรวจสอบดีเอ็นเอ และเซลล์มะเร็ง โดยคาดว่าภายในเวลา 2 ปีื การตรวจด้วยของเหลวจะกลายเป็นส่วนสำคัญในการตรวจเนื้อร้ายต่างๆ

เทคโนโลยีนี้ได้รับการยืนยันแล้วว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าการตรวจแบบเดิม  และสามารถจับอาการของโรคได้ก่อนทำการทำซีทีสแกน ซึ่งหัวใจสำคัญของมันก็คือ การที่แพทย์สามารถตรวจมะเร็งได้โดยไม่ต้อง “เข้าถึงตัวมะเร็ง” ซึ่งตรงนี้คือจุดสำคัญที่แตกต่างจากการตรวจพิสูจน์เนื้อเยื่อ

  • ยีนดัดแปลง CRISPR/Cas9

CRISPR/Cas9 คือ เทคนิคการตัดต่อยีนซึ่งสามารถแก้ไขความบกพร่องต่างๆได้อย่างแม่นยำและตรงจุด แม้กระทั่งการตัดต่อ DNA ด้วยความพิเศษเหล่านี้รวมถึงราคาที่ไม่สูง จึงทำให้ *CRISPR/Cas9 *ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิทยาการทางการแพทย์ได้ในระยะเวลาเป็นอันสั้น

ยังรวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ชีวภาพในตลาดที่สำคัญทั่วโลก โดยเทคนิคนี้ถูกปล่อยออกมาในวงการวิจันครั้งแรกในปี 2014 ซึ่งหลายองค์กรต่างนำมันมาใช้เพื่อผลิตเครื่องมือวิจัยและพัฒนาการรักษาโรคอย่าง Sangamo Biosciences เป็นต้น

  • เทคนิคการพิมพ์ 3 มิติ : ตัวพลิกเกมแห่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและอวัยวะ

เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติจะมีประสิทธิภาพมากในวงการสุขภาพ เพราะจะมีคุณสมบัติพิเศษที่แสดงผลเฉพาะตัวบุคคล ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการผ่าตัด และค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นอย่างมาก

ปัจจุบันเทคนิคนี้ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็น การพิมพ์โครงเลี้ยงเซลล์ , การผ่าตัดใส่กระดูกเทียม และเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น ฟันปลอม เครื่องช่วยฟัง หรือแม้กระทั่งการพิมเนื้อเยื่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น ตับ หัวใจ หู มือตา หรือการสร้างเนื้อเยื่อส่วนที่เล็กที่สุด

สิ่งเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะเพื่อซ่อมแซม หรือนำไปเปลี่ยนแทนอวัยวะที่เสียหาย เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนไต

จะเห็นได้ว่าพัฒนาการทางการแพทย์ของพวกเรากำลังจะก้าวไปด้านหน้าอีกขั้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับคนไทยทุกคนที่จะมีภูมิคุ้มกัน และวิธีการป้องกันรักษาโรคภัยต่างๆที่กำลังเข้ามาได้มากขึ้น

แต่สิ่งสำคัญที่มากกว่าก็คือ การดูแลสุขภาพโดยเริ่มต้นที่ตัวเราเอง เช่น การหมั่นออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือการทำประกันภัยสุขภาพ เพื่อให้เราหมั่นเช็คและตรวจสอบสุขภาพของตัวเราบ่อยยิ่งขึ้น ถ้าจะรักตัวเอง มาเริ่มต้นกันที่รักษาสุขภาพก่อนนะคะ 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0