โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ภัยสุขภาพใกล้ปาก! เปิด 6 เมนูอร่อยที่ทำร้ายร่างกายโดยไม่รู้ตัว

LINE TODAY

เผยแพร่ 07 เม.ย. 2563 เวลา 05.17 น. • @mint.nisara

ดัชนีที่ชี้วัดสุขภาพของแต่ละคนนอกจากจำนวนชั่วโมงที่ออกกำลังกาย หรือกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ในชีวิตแล้ว ก็คือพฤติกรรมการกิน อาหารสามารถเป็นยาบำรุงร่างกายให้แข็งแรงขึ้นได้ แต่ในเวลาเดียวกัน การเลือกกินอาหารที่ให้โทษต่อร่างกาย ก็อาจจะทำร้ายสุขภาพของเราให้สึกกร่อนก่อนเวลาได้เช่นกัน อย่างเช่น 6 เมนูแสนอร่อยที่เป็นที่โปรดปรานของหลาย ๆ คน 

กินน้อย ๆ อาจจะดีต่อใจ แต่ถ้ากินมากเกินไป อาจจะทำร้ายร่างกายโดยที่เราไม่รู้ตัว!

1 | ข้าวขาหมู

เมนูที่เพิ่มปริมาณไขมันและคลอเลสเตอรอลให้เ่ราได้อย่างพุ่งพรวดด้วยปริมาณแคลอรี่ 690 กิโลแคลอรี่ต่อหนึ่งจานพูน ๆ และเป็นอันตรายกับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตันอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังอาจมีเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมาในขาหมูอีกด้วย อย่างเช่น สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ซึ่งก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ ทางที่ดีคือควรอุ่นร้อนก่อนทาน หากเลี่ยงได้ พยายามทานให้น้อยที่สุดและเลือกเฉพาะส่วนเนื้อ ถึงจะไม่สะใจเท่าไร แต่ปลอดภัยกับสุขภาพกว่ากันเยอะ!

2 | ปูไข่ดอง

การรับประทานของดิบเป็นอะไรที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ อยู่แล้ว ปูไข่ดอง เมนูสุดโปรดของทุกคน (รวมถึงตัวนักเขียนเองด้วย) ก็เช่นกัน อาจมีเชื้ออีโคไลที่ทำให้เกิดติดเชื้อในลำไส้อาหาร หรือเชื้อซาลโมเนลล่าที่ส่งผลให้อุจจาระร่วง​ ซึ่งนักโภชนาการและแพทย์ต่างก็ออกมาบอกกันว่าน้ำปลาที่เอาไว้ใช้ดองตัวปูก็ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคเหล่านี้ได้ ทางที่ดีคือควรรับประทานนานน๊านนน นาน ๆ ที ดีที่สุด

3 | กุ้งแช่น้ำปลา

อีกหนึ่งจานอาหารทะเลที่อร่อยมากก็จริงแต่ปะปนไปด้วยเชื้อโรคที่ให้โทษกับระบบทางเดินอาหารเป็นอย่างมาก ทั้งเชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส ที่พบได้ในสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล ทำให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรง ปวดหัว อาเจียน มีไข้ และติดเชื้อทางเดินอาหารด้วย หากต้องการทานจริง ๆ คำแนะนำสำหรับการกินกุ้งแช่น้ำปลาคือพยายามเลือกวัตถุดิบที่สด ผ่าเส้นดำออกจากหลังกุ้ง และล้างด้วยน้ำโซดาแช่เย็นก่อนรับประทาน

4 | โดนัท

เมนูที่มีทั้งส่วนผสมของแป้ง น้ำตาล และน้ำมันในปริมาณที่สูงมาก โดยเฉพาะกรดไขมันทรานส์ที่ทำให้ระดับของคอเลสเตอรอลชนิดเลวในร่างกายเพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยจากงานวิจัยของสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม โดนัทที่สุ่มเก็บตัวอย่างจาก 5 ร้านในกรุงเทพฯปริมาณ 100 กรัม มีปริมาณไขมันทรานส์สูงสุดถึง 4.46 กรัม มากกว่าปริมาณที่ควรถูกบริโภคต่อวันที่อยู่แค่ 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค

5 | มันฝรั่งทอด

ทั้งเจ้าเฟรนช์ฟรายส์ รวมไปถึงมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบอัดใส่ห่อที่เราหยุดกินไม่ได้นี่แหละคือแหล่งที่อุดมไปด้วยไขมันทรานส์แฟต คอเลสเตอรอล และโซเดียมชั้นดี มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition ที่เก็บข้อมูลและติดตามเรื่องโรคข้อกระดูกอักเสบและพฤติกรรมการกินของคน 4,440 คน เป็นเวลา 8 ปี โดยในช่วงเวลาที่ทำการวิจัยนี้ มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 236 ราย และนักวิจัยพบว่าคนที่ทานมันฝรั่งทอด 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์มีโอกาสในตายเร็วขึ้นถ้าเทียบกับคนที่ไม่ได้ทานมันฝรั่งทอด

6 | ส้มตำปลาร้า

ส้มตำอาจจะเป็นอาหารขวัญใจของหลาย ๆ คนเพราะทั้งอร่อย กินได้ไม่เบื่อ และแคลอรี่ไม่สูงมากก็จริง แต่ถ้าเป็นสูตรที่ใส่ปลาร้าคั่ก ๆ แล้ว อาจจะให้โทษกลาย ๆ กับสุขภาพของเราได้เลย ทั้งนี้เป็นเพราะขั้นตอนในการหมักปลาร้าที่เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าถูกสุขอนามัยหรือไม่ รวมไปถึงวัตถุดิบที่นำมาใช้ อาจจะเป็นปลาจริง ๆ หรือบางที่อาจจะนำเอางู อึ่งอ่าง หรือปลาปักเป้ามาดองแทนตามที่ข่าวเคยรายงานกัน อาจก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารต่าง ๆ เช่น โรคพยาธิใบไม้ตับ ลำไส้อักเสบ และอาจอันตรายถึงขั้นเป็นมะเร็งท่อน้ำดีก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นข้อแนะนำของคุณหมอในการทานปลาร้าก็คือการต้มให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

แหล่งที่มา

1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 28

  • Nongphan
    โจ ไบเด้น กินมันฝรั่งทอด อายุเท่าไหร่น่ะ78รึปล่าวถ้าจำไม่ผิดดูแข็งแรงกว่าบ่าป้อม
    14 ก.พ. 2564 เวลา 21.03 น.
  • Kittichat P.
    ลูกเนียงมีสารก่อมะเร็ง
    13 เม.ย. 2563 เวลา 23.56 น.
  • BBB
    ไม่มีแดกน่ากลัวกว่า
    13 เม.ย. 2563 เวลา 22.56 น.
  • แม่งมั่ว
    13 เม.ย. 2563 เวลา 22.36 น.
  • Thongchai
    สำเนียงส่อภาษากิริยาส่อสกุลจะเขียนอะไรลงไปภาษาให้มันดูดีหน่อยไม่ใช่เขียนแบบคนสันดานหยาบ
    08 เม.ย. 2563 เวลา 23.13 น.
ดูทั้งหมด