โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นายกฯ กำชับเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง เตรียมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน19-25 พ.ค.นี้

ไทยโพสต์

อัพเดต 20 พ.ค. 2565 เวลา 09.00 น. • เผยแพร่ 20 พ.ค. 2565 เวลา 02.00 น.

นายกฯ ห่วงใยประชาชน กำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวัง เตรียมความพร้อมรับมือพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ช่วงวันที่ 19 – 25 พ.ค.นี้

20พ.ค.2565- ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห่วงใยประชาชนจากสถานการณ์สภาพอากาศ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่าในช่วงระหว่างวันที่ 19 - 23 พฤษภาคม 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ฝนตกเพิ่มขึ้น และตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก รวมทั้ง กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบว่าปริมาณฝนตกสะสมต่อเนื่องอาจส่งผลให้เกิดน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลัน รวมทั้งทำให้พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังอยู่เดิมมีแนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น จึงขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ในช่วงวันที่ 19 – 25 พฤษภาคม 2565 เพื่อเตรียมการรับมือให้ทันต่อสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที เพื่อลดและบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

นายธนกร กล่าวว่า โดยมีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ดังนี้ 1. ภาคเหนือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน ตาก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี 2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บึงกาฬ หนองคาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม 3. ภาคกลาง จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 4. ภาคตะวันออก จังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก ระยอง จันทบุรี และตราด และ 5. ภาคใต้ จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างรัดกุม เพื่อดูแลประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบ ป้องกัน และบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดแก่ประชาชน โดยสั่งการให้ ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ และติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมทั้งเร่งทำการระบายน้ำในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังอยู่เดิม รวมทั้ง เตรียมแผนเผชิญเหตุรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากร และเครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง ตลอดจน ให้มีการประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากจำเป็น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0