โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ” คืออะไร?

THE ROOM 44 CHANNEL

อัพเดต 12 เม.ย. เวลา 14.11 น. • เผยแพร่ 12 เม.ย. เวลา 11.12 น.

“โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ” คืออะไร?

วันที่ 13 เมษายน นี้ นอกจากจะเป็นวันสงกรานต์ หรือ วันขึ้นปีใหม่ไทย ยังถูกกำหนดให้เป็น วันผู้สูงอายุแห่งชาติ เพื่อให้เห็นคุณค่าตระหนักถึงความสำคัญกับ "ผู้สูงอายุ" ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ตามศักยภาพอย่างมีคุณค่า บทความนี้จึงอยากพาคุณผู้อ่านมารู้จักกับ โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เพื่อที่จะได้เฝ้าระวังและดูแลผู้สูงอายุคนในครอบครัวกันค่ะ

หากพูดถึง “โรคซึมเศร้า” หลายคนอาจจะนึกถึงภาพ กลุ่มคนในช่วงอายุวัยรุ่น วัยทำงาน ที่ป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นในช่วงหลังมานี้ แต่รู้หรือไม่คะว่ายังมีอีกหนึ่งกลุ่มที่เราอาจจะนึกไม่ถึง ว่าอาจเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าได้เช่นกันได้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นอันตรายไม่ต่างจากโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้ป่วยที่อายุน้อย เพราะบางทีเราอาจไม่ได้เฝ้าสังเกตอาการหรือพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด คิดว่าอาจเป็นนิสัยปกติทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นเพราะความชรา ซึ่งสุดท้ายอาจนำมาซึ่งความสูญเสียได้ มารู้จักโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อาการ วิธีรักษา ดูแล และวิธีป้องกัน

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (Late-life depression : LLD) คือ โรคทางจิตเวชที่มีอาการหลักเป็นอารมณ์เศร้า บางรายอาจพบมีอารมณ์หงุดหงิดที่มากขึ้น โดยภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุมักพบร่วมกับอาการวิตกกังวล และมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบได้สูงในผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการทางกาย เช่น ปวดเมื่อยบ่อย น้ำหนักลด นอนไม่หลับ เป็นต้น โดยที่แพทย์มักตรวจไม่พบสาเหตุที่สัมพันธ์กับอาการทางกายที่เป็น หาสาเหตุของอาการได้ไม่แน่ชัดและไม่ตรงไปตรงมา

สาเหตุของ “โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ”

ปัจจัยทางชีวภาพ

• พันธุกรรม

• อายุมาก

• เพศหญิง

• มีโรคประจำตัว

• การรับรู้ทางประสาทสัมผัสบกพร่อง เช่น สายตาผิดปกติ หูได้ยินลดลง เป็นต้น

• ความสามารถทางด้านร่างกายและความจำบกพร่อง

• ยาที่รับประทาน

ปัจจัยทางจิตสังคม

• ความเครียด

• ปัญหาด้านเศรษฐกิจ รายได้น้อย

• ขาดแรงสนับสนุนจากสังคม

• มีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว

• การสูญเสีย การเสียชีวิตของบุคคลรอบข้าง โดยเฉพาะการเสียชีวิตของคู่ครอง การสูญเสียตำแหน่งหน้าที่การทำงาน สูญเสียการได้รับการเคารพ

บุคลิกภาพบางอย่าง เช่น ลักษณะย้ำคิดย้ำทำ วิตกกังวล

อาการของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

• อ่อนเพลีย

• วิตกกังวล

• นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป

• เบื่ออาหารหรือรับประทานมากเกินไป

• สมรรถภาพทางเพศลดลง

• เคลื่อนไหวช้าลงหรือกระสับกระส่าย

• สมาธิลดลง

• ความสามารถในการตัดสินใจลดลง

โทษตัวเอง

• คิดว่าตนเองไร้ค่า

• สิ้นหวังท้อแท้

• คิดอยากตาย พยายามฆ่าตัวตาย

• แยกตัว ไม่อยากเข้าสังคม ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง

หลงผิด ประสาทหลอน

โรคซึมเศร้าผู้สูงอายุอาจเป็นโรคอันตรายได้ เพราะหากผู้สูงอายุได้รับการรักษาล่าช้า มักทำให้สมรรถภาพทางกายและใจถดถอยได้อย่างรวดเร็ว ต้องใช้ระยะเวลาในการกลับสู่ภาวะปกติ และทำให้เกิดโอกาสในการกลับมาเป็นโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุซ้ำสูง และมักดื้อต่อการรักษา

โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วยแล้ว ผลจากโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุจะยิ่งทำให้โรคทางกายเลวร้ายลงได้ เนื่องจากผู้สูงอายุมักไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา จึงทำให้การรักษาเป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่งขึ้น และผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นสูงและเพิ่มจำนวนวันในการนอนโรงพยาบาลนานกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้มีโรคซึมเศร้าร่วม

นอกจากนี้ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า แม้จะมีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายต่ำกว่าช่วงวัยทั่วไป แต่มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงบุคคลใกล้ชิดในครอบครัวจึงต้องระวังเป็นอย่างมาก

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bedee.com/articles/mental-health/depression-in-elderly

ผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าโรคซึมเศร้าผู้สูงอายุไลฟ์สไตล์

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0