โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

นักวิจัยตามติด วาฬเพชฌฆาต พบไล่ฉลามขาว ให้พ้นถิ่น ล่ากินตับก็มี

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 02 ก.ค. 2565 เวลา 21.10 น. • เผยแพร่ 02 ก.ค. 2565 เวลา 22.08 น.
orca white shark7

พยายามหาคำตอบอยู่นานว่าทำไมฉลามขาวในแถบชายฝั่งของแอฟริกาใต้ถึงลดฮวบหายไป ล่าสุด นักวิจัยพบปมหนึ่งที่ส่งผลกระทบมาก มาจากวาฬเพชฌฆาตคู่หนึ่งไล่ฉลามและล่าเป็นอาหารด้วย

วันที่ 2 กรกฎาคม 2565 ซีเอ็นเอ็น รายงานผลการศึกษาของนักวิจัยแอฟริกาใต้ ที่เฝ้าติดตามระบบนิเวศทางทะเล พบเหตุการณ์ วาฬออร์กา หรือ วาฬเพชฌฆาต คู่หนึ่ง ขับไล่ฉลามขาวออกจากชายฝั่ง หลังจากฆ่าฉลามวัยรุ่นไป 5 ตัว และกินตับเป็นอาหาร

ผลการศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร African Journal of Marine Science พบว่าพวกฉลามขาวอาศัยอยู่พื้นที่ชายฝั่งแกนส์บาย (Gansbaai) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเคปทาวน์ ไปทางตะวันออก ราว 100 กิโลเมตร

ชายฝั่งแกนส์บายเคยเป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับการชมฉลามขาว แต่ต่อมาหาดูลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การศึกษานี้ใช้ข้อมูลการพบเห็นและการติดแท็กในระยะยาวเพื่อแสดงให้เห็นว่าวาฬเพชฌฆาตออกล่าฉลามขาวจำนวนมาก

ยิ่งฉลามละอ่อนถูกล่า ยิ่งส่งผลร้าย

ยิ่งเมื่อวาฬเพชฌฆาตมุ่งล่าฉลามที่อ่อนวัย ยิ่งส่งผลสะเทือนต่อประชากรฉลาม เพราะฉลามเป็นสัตว์ที่เติบโตช้า และมีจังหวะที่โตเต็มที่ตอนช่วงปลายของชีวิตแล้ว

เมื่อนักวิจัยวิเคราะห์ซากฉลามขาว 5 ตัวที่ถูกซัดเกยฝั่ง พบว่า 4 ตัว ถูกกินตับที่อุดมด้วยสารอาหารของพวกมัน และอีกตัวหนึ่งถูกกัดหัวใจออกมาด้วย พวกเขาทั้งหมดมีบาดแผลที่เกิดจากปลาวาฬเพชรฆาตคู่เดียวกัน

นักวิจัยทราบมาก่อนว่า อุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลมีผลต่อชีวิตฉลามขาว แต่ผลกระทบที่เห็นชัดจากการหาชมฉลามขาวในมะเลแล้วหาได้ยากมาก เริ่มเมื่อปีต้นปี 2017 (พ.ศ. 2560) โดยหาคำอธิบายไม่ได้ นักวิจัยจึงเริ่มศึกษาอย่างจริงจัง คำอธิบายอื่น ๆ อาจรวมถึงการล่าฉลามขาวของมนุษย์ และจำนวนเหยื่อของฉลามที่ลดลง แต่ก็ไม่อาจตอบคำถามได้ว่า เหตุใดจำนวนถึงลดลงอย่างรวดเร็วเฉพาะในถิ่นนี้

ฉลามขาวหนีออกจากถิ่น

การศึกษาอีกชิ้นเมื่อปี 2016 (พ.ศ.2559) พบว่า จำนวนฉลามขาวเหลืออยู่ในแอฟริกาใต้เพียงไม่กี่ร้อยตัว เมื่อเทียบกับที่เคยประเมินไว้ว่าอยู่ที่หลักพัน ส่วนผลการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ เนื้อเยื่อฉลาม พบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมของฉลามขาวในแอฟริกาใต้ มีต่ำมากอย่างชัดเจน ทำให้พวกมันไม่อาจรับมือกับสถานการณ์พลิกผันภายนอก เช่น เชื้อโรค หรือความเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมได้

อลิสัน ทาวเนอร์ หัวหน้าทีมวิจัย นักวิจัยอาวุโสด้านชีววิทยา ประจำสถาบัน Dyer Island Conservation Trust กล่าวว่า หลังจากวาฬเพชฌฆาตโจมตีฉลาม นักวิจัยไม่พบพวกฉลามขาวเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน

“จากการศึกษาติดตามฉลามขาว 14 ตัวในระยะเวลา 5 ปีครึ่ง พบว่าพวกฉลามขาวหนีออกจากพื้นที่เมื่อวาฬออร์กาอยู่ที่นั่น ด้วยสัญชาตญาณของพวกมัน คล้ายกับที่สุนัขป่าในเซเรนเกติ หลีกเลี่ยงบางพื้นที่เมื่อมีสิงโตอยู่” ทาวเนอร์ กล่าว

ความเปลี่ยนแปลงด้านระบบนิเวศ

ก่อนหน้าเหตุการณ์วาฬเพชฌฆาตไล่ล่าฉลามขาว นักวิจัยเห็นว่า ฉลามขาวแถวแกนส์บายอาจจะหายไปบ้าง แต่เป็นช่วงเวลาสั้นๆ เพียงหนึ่งสัปดาห์ เมื่อปี 2007 เทียบกับปี 2016 ซึ่งหายไปถึงสามสัปดาห์ แสดงถึงการหายไปอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเปลี่ยนระบบนิเวศในบริเวณดังกล่าว

นักวิจัยยังพบว่า ฉลามวาฬสีบรอนซ์ ซึ่งเป็นนักล่าระดับกลางปรากฏให้เห็น และพวกมันถูกวาฬเพชฌฆาตล่าเช่นกัน ซึ่งบ่งบอกถึงระดับของประสบการณ์และทักษะของวาฬในการล่าฉลามขนาดใหญ่

“ลักษณะนี้คือผลกระทบแบบบนลงล่าง และเรายังเจอแรงกดดันจากล่างขึ้นบนด้วย จากการที่หอยทากขนาดใหญ่ แอบบะโลน หายไปมากขึ้น ซึ่งหอยทากเหล่านี้เป็นตัวกินสาหร่ายทะเลสีน้ำตาล และเป็นตัวเชื่อมโยงสัตว์ทะเลไว้ด้วยกัน

ฉะนั้นเรื่องนี้จึงเป็นแรงกดดันอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศ และผลกระทบจากการที่วาฬออร์กาขับไล่ฉลามขาวออกก็ยิ่งปรากฏเป็นวงกว้างมากขึ้น” ทาวเนอร์กล่าว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น