โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

27 สิงหาคม 2498 หนังสือ The Guinness Book of Records ฉบับแรก ได้รับการตีพิมพ์ ในสหราชอาณาจักร

TOJO NEWS

เผยแพร่ 27 ส.ค. 2564 เวลา 07.33 น. • digivalve

ภาพจาก Our history | Guinness World Records

The Guinness Book of Records หนังสือที่บันทึกข้อมูลและสถิติ ที่สุดของโลกในด้านต่าง ๆ
เป็นหนังสือรายปี ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงตลอด 60 กว่าปีที่ผ่านมา

จุดเริ่มต้นของหนังสือเล่มนี้เริ่มมาจาก เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เซอร์ฮิวจ์ บีเวอร์
ผู้จัดการโรงงานผลิตเบียร์กินเนสส์ ได้รับเชิญให้ไปร่วมงานกีฬายิงนก ที่ละแวก North Slob
ข้างแม่น้ำสลานีย์ ในเคาน์ตี้ เว็กซ์ฟอร์ด ประเทศไอร์แลนด์ หลังจากพลาดช็อตเด็ด
ในการยิงนกหัวโตหลังจุดสีทอง เซอร์ฮิวจ์ และก๊วนนักยิงนก ก็เกิดการโต้เถียงกันว่า
นกอะไรที่บินเร็วที่สุดในยุโรป นกหัวโตหลังจุดสีทองหรือนกกระยางแดง กันแน่
การถกเถียงเป็นไปอย่างจริงจัง จนถึงตอนนั่งกินมื้อเย็นที่ Castlebridge House
ก็ยังไม่มีข้อยุติ
หลังผ่านการโต้แย้งถกเถียงกันอย่างหน้าดำคร่ำเครียด เซอร์ฮิวจ์ บีเวอร์ ก็เกิดความคิดขึ้นในใจว่า
จะต้องมีเรื่องราว อีกมากมายหลายประเด็น ที่จะเป็นหัวข้อให้ผู้คนได้ถกเถียงกันได้ทุกคืน
แต่ ณ เวลานั้น ยังไม่มีการบันทึกข้อเท็จจริงและสถิติต่างๆ เป็นหลักฐาน เอาไว้ให้ใช้อ้างอิง
เซอร์บีเวอร์ จึงเกิดความคิดว่า หากมีหนังสือที่รวบรวมข้อเท็จจริง และสถิติต่างๆเอาไว้ใช้
สำหรับเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง เพื่อตอบคำถามเหล่านี้ คงจะดีไม่น้อย

เซอร์ฮิวจ์ บีเวอร์ ผู้จัดการโรงงานผลิตเบียร์กินเนสส์ ภาพจาก guinnessworldrecords.com
เซอร์ฮิวจ์ บีเวอร์ ผู้จัดการโรงงานผลิตเบียร์กินเนสส์ ภาพจาก guinnessworldrecords.com

3 ปีผ่านไป ความคิดของเซอร์ฮิวจ์ บีเวอร์ ก็เริ่มเป็นจริง เมื่อคริสโตเฟอร์ ชาทาเวย์
ซึ่งในขณะนั้นทำงานอยู่ที่โรงงานเบียร์กินเนสส์ ได้แนะนำพี่น้องฝาแฝด
นอร์ริสและรอส แมคเวอร์เตอส์ อดีตเพื่อนร่วมชั้นในมหาวิทยาลัย ให้เซอร์ฮิวจ์ บีเวอร์ ได้รู้จัก
เนื่องจากพี่น้องคู่นี้ทำงานด้านเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆอยู่ในกรุงลอนดอน เซอร์ฮิวจ์ บีเวอร์
จึงได้มอบหมายภาระกิจให้สองพี่น้องฝาแฝดไปดำเนินการ
จนในที่สุด หนังสือรวบรวมข้อเท็จจริง และสถิติต่างๆ ก็ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรก
ในเดือนสิงหาคม 2497 โดยตีพิมพ์ออกมาจำนวน 1 พันเล่ม เพื่อแจกจ่าย
ให้แก่คนสนิทที่รู้จักมักคุ้นกันในเบื้องต้น โดยหนังสือเล่มนี้ใช้ชื่อว่า
“Guinness Book of Records” ชื่อหนังสือมาจากโรงงานผลิตเบียร์ของเซอร์ฮิวจ์ บีเวอร์ นั่นเอง

นอร์ริสและรอส แมคเวอร์เตอส์ พี่น้องฝาแฝดผู้จัดทำหนังสือ Guinness Book of Records ภาพจาก https://www.theguardian.com/ Photograph : David Graves/Rex Features
นอร์ริสและรอส แมคเวอร์เตอส์ พี่น้องฝาแฝดผู้จัดทำหนังสือ Guinness Book of Records ภาพจาก https://www.theguardian.com/ Photograph : David Graves/Rex Features

ถัดมาอีกปี จึงมีการก่อตั้งสำนักงานเพื่อผลิตหนังสือ Guinness Book of Records
ที่อาคารเลขที่ 107 บนถนน Fleet Street ในกรุงลอนดอน
หนังสือ Guinness Book of Records ฉบับพิมพ์เพื่อวางจำหน่ายครั้งแรก
มีความหนา 198 หน้า ออกวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2498
ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง จนขึ้นไปอยู่ในอันดับต้น ๆ รายชื่อหนังสือขายดี
ของอังกฤษ ในช่วงคริสต์มาสของปีนั้น

เนื่องจากหนังสือได้รับความนิยมป็นอย่างสูง จึงมีการพิมพ์ข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ
ทุกครั้งที่ตีพิมพ์ใหม่ จนในที่สุดจึงต้องใช้วิธี อัพเดทข้อมูลใหม่ๆให้หนังสือปีละครั้ง
โดยจะพิมพ์ฉบับใหม่ ในช่วงเดือนกันยายน/ตุลาคม เพื่อให้ทันขายในช่วงคริสต์มาส

สองพี่น้อง แมคเวอร์เตอส์ ทำหน้ารวบรวมข้อมูลอยู่หลายปี ก่อนที่ภายหลัง
รอส แมคเวอร์เตอส์ จะเสียชีวิตจากการถูกลอบสังหารโดยสมาชิกขบวนการกู้ชาติของไอริช
ในปี 2518 นอร์ริส แมคเวอร์เตอส์ จึงรับหน้าที่เพียงผู้เดียวมานับแต่นั้น
ในปี 2499 มีการเปิดตัวหนังสือในสหรัฐอเมริกา โดยสามารถขายได้มากถึง 70,000 ชุด
ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อ เป็น The Guinness World Records
ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ จำหน่ายไปแล้วมากกว่า 100 ล้านเล่มใน 100 ประเทศใน 37 ภาษา

The Guinness Book of Superlatives ฉบับพิมพ์ครั้งแรกเพื่อวางจำหน่ายในอเมริกา ปี 2499
The Guinness Book of Superlatives ฉบับพิมพ์ครั้งแรกเพื่อวางจำหน่ายในอเมริกา ปี 2499

The Guinness World Records ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกามาอย่างต่อเนื่องอีกหลายปี
โดยสำนักพิมพ์ Sterling Publishing เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือ
กลุ่มนี้มี Guinness PLC เป็นเจ้าของ ต่อมากลุ่ม Diageo ก็เข้ามาถือสิทธิ์จนถึงปี 2544
กลุ่ม Gullane Entertainment ก็เข้ามาซื้อกิจการในราคา 65 ล้านดอลลาร์ ก่อนที่ต่อมา จะขายกิจการ
ให้กับกลุ่ม HIT Entertainment ในปี 2545 กลุ่ม HIT Entertainment บริหารอยู่ได้ไม่นาน
ในปี 2551 กลุ่ม Apax Partners ได้เข้าซื้อกิจการของ HIT อีกทีและได้ขายต่อลิขสิทธิ์
Guinness World Records ให้กับกลุ่ม Jim Pattison Group ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ
Ripley Entertainment ในต้นปี 2553
ต่อมาภายหลังกลุ่ม Ripley Entertainment จึงเปิด Guinness World Records’ Attractions
ในรูปแบบสวนสนุกตามแนวถนัดของตัวเอง มีสำนักงานอยู่ที่กรุงนิวยอร์กและที่โตเกียว

ปัจจุบันสำนักงานใหญ่ของ Guinness World Records ตั้งอยู่ในกรุง ลอนดอน
ส่วนตัวพิพิธภัณฑ์และสถานที่ท่องเที่ยว ตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของ Ripley ในเมืองออร์ลันโด
รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา

Guinness World Records ฉบับปัจจุบัน ประจำปี 2021
Guinness World Records ฉบับปัจจุบัน ประจำปี 2021
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0