โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

หญ้าหวาน (Stevia)

HonestDocs

อัพเดต 21 ก.ย 2562 เวลา 21.32 น. • เผยแพร่ 21 ก.ย 2562 เวลา 21.32 น. • HonestDocs
หญ้าหวาน (Stevia)
หญ้าหวาน สรรพคุณคืออะไร? มี งานวิจัย รับรองไหม? มีวิธีกินอย่างไร? ช่วยกระตุ้นอินซูลิน รักษาเบาหวานได้จริงหรือ? หญ้าหวาน อันตรายไหม? โทษของหญ้าหวานมีอะไรบ้าง?

หญ้าหวาน หรือสตีเวีย (Stevia) พืชสมุนไพรทางเลือกใหม่สำหรับใช้ทดแทนความหวานของน้ำตาล และกำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพ เพราะเชื่อว่ารับประทานแล้วไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย ทั้งยังให้รสชาติหวานเหมือนกัน หญ้าหวานดีกว่าน้ำตาลอย่างไร มีผลเสียต่อสุขภาพหรือไม่ วันนี้ HonestDocs จะมาไขข้อข้องใจให้เหล่าคนรักสุขภาพกัน   

หญ้าหวานคืออะไร?

หญ้าหวานเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย คล้ายต้นโหระพา มีดอกเป็นช่อสีขาว ความสูงประมาณ 30-90 ซม. มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศบราซิลและปารากวัย ต่อมาในประเทศไทยได้เริ่มนำพืชชนิดนี้มาปลูกในภาคเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสภาพอากาศเย็น เหมาะแก่การเจริญเติบโตของหญ้าหวาน

การใช้หญ้าหวานเริ่มจากการนำมาสกัดเพื่อใช้ผสมในเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ และอาหารชนิดต่างๆ เช่น เต้าเจี้ยว ซีอิ้ว ผักดอง เนื้อปลาบด เป็นต้น โดยมีคุณสมบัติให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10-15 เท่า ส่วนสารสตีวิโอไซด์ที่สกัดได้จากหญ้าหวานนั้น มีความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 200-300 เท่า และยังเป็นความหวานที่ไม่ให้พลังงานอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงนิยมนำหญ้าหวานมาใช้ทดแทนความหวานของน้ำตาลนั่นเอง

ประโยชน์ของหญ้าหวาน

หญ้าหวานไม่มีแคลอรี่ หรือหากมีก็มีน้อยมาก ในขณะที่น้ำตาลเพียง 2 ช้อนชา จะให้พลังงานถึง 30 แคลอรี่ และคาร์โบไฮเดรต 8 กรัม จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในด้านต่างๆ อีกมากมาย

  • ลดน้ำตาลในเลือด ด้วยคุณสมบัติที่ปราศจากพลังงาน ร่างกายสามารถขับออกมาได้ทันที นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าหญ้าหวานอาจช่วยเพิ่มการผลิตอินซูลินและกระตุ้นการทำงานของอินซูลินให้ดีขึ้นได้ ทำให้หญ้าหวานเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่รักสุขภาพทั้งหลาย แต่ก็ยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในคนต่อไปเพื่อยืนยันประสิทธิภาพในข้อนี้ด้วย
  • ลดความเสี่ยงต่อหลายๆ โรค หญ้าหวานสามารถช่วยลดไขมันในเลือดและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันโรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วน และโรคความดันโลหิตสูง
  • บำรุงตับและบำรุงกำลัง โดยใช้ทดแทนเกลือแร่ในผู้ที่มีภาวะขาดน้ำ
  • ช่วยเพิ่มความหวานให้อาหาร ไม่ต้องใช้น้ำตาล หรือใช้น้ำตาลน้อยลง แต่ยังมีความหวานเท่าเดิม
  • นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ เช่น นำใบหญ้าหวานมาอบแห้ง แล้วใช้ทั้งใบหรือนำมาบดสำหรับใช้ชงชา หรือนำใบมาอบแห้งบดใช้แทนน้ำตาล เหมาะสำหรับใส่ในน้ำอัดลม ชาเขียว ขนม แยม ไอศกรีม หมากฝรั่ง หรือซอสปรุงรสก็ได้ 
  • สามารถทนความร้อนได้ดี เมื่อนำมาใช้กับอาหารจึงไม่เน่าเสียง่าย และแม้จะผ่านความร้อนนานๆ ก็ไม่ทำให้อาหารเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • ใช้แทนน้ำตาลในยาสีฟัน นอกเหนือจากการใช้ในอาหาร ปัจจุบันยังมีการนำสารสตีวิโอไซด์ที่สกัดจากหญ้าหวานไปใช้เป็นส่วนผสมในยาสีฟันแทนน้ำตาลด้วย 

อันตรายจากการใช้หญ้าหวาน

หญ้าหวานถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นเวลายาวนาน ในขณะเดียวกันก็มีการวิจัยมากมายที่พยายามหาคำตอบว่าพืชชนิดนี้มีอันตรายหรือไม่ โดยบางงานวิจัยกล่าวว่าการบริโภคหญ้าหวานในปริมาณมากจะทำให้จำนวนสเปิร์มลดลง และอาจทำให้เป็นมะเร็งได้ จนมีอยู่ช่วงหนึ่งที่องค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) สั่งห้ามใช้เป็นสารปรุงแต่งในอาหาร

ต่อมาได้มีการทดลองค้นคว้าถึงข้อเสียและพิษของหญ้าหวานซ้ำหลายครั้ง ผลที่ได้พบว่าไม่มีพิษ หรืออาจมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น องค์การอนามัยโลกจึงประกาศว่าการใช้พืชชนิดนี้ไม่ได้เป็นอันตรายแต่อย่างใด

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2009 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศและให้การยอมรับว่าหญ้าหวานเป็นพืชที่ปลอดภัย ส่วนในประเทศไทยเองก็มีทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ศึกษาถึงผลเสียและอันตรายของหญ้าหวาน ซึ่งได้ให้ข้อสรุปว่ามีความปลอดภัย สามารถใช้บริโภคเพื่อทดแทนความหวานของน้ำตาลได้  

วิธีใช้หญ้าหวาน

  • แบบชงเป็นชา ต้มน้ำร้อนแต่ไม่ต้องเดือดจัด ใส่ชาหญ้าหวาน 1-2 ใบ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที ค่อยดื่ม หากเป็นกาน้ำประมาณ 150-200 มิลลิลิตร ควรใส่ประมาณ 3-4 ใบ โดยการแช่หญ้าหวานในน้ำอุ่นนานๆ จะยิ่งช่วยเพิ่มความหวานให้มากขึ้น
  • แบบสำหรับใส่เครื่องดื่ม ทำเช่นเดียวกับแบบแรก แต่กรองเอากากใบชาทิ้ง แล้วนำน้ำที่ได้ไปชงกาแฟหรือเครื่องดื่มตามต้องการเพื่อเพิ่มความหวาน

แม้ว่าการศึกษาในปัจจุบันจะไม่พบว่าการใช้หญ้าหวานเป็นอันตรายแก่ร่างกาย แถมยังเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพทดแทนน้ำตาลได้เป็นอย่างดี แต่อย่าลืมว่าอะไรที่มากเกินไปก็ย่อมไม่ดี ดังนั้น การใช้หญ้าหวานก็ยังคงต้องคำนึงถึงปริมาณที่เหมาะสมด้วย เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและมั่นใจได้ว่าปลอดภัยต่อสุขภาพจริงๆ

👨‍⚕️⚕️👩‍⚕️⚕️ ค้นหาโรค อาการ ยา โรงพยาบาล คลินิก และอ่านบทความสุขภาพ เขียนโดยคุณหมอหรือผ่านการรีวิวจากคุณหมอแล้ว ที่ www.honestdocs.co และ www.honestdocs.id 

💪❤️ ไม่พลาดข้อมูลดีๆ ที่จะทำให้คุณแข็งแรงขึ้นทั้งกายและใจ คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์ @honestdocs หรือแสกน QR Code ด้านล่างนี้ และยังติดตามเราได้ที่ Facebook และ Twitter วันนี้

📱📰 โหลดแอป HonestDocs สำหรับ iPhone หรือ Android ได้แล้ววันนี้! จะอ่านบทความ จะเก็บบทความไว้อ่านทีหลัง หรือจะแชร์บทความให้คนที่เราเป็นห่วง ก็ง่ายกว่าเดิมเยอะ

เปรียบเทียบดีลสุขภาพ ทำฟัน และความงาม จาก รพ. และคลินิกกว่า 100 แห่ง พร้อมจองคิวผ่าน HonestDocs คุณหมอมือถือได้เลยวันนี้ ถูกกว่าไปเอง

ขอบคุณที่วางใจ ทุกเรื่องสุขภาพอุ่นใจ ให้ HonestDocs (ออเนสด็อกส์) คุณหมอมือถือ ดูแลคุณ ❤️

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0