โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

กลอนแปด คืออะไร? ลักษณะแผนผังกลอนแปด ที่ควรรู้

MThai.com

เผยแพร่ 15 พ.ค. 2562 เวลา 04.07 น.
กลอนแปด คืออะไร? ลักษณะแผนผังกลอนแปด ที่ควรรู้
กลอนแปด ที่เรียนและท่องจำกันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษา แต่หลายคนก็คืนความรู้คุณครูกันไปหมดแล้ว เพราะไม่ค่อยได้นำมาใช้

กลอนแปด ที่เรียนและท่องจำกันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษา แต่หลายคนก็คืนความรู้คุณครูกันไปหมดแล้ว เพราะไม่ค่อยได้นำมาใช้ วันนี้ทีนเอ็มไทยขอนำความรู้เรื่องกลอน กลอนแปดคืออะไร? ลักษณะแผนผังกลอนแปด ที่ควรรู้ บทหนึ่งมีกี่บาท การสัมผัสนอกสัมผัสใน และการกำหนดเสียงคำท้ายวรรคสำคัญใช้เสียงไหนได้ไม่ได้ มาติดตามกันเลยค่ะ

กลอนแปด คืออะไร?

กลอนแปด คือ คำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส หนึ่งในรูปแบบของกลอนแปดก็คือ รูปแบบกลอนแปดของสุนทรภู่ ซึ่งความแพรวพราวด้วยสัมผัสใน และขนบดังกล่าวนี้ก็ได้รับการสืบทอดต่อมาในงานกวีนิพนธ์ยุคหลังๆ กระทั่งปัจจุบัน

ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 8 พบครั้งแรกในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งค้นพบกันว่าจังหวะและลีลาลงตัวที่สุด จึงมีคนแต่งแบบนี้มากที่สุด และผู้ที่ทำให้กลอน 8 รุ่งเรืองที่สุดคือท่าน สุนทรภู่ ที่ได้พัฒนาเพิ่มสัมผัสอย่างเป็นระบบ ซึ่งใกล้เคียงกับกลบทมธุรสวาทีในกลบทศิริวิบุลกิตติ์

ลักษณะแผนผังกลอนแปด

กลอนแปด บทหนึ่งประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 8 คำ (ลองนับ 8 คำจริงไหม?) ตามผัง ดังนี้

การสัมผัสนอก คือ ให้มีสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายวรรคหน้ากับคำที่สามของวรรคหลังของทุกบาท และให้มีสัมผัสระหว่างบาทคือคำสุดท้ายของวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบท กำหนดให้คำสุดท้ายของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สองของบทถัดไป

การสัมผัสใน คือ ไม่บังคับ แต่หากจะให้กลอนสละสลวยควรมีสัมผัสระหว่างคำที่สามกับคำที่สี่ หรือระหว่างคำที่ห้ากับคำที่หกหรือคำที่เจ็ดของแต่ละวรรค

หลักการใช้เสียงวรรณยุกต์

  • คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ใช้เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่ไม่นิยมเสียงสามัญ
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ห้ามใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี นิยมใช้เสียง จัตวา เป็นส่วนมาก
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ห้ามใช้เสียง เอก โท จัตวา นิยมใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ห้ามใช้เสียง เอก โท จัตวา นิยมใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี

ตัวอย่างกลอน 8

       อตีเตแต่นานนิทานหลัง                    มีนกรังหนึ่งกว้างสำอางศรี

ชื่อจัมบากหลากเลิศประเสริฐดี         เจ้าธานีมียศกิต์มหิศรา

          ดำรงภพลบเลิศประเสริฐโลกย์         เปนจอมโจกจุลจักรอรรคมหา

      อานุภพปราบเปรื่องกระเดื่องปรา-       กฎเดชาเป็นเกษนิเวศน์เวีย

– นิราศภูเขาทอง – สุนทรภู่

ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์               มีคนรักรสถ้อยอร่อยจัด

แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร                        จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น