โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ไทยขาดแคลนบุคลากรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หนัก ม.ขอนแก่น เปิดหลักสูตรใหม่รองรับ

ไทยโพสต์

อัพเดต 07 มี.ค. 2566 เวลา 07.51 น. • เผยแพร่ 07 มี.ค. 2566 เวลา 00.51 น.

7 มี.ค. 2566 - นายนิพนธ์ นาชิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า ในปัจจุบันช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ถูกใช้งานมากที่สุดในโลกคือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต จากข้อมูลผลสำรวจ พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2565 โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) พบว่า 10 อันดับแรกของกิจกรรมออนไลน์ยอดฮิตอันดับแรกของคนไทย คือ การขอรับคำปรึกษาและรับบริการทางการแพทย์ (e- Health) โดยเฉพาะการจองคิวขอรับบริการทางการแพทย์ออนไลน์ มีผู้เลือกตอบมากที่สุด ถึง 86.16% อาจเป็นเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงทำให้คนสนใจและหันมาจองคิวรับวัคซีน ตรวจหาเชื้อ และปรึกษาแพทย์ผ่านทางออนไลน์มากขึ้น หรือเพื่อลดเวลาที่ต้องใช้ในโรงพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19

รองลงมาคือ การติดต่อสื่อสาร (65.70%) ดูรายการโทรทัศน์/คลิป/ดูหนัง/ฟังเพลง (41.51%) ดูถ่ายทอดสดเพื่อซื้อสินค้าและบริการ (Live Commerce) (34.10%) ทำธุรกรรมทางการเงิน (e-Payment) (31.29%) อ่านโพสต์/ข่าว/บทความ/หนังสือออนไลน์ (29.51%) รับ-ส่งอีเมล (26.62%) ชอปปิงออนไลน์ (24.55%) ทำงาน/ประชุมออนไลน์ (20.67%) และเล่นเกมออนไลน์ (18.75%) ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าอินเทอร์เน็ตถูกใช้ในการสื่อสารในทุกลักษณะ ทำให้โครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ตถือเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อความมั่นคง ทั้งเศรษฐกิจและสังคมของชาติ

อย่างไรก็ตามเนื่องจากอินเทอร์เน็ตถูกออกแบบภายใต้แนวคิดการเข้าถึงอย่างเสรี ทำให้เกิดเป็นช่องทางเปิดให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาโจมตีแสวงหาผลประโยชน์และมุ่งเป้าประสงค์ร้ายต่อข้อมูล องค์กรหรือบุคคลอื่น โดยเรียกภัยคุกคามในลักษณะนี้ว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนตั้งแต่ข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลส่วนบุคคลและทรัพย์สินทางดิจิทัลของประชาชน ด้วยเหตุนี้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จึงถือเป็นศาสตร์ใหม่ที่เข้ามามีบทบาทต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสวัสดิภาพของประชาชน

รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จึงได้ตราพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดนโยบาย มาตรการ แนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ มิให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ รวมทั้งจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เพื่อเป็นหน่วยงานรับผิดชอบงานตามพระราชบัญญัติ และประสานการปฏิบัติงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในสถานการณ์ทั่วไปหรือสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง อันจะทำให้การป้องกันและการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่ารัฐบาลจะได้มีการจัดตั้งหน่วยงานด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ขึ้นมาเฉพาะ แต่ปัญหาสำคัญในประเทศคือการขาดแดลนบุคคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อ้างอิงจากผลสำรวจไทยแลนด์ ดิจิทัล เอาต์ลุค 2020 พบว่าประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์กว่า 1 แสนอัตรา โดยบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนเป็นบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology - IT) ที่ยังขาดความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ที่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ "ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้คนไทยมีความสุข สังคมมั่นคง ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ มียุทธศาสตร์ที่ 3 โดยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้มีการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม(Transformation of Learning) สอดคล้องกับแนวคิดการจัดการศึกษา (Conceptual Design) ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ การกำหนดวิสัยทัศน์เชิงนโยบายของรัฐที่ต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ด้วย Thailand 4.0 จำเป็นต้องมีการพัฒนา New S-Curve ซึ่งเป็นรูปแบบของการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ เกิดการเปลี่ยนรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยี รวมทั้งนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มียุทธศาสตร์ที่ 5 โดยมีความต้องการในการพัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลโดยเฉพาะบุคลากรในวิชาชีพด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพ ซึ่งประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่จะตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยในไซเบอร์ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญที่นำประเทศไทย ไปสู่ Thailand 4.0 การพัฒนาหลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับปริญญาตรีจึงถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อเป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและผู้เชี่ยวชาญให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานในประเทศเป็นสำคัญ

สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2563-2566 ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแผนในการบริหารและพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย มีเป้าหมาย นโยบาย และพันธกิจ ที่ทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ (Transformation) โดยการจัดทำ KKU Transformation ทั้งด้านการจัดการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ การบริหารทรัพยากรบุดคล และด้านการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้มหาวิทยาลัยยังคงมีความก้าวหน้า และการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืนในท่ามกลางวิกฤติอุดมศึกษาไทยที่เกิดจากเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ( Disruptive Technology) และตระหนักถึงอัตราการเกิดที่ลดลงของเด็กไทย โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและ/หรือการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย รวมถึงการพัฒนากำลังคนทางด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล ที่มีความต้องการของตลาดแรงงานสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

การพัฒนาหลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อรองรับการสร้างกำลังคนให้ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและ องค์กรต่าง ๆ ให้เป็นหลักสูตรที่จะสามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้าน ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่มีความสอดคล้องกับแนวโน้มการตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตซึ่ง สอดคล้องกับนโยบายหลักในระดับประเทศ รวมถึงมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อการส่งเสริมและการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในการรองรับการให้บริการทางด้านธุรกิจ เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทางทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อให้รองรับความต้องการในตลาดแรงงาน และเพื่อสร้างสรรค์การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ในด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและสอดรับกับนโยบายการพัฒนาดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศไทยต่อไป

การพัฒนาหลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีกรอบองค์ความรู้อย่างเป็นระบบจะทำให้เกิดการสนับสนุนการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ หลักสูตรนี้จึงมีเป้าหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถครอบคลุมทั้งภาทฤษฎีและ การฝึกทักษะในภาคปฏิบัติทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อให้สามารถประยุกต์องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานจริงได้ โดยมีความร่วมมือกับหลายภาคส่วน การออกแบบเนื้อหาที่เน้นการเรียนรู้ถูกับการปฏิบัติงานการพัฒนาทักษะให้เป็นที่ต้องการตามมาตรฐานใบรับรองวิชาชีพระดับสากล การฝึกปฏิบัติโดยใช้โจทย์จากสถานะการจริงในภาคอุตสาหกรรม และการส่งเสริมรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมถึงภาครัฐและภาดอุตสาหกรรม ในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านโครงงาน โดรงการวิจัยการฝึกงาน และ การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0