แมงดาถ้วย-แมงดาจาน ต่างกันอย่างไร? ระวังกิน "แมงดาทะเล" ผิดชนิดอาจได้รับพิษร้ายถึงตายได้
กรณีที่มีประชาชนจำนวน2 คน ในจังหวัดตราดได้รับประทานยำไข่แมงดาจนเสียชีวิต สืบทราบในภายหลังว่าแมงดาที่นำมารับประทานคือแมงดาถ้วย วันนี้thebangkokinsight มีวิธีสังเกตแมงดาทะเลก่อนนำมารับประทานและแนะนำวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากถูกพิษของแมงดา
แมงดาจาน ทานได้
ข้อสังเกต แมงดาจานหางสั้นโคนหางถึงกลางหางลักษณะทรงสามเหลี่ยม
- ลำตัวใหญ่กว่าแมงดาถ้วย
- มีลักษณะตัวกลมและผิวเรียบ
- มีหางเหลี่ยม มีสันและหนามที่ชัดเจน
ไม่มีพิษแต่ทำความสะอาดก่อนนำมาปรุงอาหาร
แมงดาถ้วย ทานไม่ได้
ข้อสังเกต หางยาวโคนหางลักษณะคล้ายดินสอหัวแหลม
- -ลำตัวโค้งกลม หางกลม
- -ผิวด้านบนมีขนสั้น สีน้ำตาลอมแดง
- -พิษของแมงดาถ้วยทนต่อความร้อนจึงไม่สามารถนำมารับประทานได้
ทำไมจึงห้ามรับประทานแมงดาถ้วย
ในเนื้อและไข่ของแมงดาถ้วยมีสารเทโดท็อกซิน และ ซาชิท็อกซิน เป็นสารชนิดเดียวกับปลาปักเป้า มีผลต่อระบบการควบคุมการหายใจ และเสียชีวิต
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ต้องทำให้ผู้ป่วยหายใจให้สะดวกมากที่สุด
- หากผู้ป่วยหยุดหายใจให้ผายปอดก่อนถึงโรงพยาบาล
- ห้ามทานน้ำหรือทานยาเพราะอาจจะสำลักได้
ขอบคุณข้อมูลจาก: กระทรวงสาธารณสุข และกรมประมง
อ่านข่าวเพิ่มเติม