โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ตรวจการบ้าน! แก้ไขฝุ่น PM 2.5-ไฟป่า ไทยแลนด์สไตล์ ที่ผ่านมาทำอะไรมาบ้าง?

SpringNews

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว

ปลายปี2567 แบบนี้พื้นที่ภาคเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต้องเผชิญกับฝุ่น PM 2.5 อีกเช่นเคย เรื่องนี้เหมือนพายเรืออยู่ในอ่าง พยายามแก้ไขปัญหาแต่ก็ยังแก้ไม่ได้สักที พยายามแล้ว พยายามอีกยังไงก็ตาม ล่าสุดวันนี้ (15 พ.ย.67) ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 15 พ.ย.67 เวลา 07:00 น. ที่ผ่านมา

โดยค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 33.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)

5 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร

• อันดับหนึ่งยังเป็นเขตหนองแขม 49.3 มคก./ลบ.ม.

• เขตบางนาตามมาที่ 48.5 มคก./ลบ.ม.

• อันดับสามเป็นเขตตลิ่งชัน 48.1 มคก./ลบ.ม.

• กรุงเทพชั้นในอย่างเขตสาทรติดอันดับสี่ค่าฝุ่นละอองอยู่ที่ 46.1 มคก./ลบ.ม.

• และเขตทวีวัฒนา 45.3 มคก./ลบ.ม.

แม้จะฝุ่นละอองจะมีแนวโน้มลดลง แต่คุณภาพอากาศกรุงเทพเหนือ กรุงเทพตะวันออก กรุงเทพกลาง และกรุงเทพใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ส่วนกรุงธนเหนือ และ กรุงธนใต้ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

คุณภาพอากาศระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนทั่วไป ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมากควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

จะเห็นได้ว่าปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยังเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี แม้ว่าปี2567 จะมีแผนรับมือต่างๆมากมาย วันนี้ # #SPRiNG ขอพาไปย้อนดูว่าการแก้ไขปัญหา ฝุ่นPM 2.5-ไฟป่า ไทยแลนด์สไตล์ ทำอะไรไปบ้าง แล้วในอนาคตไทยจะทำยังไงต่อ มาเริ่มกันที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประกาศให้หน่วยงานของ กทม. Work From Home และขอความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน จำนวน 151 แห่ง หรือ 60,279 คน ดำเนินการมาตรการนี้ในวันที่ 15-16 ก.พ.67

ให้ใช้รถเท่าที่จำเป็น ไม่ขับ…ช่วยดับเครื่อง ประชาสัมพันธ์ประชาชนให้บำรุงรักษาเครื่องยนต์และลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ขณะที่ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.)ขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน

1. บำรุงดูแลรักษารถยนต์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช้รถยนต์ที่มีควันดำอย่างเด็ดขาด

2.ใช้รถเท่าที่จำเป็น ลดใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

3. รักษาสุขภาพอนามัย

4. ตรวจสอบคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้านจากเว็บไซต์และแอพพลิเคชัน Air4thai และศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

5. ปฏิบัติตามคำแนะนำ สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร

6. หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง

7. หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

และที่ผ่านมายังมีการขอความร่วมมือผู้ประกอบการ ทำ Big Cleaning บริเวณสถานที่ก่อสร้าง และแพลนท์ปูน รวมถึงงดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองจากการก่อสร้างทุกประเภท พร้อมเข้มงวดตรวจตราควบคุมไม่ให้มีการเผาขยะหรือการเผาในที่โล่งทุกประเภท พร้อมเพิ่มความถี่ในการล้าง และดูดฝุ่นถนน ฉีดล้างต้นไม้ ใบไม้ และทำความสะอาดป้ายรถเมล์อย่างต่อเนื่อง

พร้อมได้เชิญผู้ประกอบการคอนกรีตผสมเสร็จ หรือแพลนท์ปูน เข้ามาพูดคุยกันถึงมาตรการเข้มข้นในการป้องกันฝุ่น PM2.5 ซึ่งที่ผ่านมาได้เชิญกลุ่มแรกจำนวน 9 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทที่มีแพลนท์ปูนอยู่ในกรุงเทพฯ 113 แพลนท์ และมีรถปูนวิ่งเข้าออกมากกว่า 1,500 คัน คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนแพลนท์ปูนทั้งหมดในกรุงเทพฯ ที่มีจำนวน 131 แพลนท์

นอกจากนี้ที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำชับในที่ประชุมกับทุกจังหวัดและทุกหน่วยงานต้องทำงานเชิงรุก ควบคุมทุกแหล่งกำเนิด ทุกพื้นที่ ทั้งพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตรและพื้นที่อื่นๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน ให้มีความปลอดภัย พร้อมเร่งยกระดับการปฏิบัติการให้เข้มข้นขึ้น ทุกจังหวัดต้องออกประกาศควบคุมและห้ามเผา และบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด เมื่อเกิดการเผาในพื้นที่ต้องรีบเข้าดำเนินการ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือที่จะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และต้องสื่อสารประชาสัมพันธ์ แถลงข่าวให้พี่น้องประชาชนรับทราบสถานการณ์ มีความเข้าใจการปฏิบัติงานของภาครัฐ และปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามสถานการณ์ฝุ่นละออง

รวมถึงกาารเชื่อมโยงเกษตรกรที่ไม่เผาในพื้นที่เกษตรกับสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ มาตรการด้านการค้ากับสินค้าการเกษตรที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีการเผา การกำหนดเป็นเงื่อนไขใบอนุญาตให้โรงงานต้องไม่รับอ้อยไฟไหม้ การสนับสนุนรับซื้อใบอ้อยสดเข้าโรงไฟฟ้าชีวมวล รวมถึงที่ประชุมยังร่วมกันพิจารณาแผนฉุกเฉินสำหรับใช้ตอบโต้ในกรณีสถานการณ์ที่รุนแรงมากขึ้น

ส่วนการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ผ่านมารัฐบาลก็พยายามทำอยู่ แต่…ล่าสุดได้มียุทธศาสตร์ฟ้าใส ผนึกกำลังป้องกันแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนอย่างเป็นรูปธรรม โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ร่วมกับ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดตัวแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนภายใต้ยุทธศาสตร์ฟ้าใส (พ.ศ. 2567 - 2573) เพื่อย้ำถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลทั้ง 3 ประเทศ ในการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนอย่างเป็นรูปธรรมและบูรณาการร่วมกัน

ซึ่งดร.เฉลิมชัย ได้กล่าวว่า ประเทศไทย โดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า ฝุ่นละออง รวมถึงหมอกควันข้ามแดน มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคมมาอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง สำหรับปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นของประเทศไทย สปป.ลาว และเมียนมา ทั้ง 3 ประเทศได้มีการดำเนินงานร่วมกันต่อเนื่องมากว่า 10 ปี มีการริเริ่มยุทธศาสตร์ฟ้าใส

และร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน พ.ศ. 2567 - 2573 และเพื่อยกระดับความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคผ่านการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการร่วมฯ พร้อมทั้งเป็นการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจให้กับทุกภาคส่วนในวงกว้างถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศข้ามแดน เพื่อขับเคลื่อนให้ภูมิภาคของเราเป็นภูมิภาคปลอดหมอกควันอย่างแท้จริงเพื่อประชาชนของเราทุกคน

ขณะที่เรื่องค่าธรรมเนียมรถติด ล่าสุด กระทรวงคมนาคม ได้เดินเครื่องศึกษามาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด “Congestion Charge” เปิดโมเดล 4 ประเทศ “อังกฤษ - สิงคโปร์ - สวีเดน - อิตาลี” พบช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดอย่างเป็นรูปธรรม ด้าน สนข. เร่งศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ ชี้ช่วยดึงดูดประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เชื่อมระบบฟีดเดอร์ - ขนส่งหลัก หนุนนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย ลดค่าครองชีพ - ลดฝุ่น PM 2.5 ยืนยันยึดประโยชน์ประชาชน - ประเทศชาติเป็นสำคัญ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น