ทำความเข้าใจกันอีกครั้ง ทำไมฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน ในรอบน็อคเอาท์ รอบตัดเชือกและรอบชิงชนะเลิศ ถึงต้องเล่น 2 นัด ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน หรือ "เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2020" เดินทางมาถึงคู่สุดท้าย นัดก็คือนัดชิงชนะเลิศ โดยตะเป็นการโคจรมาเจอกันของคุ่ชิงเมื่อปี 2016 อีกครั้ง อย่าง ไทย กับ อินโดนิเซีย โดยจะรอบชิงชนะเลิศ จะแข่งขัน 2 นัด ในวันที่ 29 ธ.ค.64 และ 1 ม.ค.65 ตามลำดับ ซึ่งในการแข่งขันซูซูกิ คัพ 2020 ครั้งนี้ แม้จะจัดที่ที่สนามกลางมีเจ้าภาพชาติเดียวอย่างสิงคโปร์ แต่รูปแบบการแข่งขันในรอบน็อคเอาท์ ยังคงเป็น 2 นัดเหมือนเดิม แต่แค่ไม่มีการนับอเวย์โกล พอแฟนบอลเห็นโปรแกรม ทั้งรอบรองฯ และรอบชิงชนะเลิศ ก็เกิดคำถามขึ้นในโลกโซเชียลว่า "ทำไมต้องเตะ 2 นัด" ต้องอธิบายอย่างนี้ว่า เดิมทีฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน หลังจากเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันมาตั้งแต่ปี 2004 โดยรอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศ จะแข่งขันแบบ 2 นัด เหย้า-เยือน มาจนถึงปัจจุบัน จะต่างกับ 4 ครั้งแรก ในปี 1996, 1998, 2000 และ 2002 ที่จะมีเจ้าภาพ และแข่งขันจบในนัดเดียวเหมือนทัวร์นาเม้นท์อื่นๆ ทั่วไป แต่พอมาปี 2004 มีการปรับเปลี่ยน ก็เนื่องมาจากว่าการมีเจ้าภาพชาติเดียวนั้น หากทีมเจ้าภาพตกรอบไป ไม่ได้ลงเตะรอบรอง และนัดชิง เกมการแข่งขันก็แทบจะไม่มีคนดู เพราะสมัยนั้นการที่แฟนบอลอาเซียนจะเดินทางไปตามเชียร์ทีมของตัวเองนั้นค่อนข้างยากลำบากไม่เหมือนทุกวันนี้ ทำให้ทางเอเอฟเอฟ เล็งเห็นว่าในรอบน็อคเอาท์ควรจะไปเตะบ้านใครบ้านมันอย่างละนัด อย่างน้อยก็จะมีแฟนบอลของตัวเองเข้ามาเชียร์ในสนาม ส่วนในรอบแรกยังเตะแบบมีเจ้าภาพอยู่ จากนั้นก็มาเตะแบบเจ้าภาพอย่างละกลุ่ม จนมาถึงปี 2018 ได้มีการยกเลิกการมีเจ้าภาพ 2 ชาติ มาเป็นแต่ละทีมได้เตะในบ้านตัวเอง 2 นัดรอบแรก ซึ่งทั้งหมดก็มาจากเรื่องของแฟนบอล แต่แล้วในการแข่งขันปี 2021 ซึ่งเป็นซูซูกิ คัพ 2020 ต้องลงแข่งภายใต้สถานการณ์โควิด ทำให้ต้องเตะที่ประเทศเดียวอย่างสิงคโปร์ ที่ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ แต่การแข่งขันในรอบน็อคเอาท์ก็ยังต้องเตะแบบ 2 นัดอยู่ เนื่องจากมีการขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด รวมทั้งมูลค่าของสปอนเซอร์ในการแข่งขันต่างๆ ได้มีการกำหนดจำนวนนัดไว้เรียบร้อยแล้ว เลยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ในปีหน้าก็จะมีการแข่งขันต่อเนื่องในซูซูกิ คัพ 2022 ต้องมารอดูกันว่าจะแข่งขันแบบไหน ถ้าสถานการณ์โควิดดีขึ้นก็เป็นไปได้ที่จะกลับมาเตะแบบเดิม คือทุกทีมจะได้เล่นในบ้านตัวเองรอบแรก 2 นัด เยือน 2 นัด และรอบน็อคเอาท์ก็ 2 นัดเหย้า-เยือน เหมือนเดิม แต่หากต้องเตะในสถานการณ์โควิดเหมือนเดิม ก็อาจจะต้องเตะแบบบับเบิ้ล แต่อาจจะมีการปรับรูปแบบการแข่งขันในรอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศเหลือนัดเดียวก็เป็นได้ เหมือนกับฟุตบอลเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก ที่แต่ก่อนก็เตะรอบชิง 2 นัด แต่สองครั้งหลังสุดที่ต้องเตะแบบโควิดก็เหลือลงเตะนัดชิงแค่เกมเดียวเช่นกัน สำหรับทีมชาติไทย จะแข่งขันรอบชิงชนะเลิศของศึกชิงแชมป์อาเซียน 2020 กับ ทีมชาติอินโดนีเซีย โดยจะแข่งขันเลกแรกในวันที่ 29 ธันวาคม 2564 และเลกที่สองวันที่ 1 มกราคม 2565 ณ สิงคโปร์ เนชั่นแนล สเตเดียม เวลา 19.30 น. ทั้งสองแมตช์ ถ่ายทอดสดทางช่อง 7 HD และ AIS Play ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมของ ขอบสนาม
ความเห็น 4
Mr.NAME
มันไม่ใช่เหตุผล มันเป็นเรื่องผลประโยชน์ และการด้อยค่าเกมฟุตบอล ทีมงานผู้จัดไร้ปัญญาที่จะต่อรองมองแต่ผลประโยชน์ เกมทีมชาติน่ะครับ ไม่ใช่บอลรร. แข่งนัดเดียวจบแพ้ก็รอครั้งต่อไป นั้นคือเกม
28 ธ.ค. 2564 เวลา 02.07 น.
TEDDIE
ทำเป็นแบบเดิมดีกว่าเตะ2นัดมันไร้เสน่ห์สิ้นดีเลย😤😤😤😤😤
27 ธ.ค. 2564 เวลา 14.58 น.
Suwanno.4201
ฟุตบอลไร้มนต์เสน่หเพราะการแข่งนัดชิง2นัดเนี่ยแหละ
27 ธ.ค. 2564 เวลา 07.56 น.
Juffy108
อะไรง่ายๆ ก็จะทำให้มันยากเข้าไว้ …เฮ้ยโลก รู้ไว้ด้วยว่า การได้แชมป์บอลถ้วยนี้(อนุบาลหมีน้อย คัพ) มันช่างยากเย็นแสนเข็ญ Ho Ho Ho
27 ธ.ค. 2564 เวลา 07.02 น.
ดูทั้งหมด