โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

พลาสติกทำลายตัวเองได้ ทางเลือกใหม่แห่งอนาคต แก้ปัญหาขยะพลาสติกกองโต

Environman

เผยแพร่ 02 พ.ค. เวลา 13.00 น.

นักวิทยาศาสตร์พัฒนา "พลาสติกที่ทำลายตัวเองได้" หวังช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกกองโต

.

พลาสติกโพลียูรีเทน (Polyurethane) หรือ PU เป็นพลาสติกที่ใช้ในทุกสิ่งตั้งแต่เคสโทรศัพท์ไปจนถึงรองเท้า แต่ก็ยากต่อการรีไซเคิล และส่วนใหญ่ลงเอยด้วยการฝังกลบ

.

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยได้คิดวิธีแก้ปัญหาแบบวิทย์ ๆ และตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature Communications นั่นคือการผสมผสานสปอร์ของแบคทีเรียที่กินพลาสติกเข้าด้วยกัน และนำมาผลิตเป็นพลาสติกที่สามารถทําลายตัวเองได้ หรือย่อยสลายเองได้นั่นเอง

.

พอเราทิ้งพลาสติกแล้ว และนำมันไปทิ้งในถังหมัก สปอร์จะทำงานและเริ่มกินพลาสติก จนไม่เหลือเลย ซึ่งสปอร์พวกนี้ มีอีกข้อดี มันจะช่วยให้พลาสติกทนทานมากขึ้นด้วย

พลาสติกย่อยสลายได้ด้วยตัวเองนี้ กําลังอยู่ระหว่างการทดลองในห้องปฏิบัติการ แต่ทาฃผู้วิจัยคาดว่าอาจจะนำมาออกมาใช้ได้จริงภายในไม่กี่ปี ด้วยความช่วยเหลือจากผู้ผลิต

ที่สําคัญ แบคทีเรียต้องได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมก่อน เพื่อให้สามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงมากในระหว่างการผลิตพลาสติกได้

ประเภทของแบคทีเรียที่ใช้ในพลาสติกใหม่นี้คือ Bacillus subtilis เป็นแบคทีเรียที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะสารเติมแต่งอาหารและโพรไบโอติก

อย่างไรก็ตาม มีทางเลือกใหม่ ไม่ได้แปลว่ามีทางออกแล้ว เราในฐานะผู้บริโภคก็ควรร่วมกันลดใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้ง ภาคเอกชนและภาครัฐก็คส่งเสริมการจัดการขยะและการรีไซเคิลด้วย

ที่มา

https://www.bbc.com/news/science-environment-68927816

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0