โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

สนข. จ่อนำแผนศึกษา-ร่างกฎหมาย TOD เข้า ครม. ปลดล็อกพัฒนามิกซ์ยูสรอบรถไฟฟ้า

การเงินธนาคาร

อัพเดต 30 ส.ค. 2566 เวลา 09.21 น. • เผยแพร่ 30 ส.ค. 2566 เวลา 01.52 น.
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายเริงศักดิ์ ทองสม ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร รักษาการในตำแหน่ง นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยในงานสัมมนาทางวิชาการ Mixed Use Projects กับการขับเคลื่อน TOD** จัดโดย ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ว่า ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้ลงทุนด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานหลายแสนล้านบาท โดยเฉพาะการขนส่งทางราง ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง เชื่อมโยงเส้นทางในประเทศ และระหว่างประเทศ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานมากที่สุด จำเป็นต้องพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ควบคู่ไปด้วย โดยกำหนดรูปแบบการใช้ที่ดิน เพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งภาครัฐบาล ภาคเอกชน และภาคประชาชน ต้องช่วยกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าว

“ที่ผ่านมามีการคิดทำ TOD ตั้งแต่ 20 ปีก่อน บริเวณหลังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ยอมรับว่าการทำ TOD ทำยาก จนเมื่อปี 2560 มีข้อสั่งการจากนายกรัฐมนตรีให้กระทรวงคมนาคม พิจารณากำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ตามแนวเส้นโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เช่น รถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีด) เป็นต้น และกระทรวงฯ ได้มอบหมายให้ สนข. ศึกษาแนวทาง รวมถึงกฎหมายต่าง ๆ”

โดยรูปแบบ TOD ที่ สนข. วางไว้ เป็นการพัฒนามิกซ์ยูสแบบผสมผสาน ทั้งอาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย รีเทล รวมถึงการสร้างทางเดิน และระบบคมนาคมให้เชื่อมโยงกันภายในโครงการ เช่น ปัจจุบันสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินกับรถไฟฟ้าบนดิน ไม่เชื่อมถึงกันคนต้องเดินอ้อมไกลเพื่อต่ออีกขบวนหนึ่ง หรือกระทั่งการที่กำแพงโครงการคอนโดมิเนียมกั้นทางที่ไปถึงสะดวก ทำให้ต้องเดินอ้อม ตรงนี้ต้องทำให้ทุกอย่างเชื่อมถึงกันอย่างไร้รอยต่อ โดยอาศัยการใช้เครื่องมือทางกฎหมายเข้าช่วย

ซึ่งขณะนี้ สนข. อยู่ระหว่างการศึกษาแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง (พ.ศ. 2567 - 2582) และร่างกฎหมาย TOD และเตรียมยื่นเข้าเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็ว ๆ นี้ เพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของ TOD ต่อการพัฒนาเมือง

เบื้องต้น มองเห็นศักยภาพ 177 สถานี สามารถพัฒนาเป็น TOD ได้ แบ่งออกเป็น 7 แนวทาง 47 แผนงานต่อโครงการ ประมาณการงบประมาณ 17,436.1 ล้านบาท

โดย 3 ที่แรกที่พร้อมที่สุด คือ สถานีรถไฟความเร็วสูงขอนแก่น พัทยา และอยุธยา โดยเฉพาะพัทยาค่อนข้างแข็งแกร่ง เพราะมี EEC เข้ามาช่วย มีการปรับผังเมืองเป็นของตนเอง ซึ่งพัทยาคาดว่าจะใช้เวลาพัฒนา TOD ประมาณ 2 ปี

นายเริงศักดิ์ ยกตัวอย่างกรณีศึกษา TOD ในต่างประเทศ อาทิ ฮ่องกง ที่ TOD ส่งผลดีต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระยะยาว โดยกำไรที่ได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ มีสัดส่วนสูงกว่ากำไรที่ได้จากการพัฒนาการขนส่งทางราง ซึ่งกำไรจากการพัฒนาตามแนวคิด TOD รอบสถานี เพิ่มขึ้นจาก 600 ล้านเหรียญฮ่องกง เมื่อปี ค.ศ. 1980 เพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ล้านเหรียญฮ่องกง ในปี ค.ศ. 2005

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างไรก็ดี ปัจจัยสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา TOD ของไทย คือ เครื่องมือทางกฎหมาย ด้วยตัวกฎหมายมีหลายฉบับ เช่น กฎหมายจัดรูปที่ดิน กฎหมายเวนคืนที่ดิน กฎหมายผังเมืองรวม และกฎหมายผังเมืองเฉพาะ ยังขาดความมีเอกภาพ เพราะอยู่ต่างกระทรวงกัน จึงมีข้อจำกัด

ทั้งนี้ ประเทศไทยยังมีข้อจำกัดเรื่องการพัฒนา โดยเฉพาะเรื่องกฎหมาย หากต้องการให้สำเร็จลุล่วง กระทรวงคมนาคมต้องประสานหน่วยงานอื่น ๆ ในการดำเนินการ

  • กฎหมายการจัดทำผังเฉพาะยังไม่เคยดำเนินการจริงในประเทศ และมีขั้นตอนในการดำเนินงานไม่ต่ำกว่า 5 ปี
  • กฎหมายจัดรูปที่ดินยังมีข้อจำกัด ไม่สามารถตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่รอบสถานี หรือพื้นที่โครงการขนาดใหญ่
  • กฎหมายเวนคืนที่ดิน ไม่สามารถใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือเพื่อการพาณิชย์ได้

“จำเป็นต้องมีการนำเครื่องมือทางกฎหมายและมาตรการที่เหมาะสม มาใช้รวบรวมที่ดินเพื่อพัฒนา และจูงใจแก่ผู้ลงทุน หรือผู้มีกรรมสิทธิ์ที่ดินให้สามารถเข้าร่วมการจัดรูปที่ดิน เพื่อไม่ต้องใช้กฎหมายเวนคืนที่ดินที่มีข้อจำกัดในการพัฒนา และเกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ถูกเวนคืน และสามารถนำประโยชน์ที่ได้จากการพัฒนากลับมาอุดหนุนคมนาคมขนส่งได้”

โมเดลดังกล่าวเป็นรูปแบบ win-win ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย

ประเทศชาติ - ได้ลดต้นทุนโลจิสติกส์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

รัฐ - คุ้มค่ากับการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐาน กระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น และเก็บภาษีสำหรับพัฒนาเมืองได้มากขึ้น

เอกชน - ได้เพิ่มมูลค่าที่ดิน และโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการพัฒนาพื้นที่ รวมถึงระบบขนส่งมวลชน

ประชาชน - ชีวิตสะดวกมากขึ้น สามารถเข้าถึงอาคารและระบบขนส่งง่ายดาย มีพื้นที่พบปะมากขึ้น และลดการใช้รถยนต์ได้

ด้าน*นายกิตติพล ปราโมช ณ อยุธยา กรรมการบริหาร บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน)* กล่าวว่า การผลักดัน TOD ในประเทศไทยเป็นเรื่องยาก ขาดมิติการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน ทำให้การทำงานล่าช้า เช่น หลายโครงการของรัฐยังติดปัญหา อย่างกรณีมอเตอร์เวย์กาญจนบุรี แม้สร้างเสร็จเกือบหมด แต่ยังต้องเวนที่คืนเพิ่มเติม เป็นต้น

อีกประการสำคัญคือข้อกฎหมาย ต้องแก้ไขหลายฉบับ ตั้งแต่กฎหมายผังเมือง การเวนคืนที่ดิน เพื่อรองรับการพัฒนาในภาคอสังหาริมทรัพย์ และพัฒนาเมือง ขณะเดียวกัน ภายในประเทศก็ยังมีการขัดขาฟ้องร้องกันเอง เป็นปัญหาใหญ่ในการพัฒนาประเทศ

*นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย* กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า ประเทศไทยไม่ได้ทำ TOD ง่าย ๆ ประเทศที่ทำ TOD ได้สำเร็จส่วนมากเป็นเกาะ เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์

ปัจจัยสำคัญในการพัฒนา TOD ในไทย คือ การสื่อสารให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจ และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาด้วย รวมถึงหากมีการพัฒนาในแถบชานเมืองก็จะทำให้เกิดแหล่งจัดเลี้ยงสังสรรค์ใหม่เกิดขึ้น โดยผู้คนจะเดินทางออกนอกเมืองโดยใช้รถไฟฟ้าไปทำกิจกรรมได้ ไม่กระจุกอยู่เพียงในตัวเมือง

*นายธนินท์รัฐ ภักดีภิญโญ อดีตผู้บริหารระดับสูง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)* และผู้เชี่ยวชาญด้านรีเทล ระบุว่า อุตสาหกรรมค้าปลีกจะกลายเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนา TOD เพราะในอีก 5 ปีข้างหน้าพื้นที่ศูนย์การค้าในประเทศไทยจะเพิ่มจาก 8 ล้านตารางเมตร เป็น 16 ล้านตารางเมตร ผ่านการเปิดตัวรีเทลใหม่ ๆ เช่น Emsphere ของกลุ่มเดอะมอลล์ Central Park ศาลาแดง ของกลุ่มเซ็นทรัล เป็นต้น

ซึ่งทางมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เฉพาะของกลุ่มเซ็นทรัลเฉลี่ย 1 ล้านล้านบาทต่อปี เมื่อรวมของผู้ประกอบการค้าปลีกอื่น ๆ อีกแสนราย จะสร้างมูลค่าได้ถึง 10 ล้านล้านบาทต่อปี และเกิดการจ้างงานมากถึง 3-5 แสนคน

*นางสาวสิทธิเพ็ญ สิทธัตถพงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC* เปิดเผยว่า สำหรับข้อมูลมิกซ์ยูสพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ช่วงครึ่งแรกของปี 2566 มีทั้งสิ้น 126 โครงการ พื้นที่ก่อสร้างอาคารรวม (GFA) 15,312,966 ตร.ม. แบ่งออกเป็น

  • โครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงครึ่งแรก ปี 2566 มีจำนวน 110 โครงการ มีพื้นที่ก่อสร้าง (GFA) ทั้งสิ้น 11,462,394 ตร.ม.
  • โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและยังไม่ก่อสร้าง ที่จะสร้างแล้วเสร็จเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังปี 2566 จนถึงปี 2570 อีก 16 โครงการ พื้นที่ประมาณ 3,850,572 ตร.ม. เช่น ส่วนที่ 1 ของโครงการ One Bangkok, The Forestias และโครงการขนาดกลางอื่น ๆ

ประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่พบ มีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เรียงตามลำดับ ดังนี้

  • อาคารสำนักงาน โดยมีพื้นที่รวม 6,052,598 ตร.ม. คิดเป็นสัดส่วน 39.5% ของพื้นที่ก่อสร้างรวม
  • พื้นที่ค้าปลีก มีพื้นที่รวม 4,717,513 ตร.ม. คิดเป็นสัดส่วน 30.8%
  • อาคารชุดพักอาศัย มีพื้นที่รวม 3,428,750 ตร.ม. คิดเป็นสัดส่วน 22.4%
  • โรงแรม มีพื้นที่รวม 914,614 ตร.ม. คิดป็นสัดส่วน 6.0%
  • เซอร์วิสอพาร์ทเม้นต์ มีพื้นที่รวม 199,490 ตร.ม. คิดเป็นสัดส่วน 1.3%

เมื่อแยกสถานะของการก่อสร้าง โครงการ Mixed-use ที่สำรวจ พื้นที่อาคารรวม 15,312,966 ตร.ม. พบว่า เป็นโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 11,462,394 ตร.ม. คิดเป็นสัดส่วน 74.9% และโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและยังไม่ก่อสร้างรวมกัน 3,850,572 ตร.ม. คิดเป็นสัดส่วน 25.1%

โครงการ Mixed-use ที่สร้างเสร็จสะสมและเปิดให้เช่าหรือขายพื้นที่ในช่วงครึ่งแรกของปิ 2566 มีการใช้พื้นที่ประเภทอาคารสำนักงานมากที่สุด ร้อยละ 39.7 รองลงมา 31.4% เป็นพื้นที่ค้าปลีก 22.5% เป็นอาคารชุดพักอาศัย 5.9% เป็นโรงแรม และ 0.5% เป็นเซอร์วิสอพาร์ทเม้นต์

อ่านข่าวเพิ่มเติม :

- มิกซ์ยูส กทม. 1H/66 ทะลัก 126 โครงการ 15 ล้านตร.ม. ย่านปทุมวัน-สีลม-ห้วยขวางฮิตสุด