โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คนกรุงเทพยังต้องระวัง ‘PM2.5’ เกินมาตรฐานทุกพื้นที่ เช็ก 12 เขตค่าฝุ่นสูงสุดที่นี่!

The Bangkok Insight

อัพเดต 26 มี.ค. เวลา 01.41 น. • เผยแพร่ 26 มี.ค. เวลา 01.41 น. • The Bangkok Insight
คนกรุงเทพยังต้องระวัง ‘PM2.5’ เกินมาตรฐานทุกพื้นที่ เช็ก 12 เขตค่าฝุ่นสูงสุดที่นี่!

คนกรุงเทพยังต้องระวัง "PM2.5" เกินมาตรฐานทุกพื้นที่ เช็ก 12 เขตค่าฝุ่นสูงสุดที่นี่!

กรุงเทพมหานคร โดยศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 26 มีนาคม 2568 เวลา 07:00 น.

PM2.5
PM2.5

เกินมาตรฐานระดับสีส้มทุกพื้นที่

ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 44.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ เกินมาตรฐานทุกพื้นที่ ฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

PM2.5
PM2.5

12 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร

1 เขตบึงกุ่ม 64.2 มคก./ลบ.ม.

2 เขตวังทองหลาง 56.9 มคก./ลบ.ม.

3 เขตสาทร 56.9 มคก./ลบ.ม.

4 เขตบางนา 54.8 มคก./ลบ.ม.

5 เขตบางพลัด 51.9 มคก./ลบ.ม.

6 เขตลาดกระบัง 51.3 มคก./ลบ.ม.

7 เขตหนองจอก 50.7 มคก./ลบ.ม.

8 เขตบางขุนเทียน 50.5 มคก./ลบ.ม.

9 เขตพญาไท 49.2 มคก./ลบ.ม.

10 เขตคลองสามวา 49.1 มคก./ลบ.ม.

11 เขตบางกอกใหญ่ 48 มคก./ลบ.ม.

12 เขตทวีวัฒนา 48 มคก./ลบ.ม.

PM2.5
PM2.5

ค่าฝุ่นรายกลุ่มเขต

1.กรุงเทพเหนือ 42.2 - 47.9 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

2.กรุงเทพตะวันออก 37.7 - 64.2 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

3.กรุงเทพกลาง 39.7 - 56.9 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

4.กรุงเทพใต้ 39.2 - 56.9 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

5.กรุงธนเหนือ 43.9 - 51.9 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

6.กรุงธนใต้ 39.3 - 50.5 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

PM2.5
PM2.5

ข้อแนะนำสุขภาพ

คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

ช่องทางตรวจสอบคุณภาพอากาศ

ตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง

  • แอปพลิเคชัน AirBKK
  • www.airbkk.com
  • FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
  • FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
  • FB: กรุงเทพมหานคร
  • แอปพลิเคชัน AirBKK
  • LINE ALERT

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่