โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

รายจ่ายเดือน ก.ค.คนไทยยังสูง 1.8 หมื่นกว่าบาทต่อเดือน

PPTV HD 36

อัพเดต 09 ส.ค. 2565 เวลา 09.04 น. • เผยแพร่ 09 ส.ค. 2565 เวลา 07.46 น.
รายจ่ายเดือน ก.ค.คนไทยยังสูง 1.8 หมื่นกว่าบาทต่อเดือน
รายจ่ายเดือน ก.ค.ยังสูง 18,061 บาทต่อเดือน ของหลายอย่างยังแพงขึ้น สวนทางเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวเล็กน้อย

ค่าใช้จ่ายเดือน ก.ค.2565 ล่าสุด ของประชาชนเฉลี่ยอยู่ที่ 18,061 บาท โดยยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย หลักพันบาท ต่อเดือน เช่น

ค่าครองชีพ มิ.ย. 65 แตะ 18,088 บาท เกือบครึ่ง ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน

เงินเฟ้อเดือนก.ค. พุ่ง 7.61% จากราคา "พลังงาน-อาหาร" แพง

  • ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าโทรศัพท์มือถือ รวมแล้ว 4,350 บาท มีสัดส่วน 24.08% จากค่าใช้จ่ายทั้งหมด
  • ค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และเครื่องใช้ในบ้าน ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 3,961 บาท คิดเป็น 21.93% จากค่าใช้จ่ายทั้งหมด

รวมถึง

  • เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ อยู่ที่ 1,760 บาท (9.74% จากค่าใช้จ่ายทั้งหมด)
  • อาหารบริโภคในบ้าน เดลิเวอรี อยู่ที่ 1,607 บาท (8.90% จากค่าใช้จ่ายทั้งหมด)
  • อาหารบริโภคนอกบ้าน เช่น ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง เคเอฟซี พิซซ่า ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,236 บาท (6.84% จากค่าใช้จ่ายทั้งหมด)

อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อ ก.ค. 2565 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 0.16% โดยมีสาเหตุสำคัญจากการลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลง 1.10%

ขณะที่ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้น 1.25% จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ เช่น ผักสด เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย รวมทั้งอาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน จากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น

ครม. อนุมัติ 4,019 ล้านบาทเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 65

วาระ ครม. จับตาหารือขึ้นค่าไฟ - ผลปราบค้ามนุษย์ปี 64- งบกลางแก้น้ำท่วม น้ำแล้ง

ทำให้เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น 7.61%

ปัจจัยสำคัญเป็นการสูงขึ้นของสินค้ากลุ่มพลังงาน (น้ำมันเชื้อเพลิง ค่ากระแสไฟฟ้าและก๊าซหุงต้ม) และค่าโดยสารสาธารณะ นอกจากนี้ ราคาสินค้ากลุ่มอาหารยังคงสูงขึ้นโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ เครื่องประกอบอาหาร และอาหารสำเร็จรูป

ส่วนในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 8.02% โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ 13.68% โดยเฉพาะราคาไก่สดและปลาช่อน

กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม 4.34% จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่และไข่เป็ด

กลุ่มผักสด 8.80% จากการสูงขึ้นของราคาพริกสดและต้นหอม

กลุ่มผลไม้สด 0.71%จากการสูงขึ้นของราคาแตงโม ส้มเขียวหวาน และมะละกอสุก

กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร 11.58% จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืชและกะปิ

กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2.73% จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป และน้ำ ปั่นผลไม้/ผัก

กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน 8.71% จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง

กลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน 8.43% จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)

อย่างไรก็ตาม มีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ผักสด (ถั่วฝักยาว ขิง และมะนาว)และเครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น และเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ 2.99%

“สุชาติ” ยัน ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ไม่หวังผลการเมือง

นายกฯ ยัน ขึ้นค่าไฟฟ้า ต้องกระทบประชาชนให้น้อยสุด

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0