โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดตัว "ยาน้ำฟาวิพิราเวียร์" สำหรับเด็ก-ผู้สูงอายุ

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

อัพเดต 05 ส.ค. 2564 เวลา 07.04 น. • เผยแพร่ 05 ส.ค. 2564 เวลา 06.59 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดตัว "ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์" ต้านเชื้อไวรัสสำหรับ เด็ก-ผู้ป่วยที่มีความลำบากในการกลืนยาเม็ด เป็นตำรับแรกในประเทศไทย

วันที่ 5 ส.ค. 2564 นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และพลอากาศตรี นายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จากทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วย คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เมดิกา อินโนวา จำกัด ร่วมชี้แจง การพัฒนาและคิดค้นสูตรตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ สำหรับผลิตในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อต้านเชื้อไวรัสสำหรับเด็ก และผู้ป่วยที่มีความลำบากในการกลืนยาเม็ด ตำรับแรกในประเทศไทย โดยตัวยาจะเป็นน้ำเชื่อม

นพ.นิธิ กล่าวว่า จนถึงตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 หรือที่มีก็ยังไม่ได้การรับรอง สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงห่วงใยสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ที่ขณะนี้มีผู้ป่วยและติดเชื้อจำนวนมาก โดยเฉพาะเด็กที่ยังไม่มีวัคซีน

ทั้งนี้ จึงให้ทีมแพทย์ของราชวิทยาลัยหารือจนนำมาสู่การผลิตยาฟาวิฟิราเวียร์ชนิดน้ำในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ได้สำเร็จ ที่จะช่วยให้เด็กเล็กที่กลืนยาเม็ดลำบาก หรือในผู้สูงอายุบางรายได้รับยาได้สะดวก ซึ่งยาสูตรน้ำเชื่อมสูตรไร้น้ำตาล จะเป็นทางเลือกให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้เข้าถึงยาได้

ขณะที่ ทีมผลิตยา กล่าวว่า ยาสูตรน้ำเชื่อมนี้ เป็นยาน้ำที่ผลิตได้ไนโรงพยาบาล ตั้งสูตรตำรับตามหลักสากล จะช่วยให้เด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 ได้รับยาต้านไวรัสทัน ลดอาการป่วยหนักได้ โดยยาตัวนี้สามารถใช้ได้กับเด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป สัดส่วนการให้ยาเป็นไปตามแพทย์สั่ง ซึ่งยาจะมีอายุแค่ 30 วัน ไม่เหมาะกับที่ที่มีความร้อนจัด หรือต่ำกว่า 30 องศาเซียลเซียส

เมื่อถามว่า ในอนาคตจะเอายาสูตรน้ำนี้ไปแจกให้ประชาชน หรือเด็กที่ติดเชื้อตามชุมชนแออัดที่มีจุดตรวจโควิด-19 เหมือนที่แจกยาฟาวิฟิราเวียร์ชนิดเม็ดได้หรือไม่นั้น นพ.นิธิ เผยว่า จะให้เอาไปตอนนี้ก็ยังได้ แต่ยานี้จะต้องได้รับการวินิจฉัย ประเมินก่อนจ่ายยาโดยแพทย์ รวมถึงจะต้องรักษาในตู้เก็บความเย็นเท่านั้น กลัวว่าถ้าเอาไปแจกตามจุดตรวจต่างๆ อากาศร้อน ยาก็จะเสีย

ทั้งนี้ หากโรงพยาบาลไหนอยากจะได้สูตรยาไปผลิตเองนั้น ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีความยินดีที่จะให้สูตรยาไปผลิต เพราะวัตถุประสงค์ต้องการให้ผู้ป่วยทุกคนเข้าถึงยา แต่ต้องอยู่ใต้การกำกับของราชวิทยาลัยฯ

อย่างไรก็ตาม สำหรับช่องทางการลงทะเบียนขอรับ "ยาน้ำเชื่อมฟาวิฟิราเวียร์" สำหรับแพทย์ สามารถสแกนคิวอาร์โค้ด หรือลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ www.favipiravir.cra.ac.th

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น