โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เปิดวิธี 'ยื่นภาษี' ของฟรีแลนซ์ ต้องยื่นไหม ยื่นอย่างไร !?

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 04 ก.พ. 2563 เวลา 07.30 น.

ไม่เพียงแต่ผู้ที่มีรายได้ประจำเท่านั้น"ฟรีแลนซ์"หรือกลุ่มอาชีพอิสระก็ต้องยื่น"ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา"ด้วยเพราะแน่นอนว่าสำหรับ"ผู้ที่มีเงินได้"เป็นหน้าที่ที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้ว่าต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยตามกฎหมายผู้ที่มีเงินได้เกิน10,000บาทต่อเดือนหรือ60,000บาทต่อปีจำเป็นต้องยื่นภาษีทุกคน

สำหรับกลุ่ม"ฟรีแลนซ์"อาจมีข้อสงสัยที่อยากรู้หลายเรื่องเช่นฟรีแลนซ์ต้องยื่นภาษีหรือไม่เพราะไม่ได้มีรายได้ประจำจะคำนวณภาษีอย่างไรแล้วเวลาที่รับเงินจากผู้จ้างงานโดนจ่ายภาษีณที่จ่ายไปแล้วยังต้องเสียภาษีอยู่อีกหรือไม่สรุปว่าฟรีแลนซ์ต้องยื่นภาษี2รอบจริงไหมฯลฯ"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์"จะพาไปไขคำตอบกัน

สำหรับสายฟรีแลนซ์ยังคงใช้เกณฑ์จำนวน"เงินได้สุทธิ"ในการคำนวนภาษีเช่นเดียวกับสายมนุษย์เงินเดือนแต่สิ่งที่ต้องคิดถึงเป็นอันดับแรกๆคือต้องไม่ลืมว่าในปีที่ผ่านมาตัวเองได้เงินมาจากที่ใดบ้างและแต่ละที่ได้จำนวนเท่าไรเพราะเมื่อเป็นฟรีแลนซ์ก็ไม่มีบริษัทหรือนายจ้างที่จะมาบริหารจัดการเงินให้ดังนั้นต้องดูแลตัวเองตั้งสติคอยจดบันทึกไว้อย่างละเอียด อีกทั้งเหล่าสลิปของการรับเงินต้องเก็บให้หมด

  • รู้หรือไม่! เงินได้ "ฟรีแลนซ์" เข้าข่ายประเภทที่ 2

เงินได้มีหลายประเภทมาก ซึ่งแต่ละประเภทก็เหมาะกับผู้ที่มีรายได้ที่แตกต่างกันไป แต่สำหรับสายฟรีแลนซ์แล้ว ขอให้จำง่ายๆ ไว้ว่าเงินได้ของฟรีแลนซ์จะเข้าข่าย"เงินได้ประเภทที่2"ตามประมวลรัษฎากรหรือ"เงินได้มาตรา40 (2)"

หลายคนเกิดคำถามขึ้นมาอีกว่าจะรู้ "ประเภทเงินได้" ไปทำไมจริงๆเป็นเรื่องจำเป็นเพราะเงินได้แต่ละประเภทสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้แตกต่างกันขออธิบายประเภทเงินได้ง่ายๆ ดังนี้

มาตรา40 (1)เงินได้จากการจ้างแรงงานได้แก่เงินเดือนค่าจ้างเบี้ยเลี้ยงโบนัสเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญเงินค่าเช่าบ้านและเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆบรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานฯลฯ

มาตรา40 (2)เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมค่านายหน้าค่าส่วนลดเงินอุดหนุนในงานที่ทำเบี้ยประชุมบำเหน็จโบนัสเงินค่าเช่าบ้านหรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราวฯลฯ

มาตรา40 (3)ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่นเงินปีหรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรมนิติกรรมอย่างอื่นหรือคำพิพากษาของศาล

มาตรา40 (4)เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยพันธบัตรดอกเบี้ยเงินฝากดอกเบี้ยหุ้นกู้ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเงินปันผลเงินส่วนแบ่งของกำไรเงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้นผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกันหรือเลิกกันซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนฯลฯ*ไม่สามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายได้

มาตรา40 (5)เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นเช่นการให้เช่าทรัพย์สินการผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน

มาตรา40 (6)เงินได้จากวิชาชีพอิสระคือวิชากฎหมายการประกอบโรคศิลปะวิศวกรรมสถาปัตยกรรมการบัญชีประณีตศิลปกรรมหรือวิชาชีพอิสระอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

มาตรา40 (7)เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

และสุดท้าย คือ มาตรา40 (8)เงินได้จากการธุรกิจการพาณิชย์การเกษตรการอุตสาหกรรมการขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน(1)ถึง(7)แล้ว

  • "ใบ50ทวิ" ต้องเก็บ ไม่ได้ต้องทวง!

ที่สำคัญเมื่อได้เงินจากการทำงานแล้วอย่าลืมเก็บเอกสาร"ใบหักภาษีณที่จ่าย"หรือที่เรียกว่า"ใบ50ทวิ"ไว้ด้วยทุกครั้งเนื่องจากต้องนำเอาข้อมูลในเอกสารนี้ไปยื่นภาษีหากฟรีแลนซ์คนไหนที่ไม่ได้ใบหักภาษีณที่จ่ายก็ควรที่จะทวงถามจากผู้ว่าจ้างทุกครั้งโดยกรณีนี้จะต้องเป็นรายได้ที่เกิน1,000บาทขึ้นไป

ซึ่งโดยปกติแล้วหากรับงานฟรีแลนซ์ผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่จะหักภาษีณที่จ่ายทันทีโดยผู้ว่าจ้างจาก2รูปแบบคือ

1.หัก3%ของเงินที่จ่ายทุกครั้ง

2.คำนวณภาษีจากรายได้สะสมที่ได้รับจากผู้ว่าจ้างเช่นผู้ว่าจ้างหักภาษีณที่จ่าย3%ซึ่งตรงส่วน3%นี้เหมือนเป็นการจ่ายภาษีล่วงหน้าไปแล้วแต่ยังไม่สิ้นสุดกระบวนการเสียภาษีเนื่องจากต้องดูว่าเงินได้อยู่ในลำดับขั้นใดของเงินได้สุทธิหากคำนวณแล้วภาษีที่ต้องจ่ายมากกว่า3%ที่โดนหักณที่จ่ายไปฟรีแลนซ์จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มหรือหากน้อยกว่าก็สามารถขอคืนภาษีได้ด้วย

ตัวอย่างใบหักภาษีณที่จ่าย

โดยกรอบเวลาการยื่นและจ่ายภาษีมีทั้งช่วงต้นปีตั้งแต่มกราคม-มีนาคมของปีถัดไป

แต่!! หากฟรีแลนซ์มีรายได้จากเงินได้ประเภท40(5)-(8)ต้องนำรายได้ส่วนนั้นที่ได้รับในครึ่งปีแรกไปยื่นภาษีตามแบบภ.ง.ด.94ในช่วงกรกฎาคม-กันยายนของปีนั้นๆ

เมื่อกี้พูดถึงการคำนวณภาษีที่ต้องดูจาก"เงินได้สุทธิ"ไปขออธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าเงินได้สุทธิมาจากเงินได้พึงประเมินหรือเรียกง่ายๆก็คือรายได้ทั้งหมดที่เรารับตลอดปีหักลบด้วยค่าใช้จ่ายและหักลบด้วยค่าลดหย่อนเพิ่มเติมเช่นมาจากการซื้อกองทุนLTF RMFประกันสังคม ประกันชีวิต ประกันสุขภาพเป็นต้นหรือจะเข้าใจง่ายขึ้นด้วยสมการนี้

เงินได้สุทธิ=เงินได้พึงประเมิน-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน

ส่วนเรื่องของค่าใช้จ่ายนั้นสำหรับฟรีแลนซ์จะเป็นรูปแบบ"การหักแบบเหมา"ซึ่งรูปแบบนี้ไม่ต้องมีเอกสารหลักฐานค่าใช้จ่ายมายืนยัน

สำหรับรายได้ประเภท40 (2)สามารถหักเหมา50%แต่ไม่เกิน100,000บาทประเภท40 (6)หักเหมาได้30%และประเภท40 (8)สามารถหักเหมาได้30-60%แต่ไม่เกิน600,000บาทส่วนของการลดหย่อนนั้นจะมีรูปแบบที่หลากหลายหรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่รู้ก่อนยื่นภาษีปี62ลดหย่อนอะไรได้บ้าง

หลังจากเข้าใจที่มาในแต่ละส่วนแล้วไปต่อกันที่การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งกรมสรรพากรได้กำหนดเกณฑ์อัตราภาษีตามขั้นเงินได้สุทธิต่อปีหากเงินได้สุทธิ0-150,000บาทต่อปีกลุ่มนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีและจะเริ่มต้นจ่ายภาษีที่5%ในขั้นของเงินได้สุทธิ150,001-300,000บาทต่อปีและเกณฑ์อัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่35%ซึ่งกลุ่มนี้จะมีเงินได้สุทธิตั้งแต่5,000,001บาทขึ้นไปต่อปีหรือดูขั้นอัตราภาษีเงินได้ตามตารางด้านล่าง ดังนี้

เงินได้สุทธิ(บาทต่อปี) อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

0-150,000 ได้รับการยกเว้น

150,001-300,000 5%

300,001-500,000 10%

500,001-750,000 15%

750,001-1,000,000 20%

1,000,001-2,000,000 25%

2,000,001-5,000,000 30%

> 5,000,001 35%

ส่วนวิธีการคำนวณภาษีก็คือนำเงินได้สุทธิxอัตราภาษี(ตามตารางด้านบน)

  • "ยื่นภาษี" ต้องทำอย่างไรบ้าง?

ทั้งนี้สำหรับยื่นภาษีเงินได้สามารถทำได้3รูปแบบคือ

1.ยื่นแบบกระดาษด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาซึ่งจะต้องพริ้นแบบฟอร์มจากเว็บไซต์กรมสรรพากรwww.rd.go.thออกมาเพื่อกรอกข้อมูลต่างๆให้ถูกต้องและนำไปยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง และสามารถจ่ายภาษีได้ในที่เดียวกันด้วย

2.ยื่นที่ทำการไปรษณีย์ แต่รูปแบบนี้มีเงื่อนไขตรงที่ผู้มีเงินได้ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพเท่านั้น ซึ่งการส่งทางนี้จะต้องแนบเช็ค หรือธนาณัติ (ตามจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย) เพื่อส่งไปที่กองบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร อาคารสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400 ทั้งนี้กรมสรรพากรจะถือเอาวันนที่ลงทะเบียนไปรษณีย์เป็นวันรับแบบและชำระภาษี และจะส่งใบเสร็จรับเงินกลับให้ผู้ยื่นทางไปรษณีย์เช่นเดียวกันและ 3.ยื่นออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร

  • จ่าย "ภาษี" ได้ที่ไหนบ้าง?

สำหรับวิธีการจ่ายเงิน ใครสะดวกจ่ายเงินสดก็ได้ หรือจ่ายด้วยบัตรเครดิตก็มี ทั้งของธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ รวมถึงสามารถชำระด้วยเช็คและธนาณัติ

นอกจากนี้หากภาษีที่ต้องจ่ายตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีสามารถผ่อนชำระได้เป็น 3 งวด โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา โดยใช้แบบ บ.ช. 35งวดที่ 1ชำระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 30 กันยายน หรือวันที่ 31 มีนาคมงวดที่ 2 ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 1 และงวดที่ 3ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 2

แต่ถ้างวดใดงวดหนึ่งไม่ได้ชำระภายในกำหนด ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะชำระภาษีเป็นรายงวด และต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ

ตัวอย่างแบบฟอร์มภ.ง.ด.90

ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่ต้องจำให้ได้คือ ระยะเวลาในการยื่นและจ่ายภาษีของแต่ปี หากเลยกำหนด หรือไม่ครบถ้วน อาจต้องเสียเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด ซึ่งเมื่อเป็นแบบนั้นจริงๆ อาจต้องแบกภาระรายจ่ายหลังเดาะได้แน่ๆ

ที่มา:กรมสรรพากร, iTax, Freelance Bay, wealthmeup

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0